ชิมแปนซี : ญาติผู้ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด
โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันจันทร์, 08 สิงหาคม 2554
Hits
39977
ชิมแปนซี : ญาติผู้ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด
Plato ปราชญ์กรีกในสมัยพุทธกาลได้เคยให้คำจำกัดความของ "มนุษย์" ว่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีขน และเดินสองขา ดังนั้นเมื่อ Diogenes ผู้เป็นศิษย์เดินเข้ามาในห้องเรียนพร้อมกับไก่เป็นๆ ที่ถูกถอนขนหมด คำจำกัดความของมนุษย์ที่ Plato ให้ไว้จึงใช้ไม่ได้ในทันทีทันใด และนับตั้งแต่นั้นมา มนุษย์ก็ได้พยายามหาคำจำกัดความ และลักษณะพิเศษของมนุษย์เอง เช่น ว่าเป็นสัตว์ที่รู้จักใช้อุปกรณ์
แต่เมื่อนักชีววิทยาได้พบว่าลิงชิมแปนซี (Pan troglodytes) รู้จักใช้กิ่งไม้แหย่รังปลวกเพื่อขับไล่มันออกจากรังมาให้ลิงจับกิน คำจำกัดความนี้ก็ใช้ไม่ได้อีกหรือการที่คิดว่า ภาษาบอกความเป็นมนุษย์ได้ แต่เมื่อนักภาษาศาสตร์ได้พบว่า "เอป" (ape) ซึ่งเป็นลิงชนิดที่ไม่มีหาง ก็มีภาษาของมันเองใช้ ความสามารถต่างๆ ของสัตว์เหล่านี้ ได้ทำให้นักชีววิทยา นักปรัชญา และนักมานุษยวิทยาต้องปรับเปลี่ยนคำจำกัดความของการเป็นมนุษย์อยู่เสมอมา เพราะได้พบว่ามนุษย์กับสัตว์โดยเฉพาะลิงเอปแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย มาบัดนี้ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 1 กันยายน 2548 นี้ R. Waterston แห่งมหาวิทยาลัย Washington และคณะได้รายงานว่า ในสายตาของนักชีววิทยา มนุษย์กับลิงชิมแปนซีมีอะไรๆ ที่เหมือนกันถึง 96%
ชิมแปนซีเป็นเอปที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา มีขนาดเล็กกว่าลิงกอริลลา และอุรังอุตัง ถึงแม้จะมีแขนยาวกว่าคน แต่ขาของมันสั้นกว่า ถ้าจับมันยืนตรง ชิมแปนซีจะสูงประมาณ 1.5 เมตร และตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ฉลาดยิ่งกว่าสัตว์ชนิดอื่น จนนับได้ว่ามันมีสติปัญญาใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด เช่น ได้เคยมีการทดสอบพบว่า เวลาแขวนกล้วยในที่สูง ณ ที่ที่มันมิสามารถเอื้อมหยิบได้ หากในห้องนั้นมีกล่องเปล่าหลายกล่อง ชิมแปนซีจะจับวางกล่องซ้อนกันๆ จนถึงระดับสูงพอให้มันหยิบกล้วยกินได้
นักชีววิทยาได้สังเกตเห็นว่า ในขณะที่อายุยังน้อย ชิมแปนซีจะเรียนรู้อะไรๆ ได้เร็วกว่าทารกในวัยเดียวกัน แต่พออายุมากขึ้น ความสามารถด้านนี้จะช้าลงๆ จนเด็กมีความสามารถมากกว่าในที่สุด
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำ ดังนั้น มัน จึงเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำไม่เก่ง มันชอบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ที่มีสมาชิกตั้งแต่ 2-20 ตัว และมีตัวผู้ที่อาวุโสเป็นหัวหน้าฝูงควบคุมตัวเมียหลายตัว การ เป็นฝูงใหญ่แสดงให้เห็นว่า หัวหน้าฝูงแข็งแรง และดุมันจึงมีฮาเร็มได้ ส่วนตัวผู้ที่อ่อนแอเวลาต่อสู้กัน มันจะสู้ตัวผู้ที่แข็งแรงกว่าไม่ได้ มันจึงมักไม่มีครอบครัว และต้องครองโสดไปตลอดชีวิต
