มางดเหล้า เข้าพรรษากันเถอะ !!
เหล้า มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แม้ว่าในเหล้าชนิดต่าง ๆ ยังมีสารอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์ของเหล้าชนิดนั้น ๆ โดยเฉพาะเหล้าที่นำมาหมักดองกับสมุนไพรเพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รสชาติและสรรพคุณ เช่น เหล้าดองยาของไทย เหล้าเซี่ยงชุนของจีน เหล้าแคมปารี ของอิตาลี เป็นต้น สารปรุงแต่งเหล่านี้เมื่อดื่มในปริมาณมาก หรือ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ดื่มได้ แต่เมื่อดื่มในระยะเฉียบพลัน อาการต่าง ๆ ของผู้ดื่มนับได้ว่าเกิดจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น
เวลาพูดถึง "แอลกอฮอล์" (alcohol) หลายคนมักจะเหมารวมว่าหมายถึงเหล้า ทั้งที่ความจริงแอลกอฮอล์เป็นชื่อสารเคมีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งที่รู้จักกันมากที่สุดคือ "เอทานอล" (ethanol) หรือ "เอทิลแอลกอฮอล์" (ethyl alcohol) และ "เมทานอล" (methanol) หรือ "เมทิลแอลกอฮอล์" (methyl alcohol) ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้แม้จะมีคุณสมบัติหลายๆ อย่างที่คล้ายกัน แต่ความเป็นพิษต่อร่างกายนั้นแตกต่างกันอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง ดังนั้น เรามาทำความจักกับ "เอทิล - เมทิลแอลกอฮอล์" กันดีกว่า
|
"เอทิลแอลกอฮอล์" หรือ "เอทานอล" มีสูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง สามารถละลายน้ำได้ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอล์ชนิดนี้กินได้ นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ความเป็นพิษต่อร่างกาย คือ โรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ เป็นอาการพิษของผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน นั่นคือ อาการพิษเรื้อรังที่เกิดจากเอทานอล แต่พิษเฉียบพลันที่เกิดจากการกินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียวก็คืออาการเมานั่นเอง แต่ทั้งนี้แม้ว่าเอทานอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน
ส่วน "เมทิลแอลกอฮอล์" หรือ "เมทานอล" มีสูตรเคมีคือ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมการทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ ความเป็นพิษต่อร่างกายถือได้ว่า มีพิษมาก โดยเมทานอลสามารถดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ ผู้ที่สูดดมเข้าไประคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ
เมื่อกินเหล้าเข้าไปผ่านกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้เล็ก แอลกอฮอล์ในเหล้าจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย เมื่อกินอาหารมาก่อน แอลกอฮอล์ใช้เวลา 1 ถึง6 ชั่วโมง จึงจะถูกดูดซึมไปถึงระดับสูงสุดในเลือด แต่ถ้ากินเหล้าในขณะที่ท้องว่าง แอลกอฮอล์ใช้เวลาถูกดูดซึมสู่ ระดับสูงสุดในเลือด เพียง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง แอลกอฮอล์ในร่างกายถูกกำจัดโดยตับเป็นส่วนใหญ่ (95 เปอร์เซ็นต์) ที่เหลือถูกขับออกทางลมหายใจ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ น้ำนม และน้ำลาย
แอลกอฮอล์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เกิดการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย แอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ผู้ที่กินเหล้าจึงปัสสาวะบ่อย สูญเสียน้ำและรู้สึกกระหายน้ำมากในเวลาต่อมา อีกประการหนึ่ง บรรยากาศวงเหล้า ผนวกกับพลังงานที่ได้จากเหล้ามักทำให้ผู้ดื่มไม่รู้สึกอยากอาหาร ดังนั้นผู้ที่กินเหล้าเป็นนิจจึงอาจขาดสารอาหารได้ ที่สำคัญแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายที่เนื้อตับ คนกินเหล้าจึงมีโอกาสเป็นตับอักเสบมากกว่าคนไม่กินและอาจพัฒนาไปถึงขั้นตับวายได้
