สิงโต : เจ้าป่า (ตอนที่ 2)
โดย :
สสวท.
เมื่อ :
วันพุธ, 07 กันยายน 2554
Hits
20691
สิงโต : เจ้าป่า (ตอนที่ 2)
ดังได้กล่าวแล้วว่า สิงโตชอบอยู่เป็นฝูง เป็นครอบครัว โดยตัวผู้หนึ่งตัวอาจมีตัวเมียหลายตัว หรือตัวเมียหนึ่งตัวอาจมีตัวผู้หลายตัว และลูกๆ สำหรับสิงโตตัวเมียในบางครั้งก็ดูแลลูกให้กันและกัน เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์สิงโตตัวผู้และตัวเมียจะอยู่ด้วยกันนานประมาณสอง สัปดาห์ จากนั้นอีก 4 เดือน ตัวเมียก็จะคลอดลูกที่หนักประมาณ 1 กิโลกรัม ครอกละ 2 - 6 ตัว ลูกสิงโต เมื่อเกิดใหม่จะมีลายตามตัว (แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 10 เดือนลายจะเลือนหายหมด) และช่วยตัวเองไม่ได้ ดังนั้น สิงโตตัวเมียจะพาลูกอ่อนของมันไปซ่อนไม่ให้ตัวผู้เห็น เพราะลูกมันอาจถูกสิงโตที่ไม่ใช่พ่อของมันฆ่ากัดกิน แต่เวลาสิงโตตัวเมียหิว มันต้องออกล่าเหยื่อ และทิ้งลูกให้อยู่ลำพังโดดเดี่ยว ซึ่งถ้า hyena หรือ jackal ได้กลิ่นลูกของมัน ลูกสิงโตก็จะถูกสัตว์ประเภทหมาป่านี้จับกิน สถิติ การรอดชีวิตของลูกสิงโตเป็นประมาณ 50% และเมื่อลูกสิงโตมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน มันจะเริ่มวิ่งเล่นเหมือนลูกแมว และเริ่มฝึกล่าเหยื่อเมื่ออายุได้ 5 เดือน โดยพ่อหรือแม่มันไล่เหยื่อขนาดเล็กให้หนีมาใกล้เพื่อให้ลูกมันฝึกฆ่า สิงโตที่มีอายุ 2 ปี จะโตเต็มที่และอาจมีอายุยืนถึง 30 ปี ถ้าได้รับการเลี้ยงดูในสวนสัตว์ แต่ถ้ามันดำรงชีวิตอยู่ในป่า ชีวิตมันจะสั้นกว่า ทั้งนี้เพราะเวลามีอายุมาก ไม่มีใครล่าเหยื่อมาให้มันกิน
ในแอฟริกา โดยทั่วไปชาวบ้านมักเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว และทำไร่ปลูกผัก ดังนั้น เวลาสิงโตหาอาหารไม่ได้มันจะหิวจัด จนต้องเข้ามาขโมยฆ่าสัตว์เลี้ยง ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงต้องสร้างรั้วกั้น หรือในกรณีสิงโตชราที่ล่าสัตว์ใหญ่ไม่ได้แล้ว ก็มักลอบเข้ามาล่าสัตว์บ้านกินชนิดไม่กลัวคน ดังนั้น ถ้ามันเห็นเด็กเล็ก หรือคนชรา มันอาจกินคนแทน และถ้าชอบเนื้อคนมากมันก็จะหัดลูกของมันให้รู้จักฆ่าคน และยามใดที่คนในหมู่บ้านถูกสิงโตฆ่า ความรู้สึกกดดันจะแก้แค้นก็ย่อมเกิด ชนเผ่า Masai มีประเพณีว่า ชายคนใดที่ได้เลือดสิงโตติดที่ปลายหอก เขาคือผู้กล้าหาญที่สตรี Masai ทุกคนชื่นชม และถ้าใครฆ่าสิงโตได้ เขาคือวีรบุรุษหรือในกรณีที่มีคนล่าสิงโตหลายคน คนที่ทำให้เลือดสิงโตพุ่งได้เป็นคนแรกถือว่าเป็นผู้ฆ่าสิงโตตัวนั้น
