จิบชาดีๆ สักถ้วยอาจช่วยยับยั้ง อัลไซเมอร์
โดย :
myfirstbrain
เมื่อ :
วันอังคาร, 09 สิงหาคม 2554
Hits
18721
จิบชาดีๆ สักถ้วยอาจช่วยยับยั้ง "อัลไซเมอร์"
นัก วิจัยแนะนำการดื่มชาช่วยลดความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะชาเขียวมีสารยับยั้งเอ็นไซม์อันเป็นศัตรูสำคัญของสมองในการก่อโรค ความจำเสื่อม ที่ยังไม่มีผู้ใดหาทางรักษาได้
คณะวิจัยจาก มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) เปิดเผยข้อค้นพบผ่านวารสาร "ไฟโตเธอราปี รีเสิร์ช" (Phytotherapy Research) ซึ่งตีพิมพ์ผลงานการวิจัยทางด้านการบำบัดด้วยพืชว่า ชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์หลักในสมองที่มีความสัมพันธ์ กับระบบความจำ โดยนักวิจัยหวังว่าสิ่งที่พวกเขาค้นพบจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางใหม่ในการ รักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)
คณะนักวิจัยเปิดเผยว่า ในชาได้ปรากฏคุณลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับยาที่ผลิตขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับสภาวะ อาการอัลไซเมอร์ ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากระดับสารเคมีในสมองที่เรียกว่า "อะซีทิลโคลีน" (acetylcholine) มีปริมาณลดลง
ในห้องทดลองของ ม.นิวคลาสเซิล คณะวิจัยได้พบว่าทั้งชาเขียวและชาดำสามารถยับยั้งเอ็นไซม์ "อะซีทิลโคลีเนสเตอเรส" (acetylcholinesterase : AchE) ซึ่งเป็นตัวสลายสารอะซีทิลโคลีนในสมอง พวกเขายังค้นพบอีกว่า ชาทั้ง 2 ประเภทยังยับยั้งเอ็นไซม์อีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "บูทีรีลโคลีเนสเตอเรส" (butyrylcholinesterase : BuChE) ซึ่งค้นพบในโปรตีนที่สะสมอยู่ในสมองของผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์
นอกจากนี้ ยังค้นพบอีกว่าเฉพาะชาเขียวมีผลในการขัดขวางฤทธิ์ของ เบตา-ซีเครเทส (beta-secretase) ซึ่งมีบทบาทในการผลิตโปรตีนสะสมในสมองของคนไข้อัลไซเมอร์ โดยเบตา-ซีเครเทสจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน โดยการยับยั้งการสร้างโปรตีนจากเซลล์สมอง จากนั้นเซลล์สมองก็จะค่อยๆ ตายไปพร้อมๆ กับความทรงจำและความสามารถทางสติปัญญา
ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่า ชาเขียวมีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาดังกล่าวได้นานถึง 1 สัปดาห์ ขณะที่ชาดำยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทำร้ายสมองได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น
คณะวิจัยจาก มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) เปิดเผยข้อค้นพบผ่านวารสาร "ไฟโตเธอราปี รีเสิร์ช" (Phytotherapy Research) ซึ่งตีพิมพ์ผลงานการวิจัยทางด้านการบำบัดด้วยพืชว่า ชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์หลักในสมองที่มีความสัมพันธ์ กับระบบความจำ โดยนักวิจัยหวังว่าสิ่งที่พวกเขาค้นพบจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางใหม่ในการ รักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)
คณะนักวิจัยเปิดเผยว่า ในชาได้ปรากฏคุณลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับยาที่ผลิตขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับสภาวะ อาการอัลไซเมอร์ ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากระดับสารเคมีในสมองที่เรียกว่า "อะซีทิลโคลีน" (acetylcholine) มีปริมาณลดลง
ในห้องทดลองของ ม.นิวคลาสเซิล คณะวิจัยได้พบว่าทั้งชาเขียวและชาดำสามารถยับยั้งเอ็นไซม์ "อะซีทิลโคลีเนสเตอเรส" (acetylcholinesterase : AchE) ซึ่งเป็นตัวสลายสารอะซีทิลโคลีนในสมอง พวกเขายังค้นพบอีกว่า ชาทั้ง 2 ประเภทยังยับยั้งเอ็นไซม์อีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "บูทีรีลโคลีเนสเตอเรส" (butyrylcholinesterase : BuChE) ซึ่งค้นพบในโปรตีนที่สะสมอยู่ในสมองของผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์
