"เกลือ" คุณค่าที่มากกว่าความเค็ม
โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 23 พฤศจิกายน 2555
Hits
31848
แน่นอนว่าวลีคลาสลิคอย่าง “พึงรักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม” จะสะท้อนคุณสมบัติเด่นของเกลือได้ดี แต่จริงๆ แล้วเกลือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้และมีคุณค่ามากกว่าความเค็ม ลองมาทำความรู้จักกับเกลือในมิติใหม่ไปพร้อมๆ กันค่ะ
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนมีต้นกำเนิดมาจากทะเล แม้จะมีวิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบกนับร้อยล้านปี เกลือก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จะเห็นว่าแม้จนปัจจุบันทารกในครรภ์ยังต้องลอยอยู่ในน้ำคร่ำซึ่งมีเกลือเข้มข้นเท่ากับน้ำทะเลมนุษย์มีเกลืออยู่ในร่างกายประมาณ 250 กรัม
เกลือที่เรากินทุกวันและจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประกอบด้วยธาตุสองตัว คือ โซเดียม ซึ่งลุกเป็นไฟได้เอง และระเบิดได้ กับคลอรีน ซึ่งเป็นพิษร้ายแรง ถ้ากินธาตุทั้งสองแยกกัน แต่ละชนิดสามารถฆ่าคุณได้ รสเค็มของเกลือมาจากธาตุคลอรีน ซึ่งจะถูกร่างกายนำไปใช้ผลิตกรดเกลือในกระเพาะอาหาร
เกลือที่เรากินทุกวันและจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประกอบด้วยธาตุสองตัว คือ โซเดียม ซึ่งลุกเป็นไฟได้เอง และระเบิดได้ กับคลอรีน ซึ่งเป็นพิษร้ายแรง ถ้ากินธาตุทั้งสองแยกกัน แต่ละชนิดสามารถฆ่าคุณได้ รสเค็มของเกลือมาจากธาตุคลอรีน ซึ่งจะถูกร่างกายนำไปใช้ผลิตกรดเกลือในกระเพาะอาหาร
โลกเราไม่มีวันขาดเกลือ เพราะโลกมีเกลือพอที่จะถมผืนแผ่นดินของทวีปต่างๆ ได้หนาถึง 500 ฟุต เกลือเป็นสินแร่ชนิดเดียวที่เราสามารถสกัดจากดินด้วยการสูบน้ำลงไปละลาย แล้วดูดน้ำเกลือขึ้นมาตากให้แห้ง ได้เกลือผงกลับคืนมา ชาวจีนโบราณเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้วิธีดูดน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาใช้ตั้งแต่พระเยซูคริสต์ยังไม่ถือกำเนิด และยังรู้จักทำท่อประปาด้วยไม้ไผ่ส่งน้ำเกลือไปยังนาเกลืออย่างเป็นระบบ ในศตวรรษที่ 16 และก่อนหน้า อาชญากรในคดีอุกฉกรรจ์ ถ้าไม่ประหารก็จะต้องรับโทษเป็นผู้ใช้แรงงานในเหมืองเกลือตลอดชีวิต
เกลือมีคุณสมบัติดูดน้ำเข้าตัว เมื่อทิ้งเกลือไว้ในภาชนะเปิด มันจะดูดน้ำในอากาศจนเยิ้มละลาย ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ทำให้มันสามารถถนอมอาหารไม่ให้บูดเน่า เพราะมันจะดูดน้ำออกจากเชื้อจุลินทรีย์จนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จากสารพันเรื่องราวคร่าวๆ จะเห็นว่าเกลือมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงอยู่ของชีวิตขนาดไหน และอีกเรื่องที่น่าสนใจคือ เกลือยังมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ อันเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานในชื่อว่า “เกลือบำบัด” (Salt Therapy หรือSpeleotherapy) อีกด้วย
ในยุคกลางอันเป็นยุคที่ผลึกเกลือมีค่าดั่งทอง มีเหมืองเกลือเกิดขึ้นมากมายทั่วภูมิภาคยุโรป ผลึกขาวราคา แพงกลายมามีบทบาทสำคัญหลายประการ ดังจะเห็นได้จากร่องรอยหลงเหลือในภาษาอังกฤษอย่างคำที่เราคุ้นเคยกัน เช่น salary (เงินเดือน) sauce (น้ำซอส) sau-sage(ไส้กรอก) salad (สลัด) ซึ่งล้วนมีรากศัพท์มาจากคำว่า sal หรือเกลือ ในภาษาละติน หรือแม้แต่หลายเมืองในยุโรปก็ปรากฏคำว่าเกลือในชื่อเมือง ย้ำเตือนให้เห็นว่าเกลือนั้นสำคัญมากเพียงไรในอดีต
ส่วนบทบาทของเกลือกับการแพทย์นั้นมีหลักฐานว่า ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ปรัชญาเมธีผู้โด่งดังรู้จักการสูดดมไอเกลือเพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจมาตั้งแต่สมัยกรีกแล้ว
ส่วนบทบาทของเกลือกับการแพทย์นั้นมีหลักฐานว่า ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ปรัชญาเมธีผู้โด่งดังรู้จักการสูดดมไอเกลือเพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจมาตั้งแต่สมัยกรีกแล้ว