ตามปกติชิมแปนซีชอบย้ายที่อยู่ มันจะไม่อยู่ที่เดียวนานกว่า 2-3 วัน ในเวลากลางวันมันจะหาอาหาร แต่พอตกค่ำมันจะปีนขึ้นต้นไม้เพื่อพักผ่อน โดยการนอนราบลงตามกิ่งไม้เหมือนคน มันชอบทำรังตามบริเวณคบไม้ที่มีกิ่งก้าน และใบตก และตัวผู้หรือตัวพ่อจะทำรังอยู่ต่ำกว่ารังของตัวอื่นๆ เพื่อปกป้องลูกของมันให้ปลอดจากเสือที่จะมาคาบไปกิน มันจะสร้างในตอนเย็น ณ ที่สูงจากผืน 30 เมตร และนอนนาน 12 ชั่วโมง
ชิมแปนซีชอบใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ เพราะนั่นเป็นสถานที่ที่มันรู้สึกปลอดภัย แต่เมื่อใดก็ตามที่มีภัยมาคุกคาม มันจะรีบปีนป่ายขึ้นต้นไม้ทันที เพราะมันเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย สำหรับความว่องไวในการหลบหนีภัยนั้น ก็รวดเร็วมาก จนชาวบ้านมักไม่เห็นมัน แต่ก็ได้ยินเสียงทันทีที่มันรู้ว่ามันปลอดภัยในการหนีศัตรู มันใช้มือจับกิ่งไม้แล้วโหนตัวไป และใช้มืออีกข้างจับกิ่งไม้ถัดไป ช่วงแขนที่ยาว และกล้ามเนื้อไหล่ที่แข็งแรงทำให้การโหนตัวของมันคล่องแคล่วมาก เพราะคนเราใช้ขารับน้ำหนักตัว และใช้มือยึดจับของ นิ้วเท้าคนจึงสั้น ส่วนนิ้มมือจะยาว แต่ในกรณีของชิมแปนซีที่อาศัยบนต้นไม้ทำให้ต้องใช้มือ และแขนมาก ส่วนเท้านั้นก็จะใช้ยึดกิ่งไม้บ่อยยิ่งกว่าใช้ยืน ดังนั้น นิ้วเท้าของมันจึงยาว
ชิมแปนซีเป็นเอปที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา มีขนาดเล็กกว่าลิงกอริลลา และอุรังอุตัง ถึงแม้จะมีแขนยาวกว่าคน แต่ขาของมันสั้นกว่า ถ้าจับมันยืนตรง ชิมแปนซีจะสูงประมาณ 1.5 เมตร และตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ฉลาดยิ่งกว่าสัตว์ชนิดอื่น จนนับได้ว่ามันมีสติปัญญาใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด เช่น ได้เคยมีการทดสอบพบว่า เวลาแขวนกล้วยในที่สูง ณ ที่ที่มันมิสามารถเอื้อมหยิบได้ หากในห้องนั้นมีกล่องเปล่าหลายกล่อง ชิมแปนซีจะจับวางกล่องซ้อนกันๆ จนถึงระดับสูงพอให้มันหยิบกล้วยกินได้
นักชีววิทยาได้สังเกตเห็นว่า ในขณะที่อายุยังน้อย ชิมแปนซีจะเรียนรู้อะไรๆ ได้เร็วกว่าทารกในวัยเดียวกัน แต่พออายุมากขึ้น ความสามารถด้านนี้จะช้าลงๆ จนเด็กมีความสามารถมากกว่าในที่สุด
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำ ดังนั้น มัน จึงเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำไม่เก่ง มันชอบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ที่มีสมาชิกตั้งแต่ 2-20 ตัว และมีตัวผู้ที่อาวุโสเป็นหัวหน้าฝูงควบคุมตัวเมียหลายตัว การ เป็นฝูงใหญ่แสดงให้เห็นว่า หัวหน้าฝูงแข็งแรง และดุมันจึงมีฮาเร็มได้ ส่วนตัวผู้ที่อ่อนแอเวลาต่อสู้กัน มันจะสู้ตัวผู้ที่แข็งแรงกว่าไม่ได้ มันจึงมักไม่มีครอบครัว และต้องครองโสดไปตลอดชีวิต
ตามปกติชิมแปนซีชอบย้ายที่อยู่ มันจะไม่อยู่ที่เดียวนานกว่า 2-3 วัน ในเวลากลางวันมันจะหาอาหาร แต่พอตกค่ำมันจะปีนขึ้นต้นไม้เพื่อพักผ่อน โดยการนอนราบลงตามกิ่งไม้เหมือนคน มันชอบทำรังตามบริเวณคบไม้ที่มีกิ่งก้าน และใบตก และตัวผู้หรือตัวพ่อจะทำรังอยู่ต่ำกว่ารังของตัวอื่นๆ เพื่อปกป้องลูกของมันให้ปลอดจากเสือที่จะมาคาบไปกิน มันจะสร้างในตอนเย็น ณ ที่สูงจากผืน 30 เมตร และนอนนาน 12 ชั่วโมง
ชิมแปนซีชอบใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ เพราะนั่นเป็นสถานที่ที่มันรู้สึกปลอดภัย แต่เมื่อใดก็ตามที่มีภัยมาคุกคาม มันจะรีบปีนป่ายขึ้นต้นไม้ทันที เพราะมันเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย สำหรับความว่องไวในการหลบหนีภัยนั้น ก็รวดเร็วมาก จนชาวบ้านมักไม่เห็นมัน แต่ก็ได้ยินเสียงทันทีที่มันรู้ว่ามันปลอดภัยในการหนีศัตรู มันใช้มือจับกิ่งไม้แล้วโหนตัวไป และใช้มืออีกข้างจับกิ่งไม้ถัดไป ช่วงแขนที่ยาว และกล้ามเนื้อไหล่ที่แข็งแรงทำให้การโหนตัวของมันคล่องแคล่วมาก เพราะคนเราใช้ขารับน้ำหนักตัว และใช้มือยึดจับของ นิ้วเท้าคนจึงสั้น ส่วนนิ้มมือจะยาว แต่ในกรณีของชิมแปนซีที่อาศัยบนต้นไม้ทำให้ต้องใช้มือ และแขนมาก ส่วนเท้านั้นก็จะใช้ยึดกิ่งไม้บ่อยยิ่งกว่าใช้ยืน ดังนั้น นิ้วเท้าของมันจึงยาว
เวลาเดิน มันไม่ได้เดินตัวตรงเหมือนคน แต่จะใช้ 2 มือ และ 2 ขาเดิน โดยใช้ข้อมือแตะพื้นไป ถึงแม้จะเดินตรงไม่ได้ แต่มันก็สามารถยืนตรงได้ แต่ก็ได้ไม่นานชิมแปนซีมีขนสีดำ บางตัวขนเป็นสีเทา หรือน้ำตาล แต่พออายุมากขึ้น ขนจะเป็นสีเทา ขณะอายุน้อยขนบนหัวดก แต่พออายุมาก ศีรษะมักล้าน
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่รักสันติ มันจะไม่โจมตีสัตว์อื่น ศัตรูสำคัญคือคนและเสือ มัน ต่อสู้โดยใช้ปากกัด เวลาชาวบ้านจะล่ามัน เขาจะย่องตามไปดูมันอย่างเงียบๆ ว่ารังมันอยู่ที่ใด จากนั้นก็ส่งเสียงดังทำให้มันตกใจตะลีตะลานหนี โดยลิงตัวพ่อจะลงจากต้นไม้ก่อน ซึ่งเขาจะปล่อยไป แต่พอลิงตัวเมียและลูกๆ หนี ขณะเดินผ่านตาข่าย ชาวบ้านจะยกตาข่ายขึ้นทำให้มันติดกับ เพราะชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ฝึกง่าย ดังนั้นคนจึงชอบเอามันไปแสดงละครลิงหรือละครสัตว์
ชิมแปนซีตัวเมียคลอดลูกได้ตลอดปี มันมีลูกครั้งละตัว แต่บางครั้งก็ได้ลูกแฝด ลูกลิงช่วยตัวเองไม่ได้จึงต้องพึ่งพาแม่มันมาก และนานประมาณ 2 ปี จึงจะแยกตัวเป็นอิสระ แต่เมื่อมีภัยมา มันก็จะหวนกลับไปหาแม่อีก มันโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 12 ปี และมีอายุยืนตั้งแต่ 30-50 ปี (ขึ้นกับสายพันธุ์)
ในป่าที่มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ มันกินผลไม้สุก แต่ในยามที่ผลไม้ขาดแคลน มันกินใบไม้ ปลวกหรือเคี้ยวเปลือกไม้ ขณะอยู่ป่ามันมักไม่ดื่มน้ำ เวลาดื่มน้ำ มันใช้นิ้วจุ่มลงน้ำแล้วเลียน้ำจากนิ้ว
เวลาตัวเมียติดสัด มันจะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว เพราะมันไม่มีอารมณ์หึงหวงเช่นคน ชิมแปนซีจึงเป็นสัตว์สำส่อน ข้อสังเกตหนึ่งที่ได้จากการศึกษาชีวิตของสัตว์ชนิดนี้คือ ญาติที่ใกล้ชิดกันจะไม่ผสมพันธุ์กัน และพี่น้องลิงร่วมท้องเดียวกัน มักเป็นเพื่อนเล่นกัน หรือไม่ก็แต่งขนให้กันและกัน
สังคมลิงพันธุ์นี้ไม่มีการแบ่งวรรณะ แต่ตัวผู้มีตำแหน่งสูงสุดในฝูง มันใช้เสียง และท่าทางในการสื่อสารและส่งสัญญาณ และอาจใช้มือโอบกอดเวลาแสดงความเป็นมิตรกัน เวลาต้องการขู่มันจะส่งเสียงดัง และเปล่งเสียงต่ำ เวลาต้องการเตือนภัย เป็นต้น