ส่วนชนเผ่า Ankole มีประเพณีเชื่อว่า กษัตริย์ของตนเมื่อสวรรคตแล้วจะกลับชาติมาเกิดเป็นสิงโต ด้วยเหตุนี้ คนเผ่านี้จึงไม่ฆ่าสิงโต แต่เวลาคนในเผ่าถูกสิงโตฆ่า พวกเขาก็จะไปหาหมอผีเพื่อปรึกษาว่าควรทำอะไร ถ้าหมอผีบอกว่า สิงโตตัวนั้นเป็นสัตว์ธรรมดา ชาวบ้าน 400 คน จะออกล่าสิงโตตัวนั้นทันที แต่ถ้าหมอผีบอกว่า สิงโตเป็นกษัตริย์ที่กลับชาติมาเกิด เขาก็จะนำอาหาร เช่น เนื้อไปให้สิงโตกิน โดยทั่วไปสิงโตไม่ชอบสุงสิงกับคน มันจึงมักหลบคน แต่เวลาสิงโตหิวมันจะดุร้าย ในทำนองตรงกันข้าม ถ้ามันกินอิ่มมันจะมีอารมณ์ดี
ในประเทศ Mexico มีสิงโตภูเขา (Puma concolor) และแกะเขาใหญ่ (Ovis Canadensis) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์อาศัยอยู่มากมาย แต่แกะมักถูกสิงโตภูเขากิน การสำรวจโดยนักอนุรักษ์ทำให้รู้ว่า ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ แกะ 40 ตัว ถูกสิงโตภูเขาฆ่า ด้วยเหตุนี้รัฐบาล Mexico จึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจนได้ข้อสรุปว่า ชาวบ้านสมควรฆ่าสิงโตภูเขาให้มากขึ้นเพื่อให้แกะเขาใหญ่ไม่สูญพันธุ์ จากเดิมที่เคยฆ่า 176 ตัว ใน 10 ปีให้สามารถฆ่าได้ถึง 234 ตัว ซึ่งอาจจะมากถึง 1/3 ของสิงโตภูเขาที่มีในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.2005 C Packer แห่งภาควิชานิเวศวิทยาของมหาวิทยาลัย Minnesota ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า จากการวิเคราะห์เหยื่อที่สิงโตฆ่าในประเทศ Tanzania ซึ่งมีสิงโตจำนวนมากที่สุด เขาได้พบว่า ในเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้าน 563 คน ถูกสิงโตฆ่าและสำหรับกรณีคนที่ถูกสิงโตทำร้ายก็มีมากถึง 308 ราย การสำรวจยังแสดงให้เห็นอีกว่า เหตุการณ์ฆาตกรรมเกิดบ่อยที่สุดในฤดูเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในบริเวณที่อาหารของสิงโตขาดแคลน
ในการวางแผนป้องกันภัยนี้ นักวิเคราะห์ได้พบว่า ในปี ค.ศ.1988 ประชากรชาว Tanzania ได้เพิ่มจาก 23.1 ล้านคน เป็น 34.6 ล้านคน ในปี ค.ศ.2002 และ 39% ของคนที่ถูกสิงโตฆ่า เสียชีวิตในฤดูเก็บเกี่ยว คือ ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม โดย 18% ของเหยื่อมีอายุต่ำกว่า 10 ปี และ 69% ของผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตเป็นผู้ชาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ชายต้องอยู่ยามเฝ้าวัว ควาย หรือเดินคนเดียวในยามค่ำคืน หรือชอบออกล่าสัตว์คนเดียว ส่วนผู้หญิงมักถูกสิงโตฆ่าในบ้าน กลางทุ่งนา โดยสิงโตจะบุกเข้าในบ้านไปลากตัวสตรีผู้เคราะห์ร้ายจากเตียง หรือขณะให้นมลูก ส่วนเด็กที่ถูกทำร้ายนั้นก็จะเป็นเด็กที่ชอบเล่นนอกบ้าน เพราะตัวบ้านของคนเหล่านี้ทำด้วยใบไม้ที่ไม่แข็งแรง ดังนั้น สิงโตจึงบุกรุกได้ง่ายหรือเวลาชาวบ้านไปส้วม ซึ่งตั้งอยู่นอกบ้านเขาก็อาจถูกสิงโตจู่โจม การสำรวจยังได้ข้อสรุปอีกว่า 27% ของการเสียชีวิตเกิดที่ทุ่งนา ขณะเหยื่อกำลังเฝ้านาไม่ให้หมูป่าบุกรุก