ส่วนในเอเชียมีตำราเภสัชวิทยาโบราณอายุกว่า 4,700 ปีของจีน “เปิ่นเฉ่ากังมู่” (Peng Tzao KanMu) ระบุไว้ว่า ยุคนั้นมีการใช้เกลือแพร่หลายมากกว่า 40 ชนิด ทั้งเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์และเป็นเงินตราแลกเปลี่ยน ในปี ค.ศ. 1843 Felix Boczkowski นายแพทย์ชาวโปแลนด์สังเกตพบว่า อุบัติการณ์โรคระบบทางเดินหายใจเกิดขึ้นกับคนงานเหมืองเกลือน้อยมาก จึงริเริ่มนำผู้ป่วยทั้งโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้ลงไปสูดดมไอเกลือในเหมืองหรือถ้ำเกลือใต้ดิน จนพบว่าช่วยบำบัดโรคอย่างได้ผล ความสำเร็จนี้จึงถูกบันทึกลงในตำรา กระตุ้นให้ถ้ำเกลือบำบัดกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง จนเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นายแพทย์ชาวเยอรมัน Karl Hermann Spannagel ได้พบว่า ผู้ป่วยทางเดินหายใจซึ่งลี้ภัยอยู่ในถ้ำเกลือมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งย้ำเตือนประโยชน์ของถ้ำเกลือต่อสุขภาพอย่างชัดเจน
ประโยชน์ของเกลือบำบัด
จากสถิติทางการแพทย์พบว่า เกลือบำบัดช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจได้หลายชนิด อาทิ โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอจามจากภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง หายใจผิดปกติและแน่นหน้าอก ไอจากการสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่ คัดจมูก ไซนัสอักเสบ อาการแพ้ฝุ่นและละอองเกสร โดยก่อนเข้ารับการบำบัดจะต้องมีการวัดความดันและอุณหภูมิร่างกาย ดื่มน้ำสะอาดหนึ่งแก้วเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ สวมชุดคลุมให้มิดชิดแล้วเข้าไปในถ้ำเกลือเพื่อสูดไอเกลือนาน 45 นาที ควรบำบัดต่อเนื่อง 5 - 10 ครั้ง จะเริ่มรู้สึกดีขึ้นได้ภายใน 7 - 30 วันและคนไข้บางรายอาจไม่ต้องใช้ยาแก้ภูมิแพ้อีกเลย
อย่างไรก็ดี เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวเองและผู้เข้ารับการบำบัดรายอื่น ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคอวัยวะภายในล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง โรคเลือด วัณโรค มะเร็ง ผู้มีอาการทางจิต ผู้ติดยาผู้เมาสุรา ผู้ที่อ่อนเพลียและน้ำหนักลดผิดปกติ สตรีมีครรภ์ ผู้มีไข้สูงรวมทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบเข้าถ้ำเกลือค่ะ
ลดเกลือเพื่อชีวิต
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่น้ำอัดลม ข้าวโพดคั่ว และถั่วอบโรยเกลือจะวางขายคู่กันหน้าโรงหนัง คนที่อยู่ในภาวะอารมณ์สนุกรื่นเริงจะเลือกกินของเค็มมัน ของเค็มทำให้กระหาย มีผลทำให้น้ำอัดลมแก้วใหญ่พิเศษขายดี และเพราะเหตุนี้ คนเราจึงบริโภคเกลือเกินปริมาณที่ร่างกายกำหนด เมื่อเกิดการสะสมก็ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย คนติดเค็มทั้งหลายควรพึงระวังให้ดี แม้เกลือจะมีคุณค่า แต่ว่าอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้นค่ะ จึงขอปิดประเด็น “เกลือ” คราวนี้ด้วย 5 เทคนิคลดเกลือ ลดโรค สำหรับคนป่วยและคนเสี่ยงจะป่วยค่ะ เพราะถ้าคุณกินเค็มจัดมาโดยตลอด หากจะงดไปเลยคงเป็นเรื่องยากหรืออาจฝืนใจ ถ้าเช่นนั้นลองเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณลดเค็มเพื่อลดโรค แต่ยังมีความสุขกับการกินได้อร่อย ดังนี้ค่ะ
1. เริ่มต้นที่ใจ ผู้ป่วยควรตระหนักรู้จากความรู้สึกภายในของตัวเองก่อนว่า การลดเกลือสำคัญกับชีวิตของเขาและช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ เช่น ช่วยคุมความดัน ช่วยชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ โดยไม่ใช่คุณหมอหรือลูกหลานพูดบังคับ
2. ปรับพฤติกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากปรับลดเครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารและบนโต๊ะอาหาร เพื่อให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อม แต่ไม่ใช่รสเค็มจัดหรือใส่น้ำปลาพริกตามความเคยชิน และที่สำคัญ ควรชิมอาหารก่อนเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ
