ยาพิษรักษาโรค ???
ยาพิษรักษาโรค ???
สารหนู : ฆ่าลูคีเมีย
หลายร้อยปีที่ผ่านมาเรารู้จัก สารหนู หรือ อาร์เซนิก (Arsenic) ในฐานะสารพิษที่คนนำมาใช้ฆ่า หรือเบื่อหนู หรือใช้ก่อคดีอาชญากรรม แต่ตอนนี้นักวิจัยได้พบว่า อาร์เซนิกไตรออกไซด์ (arsenic trioxide) ซึ่งเป็นรูปปกติรูปหนึ่งของสารหนู ได้สร้างความประหลาดใจขึ้นตรงที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือด ชนิดเฉียบพลันชนิดหนึ่ง (acute promyelocytic leukemia) ได้ ซึ่งนับเป็นการสร้างความหวังแก่ผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ และเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการศึกษาในผู้ป่วย 52 รายที่ได้รับการฉีดอาร์เซนิกไตรออกไซด์ ติดต่อกันอยู่ระยะหนึ่งโดยขนาดที่ให้มีปริมาณเพียง 1 ใน 3 ของขนาดที่สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เท่านั้น พบว่า 87% ของผู้ป่วยมีอาการทุเลาลงและเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยก็ยังคงมีชีวิตอยู่ใน อีก 2 ปีต่อมา ซึ่งในการรักษาโดยใช้อาร์เซนิกนี้จะทำอันตรายแก่เซลล์ในร่างกายได้น้อยกว่า วิธีการทางเคมีบำบัดที่ใช้กันอยู่ โดยอาร์เซนิกจะทำลายเฉพาะเซลล์ที่ควรทำลายเท่านั้น
เป้าหมายการจู่โจมของอาร์เซนิกไตรออกไซด์ ก็คือเหล่าโปรตีนทั้งหลายที่ไปทำให้การพัฒนาการตามปกติของเม็ดเลือดขาวเสีย ไป ซึ่งเป็นชนวนทำให้เกิดโรคลูคีเมีย โดย นายดีเรก รอสส์ เป็นผู้ป่วยมะเร็งอายุ 26 ปี ชาวเมืองออเรนจ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับการรักษาโดยใช้อาร์เซนิกไตรออกไซด์ ซึ่งอาการป่วยของเขาได้ทุเลามาตั้งแต่กันยายน พ.ศ.2543 และนายดีเรกได้ตบท้ายเอาไว้อย่างน่าคิดว่า “คุณต้องอึ้งกันเป็นแถวๆ แน่ในสิ่งที่ผมได้ทำลงไป แต่มันก็เป็นสิ่งที่นำชีวิตของผมกลับคืนมา”
โบท็อกซ์ : แก้ไขอาการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
พิษจากแบคทีเรีย Clostridium botulinum ทำให้ถึงแก่ความตายได้ แค่ใช้ในปริมาณเพียง 2-3 ใน 100 ส่วนของ 1 ออนซ์ (1 ออนซ์เท่ากับ 28.35 กรัม) นั่นคือแค่ปริมาณไม่ถึง 1 กรัมก็สามารถฆ่าคนได้เป็นล้าน และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าถูกนำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพ แต่ในขณะเดียวกันได้มีการนำสารพิษนี้มาใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรคได้เช่นเดียว กันนั่นก็คือ โบท็อกซ์ ซึ่งในรูปของบริสุทธิ์ที่ใช้ในปริมาณเพียง 1 ในล้านล้านส่วนเท่านั้น แรกเริ่มนั้นมีการนำสารพิษชนิดนี้ใช้เพื่อรักษาอาการควบคุมการกะพริบตาไม่ ได้ และจนถึงตอนนี้เราได้ใช้โบท็อกซ์ในการรักษาอาการผิดปกติต่างๆ ถึง 40 รายการ ตั้งแต่โรคที่ก่อให้เกิดอาการทุพพลภาพต่างๆ เช่น อัมพาตเนื่องจากความบกพร่องของสมอง (cerebral palsy) และพาร์กินสัน ไปจนถึงอาการเล็กๆ น้อยๆ เช่น รอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า การมีเหงื่อออกมากผิดปกติ อาการไมเกรนในบางคน เป็นต้น ผลข้างเคียงจากการใช้โบท็อกซ์นั้นน้อยยิ่งกว่าผลเสีย เป็นยาที่ช่วยในการควบคุมการปล่อยสารสื่อสัญญาณประสาทที่ชื่อว่า อะเซติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการถ่ายทอดคำสั่งจากระบบประสาทไปสู่การทำงานของระบบ กล้ามเนื้อ เหมือนกับการรับรู้หน้าที่และการผลิตฮอร์โมนนั่นเอง แต่การที่มีอะเซติลโคลีนมากเกินไปจะทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อมีการหดตัวของ ระบบกล้ามเนื้อ เช่นอาการคอแข็ง ถ้าเราเอียงศีรษะก็จะทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก การฉีดโบท็อกซ์ให้แก่ผู้ป่วยนั้นจะทำให้กล้ามเนื้อปล่อยอะเซติลโคลีนอย่าง ช้าๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้