การสำรวจสรุปว่า แม้สิงโตจะสูญพันธุ์ไปแล้วในหลาย พื้นที่ก็ตาม แต่จำนวนประชากรที่เพิ่มตลอดเวลาทำให้คนจำนวนมากบุกรุกป่าเพื่อล่าสัตว์ที่ เป็นอาหารของสิงโต เหตุการณ์นี้อาจทำให้สิงโตอดอาหารตาย ดังนั้น การที่จะทำให้สิงโตไม่สูญพันธุ์ นักอนุรักษ์ต้องเข้าใจชีวิตและจิตใจของชาวบ้านด้วย
ในแอฟริกา โดยทั่วไปชาวบ้านมักเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว และทำไร่ปลูกผัก ดังนั้น เวลาสิงโตหาอาหารไม่ได้มันจะหิวจัด จนต้องเข้ามาขโมยฆ่าสัตว์เลี้ยง ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงต้องสร้างรั้วกั้น หรือในกรณีสิงโตชราที่ล่าสัตว์ใหญ่ไม่ได้แล้ว ก็มักลอบเข้ามาล่าสัตว์บ้านกินชนิดไม่กลัวคน ดังนั้น ถ้ามันเห็นเด็กเล็ก หรือคนชรา มันอาจกินคนแทน และถ้าชอบเนื้อคนมากมันก็จะหัดลูกของมันให้รู้จักฆ่าคน และยามใดที่คนในหมู่บ้านถูกสิงโตฆ่า ความรู้สึกกดดันจะแก้แค้นก็ย่อมเกิด ชนเผ่า Masai มีประเพณีว่า ชายคนใดที่ได้เลือดสิงโตติดที่ปลายหอก เขาคือผู้กล้าหาญที่สตรี Masai ทุกคนชื่นชม และถ้าใครฆ่าสิงโตได้ เขาคือวีรบุรุษหรือในกรณีที่มีคนล่าสิงโตหลายคน คนที่ทำให้เลือดสิงโตพุ่งได้เป็นคนแรกถือว่าเป็นผู้ฆ่าสิงโตตัวนั้น
ส่วนชนเผ่า Ankole มีประเพณีเชื่อว่า กษัตริย์ของตนเมื่อสวรรคตแล้วจะกลับชาติมาเกิดเป็นสิงโต ด้วยเหตุนี้ คนเผ่านี้จึงไม่ฆ่าสิงโต แต่เวลาคนในเผ่าถูกสิงโตฆ่า พวกเขาก็จะไปหาหมอผีเพื่อปรึกษาว่าควรทำอะไร ถ้าหมอผีบอกว่า สิงโตตัวนั้นเป็นสัตว์ธรรมดา ชาวบ้าน 400 คน จะออกล่าสิงโตตัวนั้นทันที แต่ถ้าหมอผีบอกว่า สิงโตเป็นกษัตริย์ที่กลับชาติมาเกิด เขาก็จะนำอาหาร เช่น เนื้อไปให้สิงโตกิน โดยทั่วไปสิงโตไม่ชอบสุงสิงกับคน มันจึงมักหลบคน แต่เวลาสิงโตหิวมันจะดุร้าย ในทำนองตรงกันข้าม ถ้ามันกินอิ่มมันจะมีอารมณ์ดี
ในประเทศ Mexico มีสิงโตภูเขา (Puma concolor) และแกะเขาใหญ่ (Ovis Canadensis) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์อาศัยอยู่มากมาย แต่แกะมักถูกสิงโตภูเขากิน การสำรวจโดยนักอนุรักษ์ทำให้รู้ว่า ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมานี้ แกะ 40 ตัว ถูกสิงโตภูเขาฆ่า ด้วยเหตุนี้รัฐบาล Mexico จึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจนได้ข้อสรุปว่า