3. ถ้าต้องการเพิ่มรสชาติอาหาร ให้ใช้เครื่องเทศแทนการใช้เกลือ เช่น น้ำส้ม มะนาว กระเทียม ขิง หัวหอม พริกเป็นต้น หรือใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมต่ำแทนเครื่องปรุงรสสูตรปกติ (ยกเว้นในผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจบางชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้)
4. หลังจากนั้นจำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม ทั้งเกลือ น้ำปลา ซอส หรืออาหารหมักดองอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารที่มีเกลือโซเดียมมาก แต่ไม่มีรสเค็ม เช่น อาหารใส่ผงชูรส ผงฟู และสารกันบูด เป็นต้น
5. เมื่อจับจ่ายซื้ออาหารสำเร็จรูป อ่านฉลากกำกับทุกครั้ง และเลือกซื้ออาหารที่ระบุชัดเจนว่า "โซเดียมต่ำ" หรือ "ไม่มีเกลือ" หรือ "ไม่เติมเกลือ" เท่านั้น
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ “เกลือ” ผลึกขาวรสเค็มมากคุณค่ามาแต่ครั้งโบราณและสืบทอดคุณประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีควรเลือกใช้เกลือให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อรสชาติอาหารและการรักษาสุขภาพนะคะ
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่น้ำอัดลม ข้าวโพดคั่ว และถั่วอบโรยเกลือจะวางขายคู่กันหน้าโรงหนัง คนที่อยู่ในภาวะอารมณ์สนุกรื่นเริงจะเลือกกินของเค็มมัน ของเค็มทำให้กระหาย มีผลทำให้น้ำอัดลมแก้วใหญ่พิเศษขายดี และเพราะเหตุนี้ คนเราจึงบริโภคเกลือเกินปริมาณที่ร่างกายกำหนด เมื่อเกิดการสะสมก็ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย คนติดเค็มทั้งหลายควรพึงระวังให้ดี แม้เกลือจะมีคุณค่า แต่ว่าอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้นค่ะ จึงขอปิดประเด็น “เกลือ” คราวนี้ด้วย 5 เทคนิคลดเกลือ ลดโรค สำหรับคนป่วยและคนเสี่ยงจะป่วยค่ะ เพราะถ้าคุณกินเค็มจัดมาโดยตลอด หากจะงดไปเลยคงเป็นเรื่องยากหรืออาจฝืนใจ ถ้าเช่นนั้นลองเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณลดเค็มเพื่อลดโรค แต่ยังมีความสุขกับการกินได้อร่อย ดังนี้ค่ะ
1. เริ่มต้นที่ใจ ผู้ป่วยควรตระหนักรู้จากความรู้สึกภายในของตัวเองก่อนว่า การลดเกลือสำคัญกับชีวิตของเขาและช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ เช่น ช่วยคุมความดัน ช่วยชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ โดยไม่ใช่คุณหมอหรือลูกหลานพูดบังคับ
2. ปรับพฤติกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากปรับลดเครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารและบนโต๊ะอาหาร เพื่อให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อม แต่ไม่ใช่รสเค็มจัดหรือใส่น้ำปลาพริกตามความเคยชิน และที่สำคัญ ควรชิมอาหารก่อนเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ
3. ถ้าต้องการเพิ่มรสชาติอาหาร ให้ใช้เครื่องเทศแทนการใช้เกลือ เช่น น้ำส้ม มะนาว กระเทียม ขิง หัวหอม พริกเป็นต้น หรือใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมต่ำแทนเครื่องปรุงรสสูตรปกติ (ยกเว้นในผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจบางชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้)
4. หลังจากนั้นจำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม ทั้งเกลือ น้ำปลา ซอส หรืออาหารหมักดองอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารที่มีเกลือโซเดียมมาก แต่ไม่มีรสเค็ม เช่น อาหารใส่ผงชูรส ผงฟู และสารกันบูด เป็นต้น
5. เมื่อจับจ่ายซื้ออาหารสำเร็จรูป อ่านฉลากกำกับทุกครั้ง และเลือกซื้ออาหารที่ระบุชัดเจนว่า "โซเดียมต่ำ" หรือ "ไม่มีเกลือ" หรือ "ไม่เติมเกลือ" เท่านั้น
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ “เกลือ” ผลึกขาวรสเค็มมากคุณค่ามาแต่ครั้งโบราณและสืบทอดคุณประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีควรเลือกใช้เกลือให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อรสชาติอาหารและการรักษาสุขภาพนะคะ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก ธนาคารกสิกรไทย
คำสำคัญ
เกลือ,คุณค่า,เค็ม
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
-
3153 "เกลือ" คุณค่าที่มากกว่าความเค็ม /article-science/item/3153-qq-772เพิ่มในรายการโปรด