กินให้ถูก เลี่ยงกระดูกพรุนได้ !
ปัจจุบันโรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ถูกกล่าวขานกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่น้อยลงและไม่ถูกต้องตามหลัก ทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงการบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อร่างกาย รวมทั้งหันมาในใส่ใจและตรวจดูและกระดูกของเรากันมากขึ้น
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หมายถึงภาวะที่กะดูกมีเนื้อกรดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซียมในกระดูกลดลง ทำให้โครงสร้างของกระดูกผิดไป กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกนหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
โดยทั่วไป ร่างกายผู้ใหญ่ต้องการแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งถ้าหากเรารับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องเสริมด้วยอาหารเสริมแต่อย่างใด แต่ต้องคำนึงถึงการดูดซึมของร่างกายด้วย เช่น รับประทานอาหารที่มีกรดที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอย่าง ไฟติค แอซิด กรดดีชนิดนี้พบในขนมปังไม่ขัดสี ถั่วดิบ เมล็ดงา ข้าวประเภทต่าง ๆ และออกซาลิค แอซิด ซึ่งเป็นกรดที่พบในผักโขม
นอกจากนั้น ควรระวังการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมอย่าง โซเดียม (โซเดียมที่สูงเกินไปจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ทำให้ยิ่งบริโภคมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องการแคลเซียมที่สูงขึ้นเพื่อให้ครบจำนวนที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวันมากยิ่งขึ้น) และมีอาจมีหลายคนที่คิดว่า การดื่มนม เป็นการเพิ่มแคลเซียมให้แก่ร่างกายอย่างเพียงพอ แต่ทราบหรือไม่คะว่า นมหนึ่งกล่องนั้นมีแคลเซียมประมาณ 240 มิลลิกรัม และจากการศึกษาพบว่า การดื่มนมขณะท้องว่าง ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย ในขณะเดียวกัน ปลาตัวเล็ก ๆ และ กุ้งแห้ง มีแคลเซียมมากกว่านมถึง 20 เท่า งาดำ มีแคลเซียมมากกว่านม 14 เท่า เต้าหู้ มีแคลเซียมมากกว่านม 2.5 เท่า ส่วนผักพื้นบ้านทั้งหลาย มีแคลเซียมมากกว่าในนม 3- 8 เท่า
ดังนี้แล้ว หากคำนึงถึงการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ก็จะทำให้ร่างกายของเราได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพออย่างที่คาดคิด และเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้ค่ะ
ขอขอบคุณบทความจาก วิชาการ.คอม
-
3370 กินให้ถูก เลี่ยงกระดูกพรุนได้ ! /article-science/item/3370-2013-02-19-18-07-02เพิ่มในรายการโปรด