ประวัติการศึกษา ญาติที่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุดมีว่า นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้พบว่า ในอดีตเมื่อ 7 ถึง 5 ล้านปีก่อนนี้ มนุษย์และชิมแปนซีมีบรรพบุรุษร่วมกัน การศึกษา DNA ของคน และชิมแปนซีแสดงให้เห็นว่า เมื่อ 5 ล้านปีก่อนนี้ ชิมแปนซีได้วิวัฒนาการแยกจากคนเป็น Pan Troglodytes
ในปีพ.ศ.2184 Nicolas Tulp นักกายวิภาคชาวเนเธอร์แลนด์ได้ให้ข้อกำหนดว่า เอปเป็นลิงที่ไม่มีหาง และอีก 58 ปีต่อมา Edward Tyson แพทย์ชาวอังกฤษได้ผ่าร่างของชิมแปนซี และพบว่ามันมีอวัยวะต่างๆ คล้ายคนมาก
ในปีพ.ศ.2318 Johanns Friedrich Blumenbach นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ได้ตั้งชื่อชนิดนี้ว่า troglodytes ซึ่งหมายความว่า พวกที่ชอบอาศัยอยู่ตามถ้ำ
พ.ศ.2359 Lorenz Oken นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันตั้งชื่อสกุล (genus) ของชิมแปนซีว่า Pan ตามชื่อของเทพเจ้ากรีก ผู้มีขนตามตัวรุงรัง
พ.ศ.2414 Charles Darwin แถลงว่า ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด
พ.ศ.2504 ชิมแปนซีชื่อ Ham ถูกส่งขึ้นโคจรในอวกาศเป็นครั้งแรก ในสภาพไร้น้ำหนักนานกว่า 6 นาที
พ.ศ.2508 Jame Goodall นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ตีพิมพ์งาน วิจัยในวารสาร Nature ว่า ชิมแปนซีสามารถสร้างอุปกรณ์ได้ เช่น ใช้กิ่งไม้เป็นอุปกรณ์หาอาหาร โดยใช้ไม้แหย่รูปลวก มดและไล่ให้มันออกจากรูมาให้ลิงจับกิน
พ.ศ.2513 Gordon Gallup ได้ทดลองพบว่า ชิมแปนซีสามารถจำตัวเองได้ในกระจกเงา
พ.ศ.2521 Sue Savage-Rumbauch ได้รายงานในวารสาร Science ว่า ชิมแปนซีมีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ขออาหารกินได้
พ.ศ.2521 William Mc Grew และ Caroline Tutin ได้พบว่า ชิมแปนซีมีประเพณีในการดำรงชีวิต
พ.ศ.2527 Charles Sibley และ Jon Ahlquist พบว่า รหัสพันธุกรรม (genome) ของคนและชิมแปนซีคล้ายกันถึง 98%
พ.ศ.2540 Edwin Mc Conkey และ Morris Goodman ได้เสมอให้นักชีววิทยาโมเลกุลเปรียบเทียบ genome ของคน และชิมแปนซี
พ.ศ.2545 Svante Paabo ได้รายงานในวารสาร Nature ว่า ยีน FOXP2 (ที่มีบทบาทในการพูด) ของคนแตกต่างจากชิมแปนซี
พ.ศ.2545 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมของชิมแปนซีได้รับการจัดอันดับให้มีความสำคัญระดับต้นๆ
พ.ศ.2547 คณะนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นได้ศึกษา Chromosome ทั้ง 24 คู่ของชิมแปนซี เพื่อเปรียบเทียบกับ Chromosome 23 คู่ของคน