งานวิจัยของ Pakhen Erg แห่ง Neurological Research Laboratory ที่เดนมาร์ก ได้ชี้ให้เห็นว่า แอลกอฮอล์มิได้ฆ่าหรือทําลายเซลล์ประสาทในสมองแต่อย่างใด มันเพียงแต่ทําให้เนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านั้นเสื่อม สมรรถภาพเท่านั้นเอง เขาพบว่า จํานวนเซลล์เนื้อเยื่อในสมองของคนติดเหล้าจะน้อยกว่าจํานวนเซลล์เนื้อเยื่อในสมองของคนไม่กินเหล้า 11% และ ในการออกฤทธิ์ของสุรา คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าสุรานั้นจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายเมื่อถูกดูดซึมเข้า กระแสเลือดเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วมันออกฤทธ์ทำลายตั้งแต่อวัยวะแรกที่สำผัสจนตลอดตามเส้นทาง เดินของสุราที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย ซึ่งสามารถอธิบายตามลำดับขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้
1.ปากและลำคอ
เมื่อ สุราเข้าปากและลำคอจะไปออกฤทธิ์ต่อผิวอวัยวะภายในช่องปากทำให้เกิดการระคาย เคืองชิ้นเยื่อบุที่ละเอียดอ่อนในปากและหลอดอาหาร มักมีอาการร้อนซู่เมื่อผ่านลงไป
2.กระเพาะอาหารและลำไส้ สุราเมื่อผ่านลงสู่กระเพาะจะมีผลกับผนังชั้นนอกสุดที่เป็นชั้นที่จะปก ป้องกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดอาการอักเสบของเยื่อบุชั้นในสุดของ ผนังหรือกระเพาะอาหารหรืออาจทะลุลำไส้เล็กได้ นอกจากนั้นสุรายังเป็นอุปสรรคกับการดูดซึมอาหารบางชนิด เช่น วิตามินB1, กรดโฟลิก ,ไขมัน วิตามินบี6,วิตามินบี 12 และกรดอะมิโนต่าง ๆ
3. กระแสเลือด ร้อยละ95 ของสุราที่เข้าสู่ในร่างกาย จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด โดยผ่านเยื่อบุในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนดูโอดีนั่มอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงกระแสเลือดจะเข้าไปในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายอย่าง รวดเร็ว แอลกอฮอล์ทำให้เซลล์ของเลือดเกาะเป็นก้อนเหนียว การไหลเวียนจึงช้าลง และปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงด้วย สุราทำให้โลหิตจาง โดยจะไปลดการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ความเม็ดเลือดขาวทำลายแบคทีเรียช้าลง และทำให้การแข็งตัวของเกล็ดเลือดช้าลงด้วย
4. ตับอ่อน แอลกอฮอล์จะทำให้เซลล์ของตับอ่อนระคายเคือง และบวมขึ้น สุราทำให้การไหลของน้ำย่อยไม่สามารถที่จะเข้าไปในลำไส้เล็กได้ ทำให้น้ำย่อยย่อยตัวตับอ่อนเอง ทำให้เกิดเลือดออกอย่างเฉียบพลันและการ อักเสบของตับอ่อน พบว่า 1ใน5 จะเสียชีวิตไปในครั้งแรก เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน การสร้างอินซูลินขาดหายไป และทำให้เป็นเบาหวานในที่สุด
5. ตับ แอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อเซลล์ของตับ ทำให้เกิดการบวม ทำให้น้ำดีซึมผ่านไปทั่วตับ เป็นเหตุให้ตัวเหลือง รวมทั้งส่วนขอบตาและผิวหนังเป็นสีเหลืองด้วย ทุกครั้งที่ดื่มสุรานั้น เซลล์ของตับจะถูกทำลายเป็นผลให้ตับแข็ง การเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับมีถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา
6. หัวใจ แอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจบวม ทำให้เกิดเป็นพิษกับหัวใจมีการสะสมของไขมันมากขึ้น และทำให้การเผาผลาญช้าลงไปด้วย
7. กระเพาะปัสสาวะและไต แอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะบวม ทำให้ไม่สามารถยืดได้ตามปกติ การระคายเคืองของไตทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
8. ต่อมเพศ ต่อมอัณฑะจะบวม ทำให้ความสามารถทางเพศลดลง
9. สมอง เป็นอวัยวะที่ไวต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ซึ่งเห็นได้ชัดเจน ก่อให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
9.1 พิษแบบเฉียบพลัน ได้แก่ Alcoholic intoxication แบ่งออกเป็นพิษในระดับมากน้อยแตกต่างกันไป ตามระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดดังนี้
ระดับแอลกอฮอล์ (มิลลิกรัม/100มิลลิลิตร)
- 30 mg% - ทำให้เกิดการสนุกสนานร่าเริง
- 50 mg% - เสียการควบคุมการเคลื่อนไหว
- 100 mg% - แสดงอาการเมาให้เห็น เดินไม่ตรงทาง
- 200 mg% - เกิดอาการสับสน
- 300 mg% - เกิดอาการง่วงซึม
- 400 mg% - เกิดอาการสลบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
9.2 พิษเรื้อรัง
