ให้เรตสมาชิก: 1 / 5
สุดอันตราย "แอลกอฮอล์อุ่นอาหาร" มีสารพิษเมทานอลเกินมาตรฐาน
ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนเมืองที่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น รวมไปถึง การเกิดขึ้นของธุรกิจอาหารประเภทหม้อร้อน ปิ้งย่าง ที่ให้ทั้งความเอร็ดอร่อยและสนุกสนานในการรับประทาน ส่งผลให้การใช้ แอลกอฮอล์อุ่นอาหาร และ แอลกอฮอล์แข็ง-เจล มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนเจลแอลกอฮอล์ที่ใช้อุ่นอาหารตามร้านค้า สุดอันตราย มีสารพิษเมทานอลเกินมาตรฐาน ถ้าสูดดมเข้าไปมากๆ อาจถึงขั้นตาบอดได้ นอกจากนี้สารเมทานอลยังเป็นสารผิดกฎหมาย หากมีในครอบครองจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท แนะให้ใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานได้รับเครื่องหมาย มอก.เท่านั้น
จากการเก็บตัวอย่าง แอลกอฮอล์แข็ง สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรืออุ่นอาหาร ซึ่งมีทั้งลักษณะคล้ายขี้ผึ้งและชนิดเจลค่อนข้างเหลว บรรจุถ้วยหรือกระป๋องโลหะทรงกระบอกขนาดแตกต่างกัน โดยสารสำคัญที่อนุญาตให้ใช้เป็นส่วนประกอบหลัก คือเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl alcohol or Ethanol) และห้ามใช้เมทิล แอลกอฮอล์ หรือเมทานอล (Methyl alcohol or Methanol) โดยกำหนดให้มีปริมาณของเมทานอลปนเปื้อนได้ไม่เกินร้อยละ 1 โดยปริมาตรของส่วนที่กลั่นได้
จากผลการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณเมทานอ ล 86.7% ซึ่งมาตรฐานกำหนดเมทานอลต้องไม่เกิน 1% เข้าข่ายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
"เมทานอลเป็นสารพิษชนิดหนึ่งตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากได้รับไอของเมทานอลเป็นเวลานานจะทำให้ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เยื่อตาขาวอักเสบ อาจมีปัญหาการมองเห็นจนถึงตาบอดได้ ถ้าแอลกอฮอล์แข็งมีเมทานอลสูงก็จะยิ่งได้รับอันตรายมาก"
ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์อุ่นอาหารให้ปลอดภัย ผู้บริโภคสามารถสังเกตง่ายๆจากฉลากบนภาชนะและกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ภาชนะบรรจุทุกหน่วยต้องระบุชื่อผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และต้องมีข้อความระบุว่า ห้ามรับประทาน มีชื่อผู้ผลิต หรือสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน นอกจากนี้ยังต้องระบุวันเดือนปีที่ผลิต น้ำหนักสุทธิ คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้และการเก็บรักษา ข้อควรระวัง ไว้บนกล่องบรรจุด้วย สำหรับในกรณีที่ไม่มีกล่องบรรจุ จะต้องแสดงข้อความทั้งหมดบนฉลากของภาชนะบรรจุทุกหน่วย” อีกอย่างที่สามารถสังเกตได้ ว่า เป็นแอลกอฮอล์อุ่นอาหารที่ได้มาตรฐานหรือไม่ คือเมื่อจุดไฟให้สังเกตกลิ่นเป็นหลัก เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีเมทานอลเกินมาตรฐานจะมีกลิ่นที่แสบจมูก และไอของผลิตภัณฑ์จะทำให้ระคายเคืองตา ถ้าเลือกได้ ไม่ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อุ่นอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลว เทได้ เพราะหากเติมขณะที่ไฟติดอยู่จะทำให้ไฟลามขึ้นมาถึงมือ และอาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ การใช้เชื้อเพลิงอุ่นอาหารในบ้านหรือร้านอาหาร ควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวก แม้ว่าเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหลวหรือไหลได้ เพราะถ้าหก อาจมีการติดไฟ และลุกลามขยายวงกว้าง อีกทั้ง ควรเก็บเชื้อเพลิงอุ่นอาหารในภาชนะปิดสนิท และอยู่ในที่ปลอดภัย ห่างจากแหล่งความร้อน
ผู้ประกอบการใช้แอลกอฮอล์อุ่นอาหารที่มีเมทานอลเกินกว่าที่กำหนดจะมีโทษเช่นเดียวกับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายคือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
ที่มา:
http://www.thairath.co.th/content/430343
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068454
http://www.fda.moph.go.th/psiond/download/km/factsheet/วัตถุอันตรายชนิดที่ 4.pdf
-
4432 สุดอันตราย "แอลกอฮอล์อุ่นอาหาร" มีสารพิษเมทานอลเกินมาตรฐาน /article-science/item/4432-qq-998เพิ่มในรายการโปรด