นอกจากนี้ ยังค้นพบอีกว่าเฉพาะชาเขียวมีผลในการขัดขวางฤทธิ์ของ เบตา-ซีเครเทส (beta-secretase) ซึ่งมีบทบาทในการผลิตโปรตีนสะสมในสมองของคนไข้อัลไซเมอร์ โดยเบตา-ซีเครเทสจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน โดยการยับยั้งการสร้างโปรตีนจากเซลล์สมอง จากนั้นเซลล์สมองก็จะค่อยๆ ตายไปพร้อมๆ กับความทรงจำและความสามารถทางสติปัญญา
ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่า ชาเขียวมีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาดังกล่าวได้นานถึง 1 สัปดาห์ ขณะที่ชาดำยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทำร้ายสมองได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น
แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่มนุษย์ก็ค่อยๆ หาหนทางรักษาอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปกับโรคร้ายชนิดนี้ ซึ่ง "ยา" เป็นคำตอบล่าสุด ในการยับยั้ง "อะซีทิลโคลีเนสเตอเรส" (AchE) และนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ กำลังพยายามหาทางยับยั้ง "บูทีรีลโคลีเนสเตอเรส" (BuChE) และเบตา-ซีเครเทส อย่างไรก็ดี ยาทั้งหลายที่จำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด ยังให้ผลข้างเคียงแก่คนไข้อย่างไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ยังต้องการหายาอื่นๆ ที่ดีกว่านี้มารักษาอย่างเร่งด่วน
ขณะนี้ นักวิจัยจาก ม.นิวคลาสเซิลก็ได้ทดสอบคุณสมบัติของชาเขียวว่ายับยั้งเอ็นไซม์ดังกล่าวได้ แล้ว และพวกเขาก็ได้แต่หวังว่าจะเป็นผลในการทดลองระดับคลินิก ซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขาก็คือต้องการพัฒนาชาให้เป็นยารักษาโรคเฉพาะทางอย่าง "อัลไซเมอร์" โดยขั้นตอนต่อไปของการวิจัยก็คือ การสกัดออกมาว่าสารตัวใดในชาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ทั้ง 3 ตัว
ทางด้าน ดร.เอ็ด โอเคลโล หัวหน้าคณะวิจัย เปิดเผยว่า แม้ว่ายังไม่มีทางรักษาอัลไซเมอร์ได้อย่างชัดเจน แต่ชาก็จะกลายเป็นอาวุธสำคัญอีกชนิดหนึ่งในการบำบัดและชะลอการพัฒนาของโรค นี้ อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่จะสามารถสกัดสารจากชาซึ่งสามารถใช้ผลิตเป็นยา วางจำหน่ายในตลาดได้
"คงเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก ถ้างานของพวกเราช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกนับล้านๆ การค้นพบของพวกเราช่างน่าตื่นเต้น เพราะชาเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม แถมยังมีราคาไม่แพง และยังไม่มีผลข้างเคียงในทางลบแก่ผู้บริโภค"
ขณะนี้ นักวิจัยจาก ม.นิวคลาสเซิลก็ได้ทดสอบคุณสมบัติของชาเขียวว่ายับยั้งเอ็นไซม์ดังกล่าวได้ แล้ว และพวกเขาก็ได้แต่หวังว่าจะเป็นผลในการทดลองระดับคลินิก ซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขาก็คือต้องการพัฒนาชาให้เป็นยารักษาโรคเฉพาะทางอย่าง "อัลไซเมอร์" โดยขั้นตอนต่อไปของการวิจัยก็คือ การสกัดออกมาว่าสารตัวใดในชาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ทั้ง 3 ตัว
ทางด้าน ดร.เอ็ด โอเคลโล หัวหน้าคณะวิจัย เปิดเผยว่า แม้ว่ายังไม่มีทางรักษาอัลไซเมอร์ได้อย่างชัดเจน แต่ชาก็จะกลายเป็นอาวุธสำคัญอีกชนิดหนึ่งในการบำบัดและชะลอการพัฒนาของโรค นี้ อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่จะสามารถสกัดสารจากชาซึ่งสามารถใช้ผลิตเป็นยา วางจำหน่ายในตลาดได้
"คงเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก ถ้างานของพวกเราช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกนับล้านๆ การค้นพบของพวกเราช่างน่าตื่นเต้น เพราะชาเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม แถมยังมีราคาไม่แพง และยังไม่มีผลข้างเคียงในทางลบแก่ผู้บริโภค"
ที่มาข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน
คำสำคัญ
ชา,อัลไซเมอร์
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
myfirstbrain
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2136 จิบชาดีๆ สักถ้วยอาจช่วยยับยั้ง อัลไซเมอร์ /article-science/item/2136-al-merrillเพิ่มในรายการโปรด