แอลกอฮอล์ มีพิษโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม ในผู้ติดสุราพบว่ามีการฝ่อลีบของสมองส่วนคอร์เทกซ์ ซึ่งจะมีผลต่อการเสื่อมทางจิตด้วยหลายประการ เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความจำเสื่อม เมื่อเป็นมากเกิดประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง และแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท โดยกดศูนย์ควบคุมระบบต่าง ๆ เช่นกดศูนย์หายใจและศูนย์ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตในสมอง ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้สมองส่วนที่ทําหน้าที่จํานั้น จํานวนเซลล์เนื้อเยื่อสมองของคนติดเหล้าน้อยกว่าของคนที่ไม่ติดเหล้า 80%
เห็นถึงพิษร้ายของเหล้าอย่างนี้แล้ว.... เรามาดูวิธีเลิกเหล้ากันค่ะ
10 วิธีเลิกเหล้า
1. ตั้งใจจริง การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม
2. ตั้งเป้าว่าจะเลิกเหล้าเพื่อใคร เพราะเหตุใด เช่น เพื่อพ่อแม่…เพราะการดื่มเหล้าของเราทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจเพื่อตัวเอง… จะได้มีสุขภาพดีแถมมีเงินเก็บมากขึ้น เพื่อลูกและครอบครัว…เพราะเหล้า เข้าปากทีไร เป็นต้องทะเลาะกันทุกที ถ้าเลิกเหล้าก็คงทะเลาะกันน้อยลงครอบครัวจะได้มีความสุข มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น…เป็นต้น
3. หยุดทันที! คนที่มีแนวคิดว่าเพียงแค่ดื่มเพื่อความสนุกสนานหรือต้องการเข้าสังคม เมื่อตั้งใจที่จะเลิกเหล้า ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ และหยุดดื่มทันที
4. ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่ม สำหรับคนที่เคยดื่มเหล้าเป็นประจำอาจเลิกทันทีได้ยาก ให้ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจช่วยให้ดื่มเหล้าน้อยลงได้ เช่น ดื่ม เหล้าพร้อมกับการรับประทานอาหาร หรือ หมั่นดื่มน้ำเปล่าควบคู่ไปด้วยระหว่างการดื่มเหล้า เปลี่ยนขนาดของแก้ว จากแก้วใหญ่เป็นแก้วเล็กดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าทดแทนไปก่อนใน ระยะแรก
5. ตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณการดื่ม เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 8 แก้ว ก็อาจจะลดปริมาณการดื่มลงไปเรื่อยๆ จนเหลือวันละ 1 แก้ว และไม่ดื่มเลยแม้แต่แก้วเดียวในที่สุด
6. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ความเสี่ยงในที่นี้คือ สถานการณ์หรือสถานที่ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราดื่มเหล้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ช่วงเวลาหลังเลิกงาน วันเงินเดือนออก วาระหรือโอกาสพิเศษต่างๆ การไปเที่ยวผับหรือร้านอาหาร สถานบันเทิง การชักชวนจากกลุ่มเพื่อนที่ดื่มจัด รวมถึงสาเหตุต่างๆ ที่นำไปสู่อาการเหน็ดเหนื่อย ทดท้อ เหงา เศร้า เครียด ฯลฯ
7. เมื่อมีเวลาว่าง ให้ทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์แทนการดื่มสังสรรค์ ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพหลังเลิกงาน เช่น ออกกำลังกาย – เล่นกีฬาฉลองวาระพิเศษต่างๆ ด้วยแนวปฏิบัติแบบใหม่ เช่น ไปทำบุญแทนการดื่มเมื่อรู้สึกเหงา เศร้าหรือเครียด ให้หากิจกรรมสร้างสรรค์และจรรโลงจิตใจทำทันที อาทิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมภาพยนตร์ ตลอดจน เล่นกีฬา ฯลฯ
8. ฝึกปฏิเสธให้เด็ดขาด เช่น ถ้าเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่ม ให้บอกเค้าไปว่า ” หมอห้ามดื่ม , ไม่ว่างต้องไปทำธุระ ฯลฯ…”
9. หาที่พึ่งทางใจรวมถึงหากำลังใจจากคนรอบข้าง เช่น พ่อแม่ คนรัก ลูก หรือเพื่อนสนิท ที่สามารถปรึกษาหารือให้คำแนะนำดีๆ แก่เราได้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเราต้องการ นอกจากนี้การพูดคุยหรืออ่านประสบการณ์ของคนที่เลิกเหล้าสำเร็จ ก่อนจะพบกับความสวยงามของชีวิตย่อมช่วยสร้างกำลังใจให้กับเราได้มากอย่างทีเดียว
10.ปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือ หากไม่สามารถเลิกเหล้าด้วยตัวเองควรปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือดังต่อไปนี้
สายด่วนยาเสพติด สถานธัญรักษ์ กรมการแพทย์ โทร: 1165
สายด่วนเลิกเหล้า ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา โทร: 1413
โรงพยาบาลและสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- saintseiyathaifanclub.com
- https://th.wikipedia.org/สุรา
-
4749 มางดเหล้า เข้าพรรษากันเถอะ !! /article-science/item/4749-2015-07-27-07-10-26เพิ่มในรายการโปรด