นิโคติน : สร้างสมาธิ
สารนิโคติน เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง ดังนั้นจึงเป็นสารเสพติด ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทำงานของระบบความจำของเรา สารนิโคตินจะช่วยให้ผู้กำลังว้าวุ่นใจ ทุกข์อกทุกข์ใจ ผ่อนคลายลงและจะไปกระตุ้นคนที่ไร้ความรู้สึกให้ตื่นตัว ระบบประสาทจะมีตำแหน่งตัวรับสารนิโคตินอยู่ด้วย โดยปกติเซลล์ประสาทจะมีการควบคุมการปล่อยสารสื่อสัญญาณประสาท ตัวที่สำคัญๆ ได้แก่ อะเซติลโคลีน, เซโรโทนิน และ โดพามีน แต่นิโคตินก็ทำงานกับระบบแบบนี้ได้ดีเช่นกัน พอล นิวเฮาร์ นักประสาทวิทยาคลินิกที่วิทยาลัยแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ได้กล่าวว่า "นิโคตินเป็นยารักษาอาการทางจิตชั้นเยี่ยมทีเดียว" เพราะแค่ใช้นิโคตินบริสุทธิ์ในปริมาณไม่ถึงครึ่งกรัมจากปริมาณที่ใช้ฆ่า ชีวิตคนได้เท่านั้น แต่จะเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า ถ้าหากเป็นการใช้ในรูปแผ่นนิโคติน (nicotine patches) เพื่อช่วยพัฒนาความทรงจำและสมาธิของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีการหลั่งอะเซติล โคลีนออกมาน้อย นิโคตินนับว่ามีผลดีต่อเด็กๆ ที่ป่วยด้วยอาการของ Tourette’s syndrome ซึ่งจะมีการหลั่งโดพามีนมากเกินไป ได้มีการทดลองใช้แผ่นนิโคตินกับเด็กเหล่านี้ พบว่าช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากอาการกล้ามเนื้อหดตัวเฉียบพลันและลดความก้าว ร้าวและความหดหู่ของเด็กๆ เหล่านี้ลงได้ มีการนำการทดลองเช่นเดียวกันนี้มาใช้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของกลุ่มเด็กสมาธิ สั้น โดยนิโคตินจะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยจิตเภทสามารถคงสภาวะของจิตใจเมื่อต้อง เผชิญกับความเป็นจริง ความหดหู่ใจที่มาจากความสิ้นหวังได้ อย่างไรก็ตามธรรมชาติของนิโคตินจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจและเพิ่มความดัน เลือด ซึ่งคุณสมบัติของนิโคตินนี้ได้ทำให้มีการพยายามที่จะผลิตยาเลียนแบบองค์ ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ยาจากนิโคตินที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
พิษหอยทาก : บรรเทาปวด
ส่วนลำตัวและเปลือกของหอยทากจะฝังอยู่ในทราย และมีรยางค์ (ลักษณะคล้ายหนวด) ดุ๊กดิ๊กได้เพื่อเรียกร้องความสนใจให้ปลาคิดว่าเป็นอาหารหลงมาตอดเข้า และเมื่อปลาเข้ามาใกล้ เจ้าหอยทากที่ซ่อนอยู่จะใช้รยางค์แทงเข้าให้ พร้อมทั้งยังปล่อยพิษทำให้ปลาที่เข้ามาใกล้กลายเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ ปริมาณของเหลวไม่ถึง 0.1 มิลลิลิตรที่สกัดได้มาจากพิษของเจ้าหอยทากนั้นจะมีผลทำให้เกิดการผ่อนคลาย ขึ้นได้เมื่อนำไปฉีดไปยังบริเวณรอบๆ ไขสันหลังของผู้ที่ต้องประสบกับความเจ็บปวดเรื้อรัง รวมไปถึงผู้ป่วยในระยะสุดท้าย "มีฤทธิ์มากกว่ามอร์ฟีน 100-1000 เท่า" ไมเคิล แมคอินทอช นักสรีรวิทยาและชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์ ซึ่งเป็นผู้จำแนกองค์ประกอบของยาที่เรียกกันว่า Ziconotide หรือ Prialt ได้ และกำลังรอการอนุญาตจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากล่าว ส่วนนักวิจัยอื่นๆ ก็สามารถแยกตัวยาที่จะใช้บรรเทาความเจ็บปวดและยาระงับอาการชักได้จากพิษของ หอยทาก และเจ้าหอยทากตัวนี้มีถิ่นอาศัยในแนวปะการังซึ่งพบได้ทั่วโลก แต่คุณสมบัติตามธรรมชาติอีกด้านหนึ่งของสารพิษนี้คือทำให้เกิดความอ่อนแอและ ร่างกายสูญเสียการสั่งงานและที่ร้ายที่สุดคือ สารพิษนี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นอัมพาต ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
-
2160 ยาพิษรักษาโรค ??? /article-science/item/2160-poison-treatmentเพิ่มในรายการโปรด