ชาวบ้านสมควรฆ่าสิงโตภูเขาให้มากขึ้นเพื่อให้แกะเขาใหญ่ไม่สูญพันธุ์ จากเดิมที่เคยฆ่า 176 ตัว ใน 10 ปีให้สามารถฆ่าได้ถึง 234 ตัว ซึ่งอาจจะมากถึง 1/3 ของสิงโตภูเขาที่มีในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.2005 C Packer แห่งภาควิชานิเวศวิทยาของมหาวิทยาลัย Minnesota ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า จากการวิเคราะห์เหยื่อที่สิงโตฆ่าในประเทศ Tanzania ซึ่งมีสิงโตจำนวนมากที่สุด เขาได้พบว่า ในเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้าน 563 คน ถูกสิงโตฆ่าและสำหรับกรณีคนที่ถูกสิงโตทำร้ายก็มีมากถึง 308 ราย การสำรวจยังแสดงให้เห็นอีกว่า เหตุการณ์ฆาตกรรมเกิดบ่อยที่สุดในฤดูเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในบริเวณที่อาหารของสิงโตขาดแคลน
ในการวางแผนป้องกันภัยนี้ นักวิเคราะห์ได้พบว่า ในปี ค.ศ.1988 ประชากรชาว Tanzania ได้เพิ่มจาก 23.1 ล้านคน เป็น 34.6 ล้านคน ในปี ค.ศ.2002 และ 39% ของคนที่ถูกสิงโตฆ่า เสียชีวิตในฤดูเก็บเกี่ยว คือ ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม โดย 18% ของเหยื่อมีอายุต่ำกว่า 10 ปี และ 69% ของผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตเป็นผู้ชาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ชายต้องอยู่ยามเฝ้าวัว ควาย หรือเดินคนเดียวในยามค่ำคืน หรือชอบออกล่าสัตว์คนเดียว ส่วนผู้หญิงมักถูกสิงโตฆ่าในบ้าน กลางทุ่งนา โดยสิงโตจะบุกเข้าในบ้านไปลากตัวสตรีผู้เคราะห์ร้ายจากเตียง หรือขณะให้นมลูก ส่วนเด็กที่ถูกทำร้ายนั้นก็จะเป็นเด็กที่ชอบเล่นนอกบ้าน เพราะตัวบ้านของคนเหล่านี้ทำด้วยใบไม้ที่ไม่แข็งแรง ดังนั้น สิงโตจึงบุกรุกได้ง่ายหรือเวลาชาวบ้านไปส้วม ซึ่งตั้งอยู่นอกบ้านเขาก็อาจถูกสิงโตจู่โจม การสำรวจยังได้ข้อสรุปอีกว่า 27% ของการเสียชีวิตเกิดที่ทุ่งนา ขณะเหยื่อกำลังเฝ้านาไม่ให้หมูป่าบุกรุก
การสำรวจสรุปว่า แม้สิงโตจะสูญพันธุ์ไปแล้วในหลาย พื้นที่ก็ตาม แต่จำนวนประชากรที่เพิ่มตลอดเวลาทำให้คนจำนวนมากบุกรุกป่าเพื่อล่าสัตว์ที่ เป็นอาหารของสิงโต เหตุการณ์นี้อาจทำให้สิงโตอดอาหารตาย ดังนั้น การที่จะทำให้สิงโตไม่สูญพันธุ์ นักอนุรักษ์ต้องเข้าใจชีวิตและจิตใจของชาวบ้านด้วย
สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท
คำสำคัญ
สิงโต,เจ้าป่า
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สสวท.
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
2168 สิงโต : เจ้าป่า (ตอนที่ 2) /article-science/item/2168-lion613เพิ่มในรายการโปรด