1 กันยายน พ.ศ.2548 รหัสพันธุกรรมฉบับค่อนข้างสมบูรณ์ของชิมแปนซี (98%) ปรากฏในวารสาร Nature ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 29% ของยีน คนและชิมแปนซีเหมือนกัน และการแปลรหัสที่ได้นี้ในอนาคตจะทำให้เราเข้าใจว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คน (Homo sapiens) แตกต่างจากชิมแปนซี (Pan troglodytes) ไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถในการได้ยิน การสืบพันธุ์ การติดโรคหรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ข้อมูลที่ปรากฏยังแสดงให้เห็นอีกว่า ในแง่ ชีววิทยาโลเมกุลคนแตกต่างจากชิมแปนซีน้อยกว่าที่คนแตกต่างจากหนู (mice) 60 เท่า และคนแตกต่างจากชิมแปนซีมากประมาณ 10 เท่าของความแตกต่างด้านรหัสพันธุกรรมระหว่างคน 2 คน
ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่รักสันติ มันจะไม่โจมตีสัตว์อื่น ศัตรูสำคัญคือคนและเสือ มัน ต่อสู้โดยใช้ปากกัด เวลาชาวบ้านจะล่ามัน เขาจะย่องตามไปดูมันอย่างเงียบๆ ว่ารังมันอยู่ที่ใด จากนั้นก็ส่งเสียงดังทำให้มันตกใจตะลีตะลานหนี โดยลิงตัวพ่อจะลงจากต้นไม้ก่อน ซึ่งเขาจะปล่อยไป แต่พอลิงตัวเมียและลูกๆ หนี ขณะเดินผ่านตาข่าย ชาวบ้านจะยกตาข่ายขึ้นทำให้มันติดกับ เพราะชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ฝึกง่าย ดังนั้นคนจึงชอบเอามันไปแสดงละครลิงหรือละครสัตว์
ชิมแปนซีตัวเมียคลอดลูกได้ตลอดปี มันมีลูกครั้งละตัว แต่บางครั้งก็ได้ลูกแฝด ลูกลิงช่วยตัวเองไม่ได้จึงต้องพึ่งพาแม่มันมาก และนานประมาณ 2 ปี จึงจะแยกตัวเป็นอิสระ แต่เมื่อมีภัยมา มันก็จะหวนกลับไปหาแม่อีก มันโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 12 ปี และมีอายุยืนตั้งแต่ 30-50 ปี (ขึ้นกับสายพันธุ์)
ในป่าที่มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ มันกินผลไม้สุก แต่ในยามที่ผลไม้ขาดแคลน มันกินใบไม้ ปลวกหรือเคี้ยวเปลือกไม้ ขณะอยู่ป่ามันมักไม่ดื่มน้ำ เวลาดื่มน้ำ มันใช้นิ้วจุ่มลงน้ำแล้วเลียน้ำจากนิ้ว
เวลาตัวเมียติดสัด มันจะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว เพราะมันไม่มีอารมณ์หึงหวงเช่นคน ชิมแปนซีจึงเป็นสัตว์สำส่อน ข้อสังเกตหนึ่งที่ได้จากการศึกษาชีวิตของสัตว์ชนิดนี้คือ ญาติที่ใกล้ชิดกันจะไม่ผสมพันธุ์กัน และพี่น้องลิงร่วมท้องเดียวกัน มักเป็นเพื่อนเล่นกัน หรือไม่ก็แต่งขนให้กันและกัน
สังคมลิงพันธุ์นี้ไม่มีการแบ่งวรรณะ แต่ตัวผู้มีตำแหน่งสูงสุดในฝูง มันใช้เสียง และท่าทางในการสื่อสารและส่งสัญญาณ และอาจใช้มือโอบกอดเวลาแสดงความเป็นมิตรกัน เวลาต้องการขู่มันจะส่งเสียงดัง และเปล่งเสียงต่ำ เวลาต้องการเตือนภัย เป็นต้น
ประวัติการศึกษา ญาติที่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุดมีว่า นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้พบว่า ในอดีตเมื่อ 7 ถึง 5 ล้านปีก่อนนี้ มนุษย์และชิมแปนซีมีบรรพบุรุษร่วมกัน การศึกษา DNA ของคน และชิมแปนซีแสดงให้เห็นว่า เมื่อ 5 ล้านปีก่อนนี้ ชิมแปนซีได้วิวัฒนาการแยกจากคนเป็น Pan Troglodytes
ในปีพ.ศ.2184 Nicolas Tulp นักกายวิภาคชาวเนเธอร์แลนด์ได้ให้ข้อกำหนดว่า เอปเป็นลิงที่ไม่มีหาง และอีก 58 ปีต่อมา Edward Tyson แพทย์ชาวอังกฤษได้ผ่าร่างของชิมแปนซี และพบว่ามันมีอวัยวะต่างๆ คล้ายคนมาก
ในปีพ.ศ.2318 Johanns Friedrich Blumenbach นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ได้ตั้งชื่อชนิดนี้ว่า troglodytes ซึ่งหมายความว่า พวกที่ชอบอาศัยอยู่ตามถ้ำ
พ.ศ.2359 Lorenz Oken นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันตั้งชื่อสกุล (genus) ของชิมแปนซีว่า Pan ตามชื่อของเทพเจ้ากรีก ผู้มีขนตามตัวรุงรัง
พ.ศ.2414 Charles Darwin แถลงว่า ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่ใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด
พ.ศ.2504 ชิมแปนซีชื่อ Ham ถูกส่งขึ้นโคจรในอวกาศเป็นครั้งแรก ในสภาพไร้น้ำหนักนานกว่า 6 นาที
พ.ศ.2508 Jame Goodall นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ตีพิมพ์งาน วิจัยในวารสาร Nature ว่า ชิมแปนซีสามารถสร้างอุปกรณ์ได้ เช่น ใช้กิ่งไม้เป็นอุปกรณ์หาอาหาร โดยใช้ไม้แหย่รูปลวก มดและไล่ให้มันออกจากรูมาให้ลิงจับกิน
พ.ศ.2513 Gordon Gallup ได้ทดลองพบว่า ชิมแปนซีสามารถจำตัวเองได้ในกระจกเงา
พ.ศ.2521 Sue Savage-Rumbauch ได้รายงานในวารสาร Science ว่า ชิมแปนซีมีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ขออาหารกินได้
พ.ศ.2521 William Mc Grew และ Caroline Tutin ได้พบว่า ชิมแปนซีมีประเพณีในการดำรงชีวิต
พ.ศ.2527 Charles Sibley และ Jon Ahlquist พบว่า รหัสพันธุกรรม (genome) ของคนและชิมแปนซีคล้ายกันถึง 98%
พ.ศ.2540 Edwin Mc Conkey และ Morris Goodman ได้เสมอให้นักชีววิทยาโมเลกุลเปรียบเทียบ genome ของคน และชิมแปนซี
พ.ศ.2545 Svante Paabo ได้รายงานในวารสาร Nature ว่า ยีน FOXP2 (ที่มีบทบาทในการพูด) ของคนแตกต่างจากชิมแปนซี
พ.ศ.2545 โครงการถอดรหัสพันธุกรรมของชิมแปนซีได้รับการจัดอันดับให้มีความสำคัญระดับต้นๆ
พ.ศ.2547 คณะนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นได้ศึกษา Chromosome ทั้ง 24 คู่ของชิมแปนซี เพื่อเปรียบเทียบกับ Chromosome 23 คู่ของคน
1 กันยายน พ.ศ.2548 รหัสพันธุกรรมฉบับค่อนข้างสมบูรณ์ของชิมแปนซี (98%) ปรากฏในวารสาร Nature ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 29% ของยีน คนและชิมแปนซีเหมือนกัน และการแปลรหัสที่ได้นี้ในอนาคตจะทำให้เราเข้าใจว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คน (Homo sapiens) แตกต่างจากชิมแปนซี (Pan troglodytes) ไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถในการได้ยิน การสืบพันธุ์ การติดโรคหรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ข้อมูลที่ปรากฏยังแสดงให้เห็นอีกว่า ในแง่ ชีววิทยาโลเมกุลคนแตกต่างจากชิมแปนซีน้อยกว่าที่คนแตกต่างจากหนู (mice) 60 เท่า และคนแตกต่างจากชิมแปนซีมากประมาณ 10 เท่าของความแตกต่างด้านรหัสพันธุกรรมระหว่างคน 2 คน
สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท
คำสำคัญ
ชิมแปนซี,มนุษย์
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1, ป.2, ป.3, ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2132 ชิมแปนซี : ญาติผู้ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด /article-science/item/2132-chimpanzeeเพิ่มในรายการโปรด