ฝัน ( Dream )
ฝัน ( Dream )
“ทำไมเราจึงฝัน?”
อย่าลืมว่าแม้ร่างกายเราจะกำลังนอนหลับพักผ่อน แต่สมองไม่ได้ปิดตัวเองไปด้วย มันยังคงทำหน้าที่ดูแลระบบสารเคมีต่างๆ เซลล์ประสาทยังคงทำงานแม้เราจะหลับไปแล้วก็ตาม โดยมีสมองส่วนในรักษาข้อมูลความจำ และส่งข้อมูลในรูปคลื่นสมองไปยังสมองใหญ่ ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วจะกล่าวว่าขณะที่เราหลับ เรามีการฝันตลอดเวลาก็ว่าได้ เพราะสมองยังคงมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่หากว่าเราจำได้บ้าง หรือไม่ได้บ้างเท่านั้นเอง
ฝันมักเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM เป็นหลัก เมื่อกิจกรรมของสมองเพิ่มสูงขึ้นเสมือนว่ากำลังตื่นอยู่ การหลับระยะ REM สามารถบอกได้จากการกลอกไปมาของลูกตาขณะหลับ ทั้งนี้ ฝันสามารถเกิดได้ในการหลับขั้นอื่น แต่ฝันเหล่านั้นมีแนวโน้มสมจริงหรือผู้ฝันจำได้น้อยกว่ามาก
สำหรับนักจิตวิทยาสมัยใหม่ ที่ศึกษาขบวนการการเกิดความฝันของคน มองว่าความฝันนั้น เป็นหนึ่งในกลไกทางจิต เพื่อปลดปล่อยความกลัดกลุ่ม และความตึงเครียดภายในจิตใจ ดังนั้นเมื่อเกิดการฝันขึ้น จะทำให้สภาพจิตใจรู้สึกผ่อนคลายลง โดยระบุถึงสาเหตุที่ทำให้คนเราฝัน ได้แก่
1.)ฝันที่มาจากความเจ็บปวด
เมื่อสภาพจิตใจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้ภาวะจิตใจในขณะนั้นกระตุ้นให้เกิดความฝันที่ยังหมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2.)ฝันจากเรื่องค้างคาใจ
การใช้ชีวิตประจำวัน หากการกระทำบางอย่างยังไม่บรรลุผลหรือประสบความสำเร็จ จึงทำให้เกิดความคิดที่ยังคงติดอยู่กับเหตุการณ์เหล่านั้น ฝันลักษรนะนี้ช่วยแก้ปัญหาที่คาใจได้
3.)ฝันอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต
บางความทรงจำที่อาจจะลืมไปแล้ว แต่เมื่อพบเจอเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ก็สามารถกระตุ้นให้เรานำกลับมาเป็นความฝันลักษณะนี้ได้เช่นกัน
...นอกจากนี้ ก็ยังมีการศึกษาความฝันในแง่อื่นๆอีกมากมาย เช่น
ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวเยอรมัน ผู้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยา เชื่อว่าความฝันเป็นความปรารถนาลึกๆ ภายในจิตใจของมนุษย์ มักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวที่คนเราอยากจะทำเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เช่น เรื่องความรุนแรงทางเพศ หรือการคุกคามทางเพศ เป็นต้น ดังนั้นจิตใต้สำนึกจึงเก็บรวบรวมความปรารถนาเหล่านี้เอาไว้และแสดงออกมาในรูปแแบบของจินตนาการในความฝันขณะนอนหลับแทน “เราจึงมักจะฝันเรื่องที่ไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้”
สิ่งที่มีอิทธิพล กับความฝัน (Influence)
• สภาพจิตใจ
• การแพ้อาหาร บางชนิด การแพ้ยาบางชนิด
• เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ปริมาณมาก ซึ่งรบกวน การนอนหลับ อย่างสงบ ก็ส่งอิทธิพล กับความฝัน เช่นกัน
• การเจ็บไข้ได้ป่วย บ่อยครั้ง ที่ร่างกาย ส่งสัญญานมา ให้เรารับรู้ ทางความฝัน ก่อนที่ อาการเจ็บป่วยนั้นๆ จะปรากฏ จริงๆ ด้วยซ้ำ
• สภาพแวดล้อม ของห้องนอน เช่น ความร้อน / หนาว ความมืด / สว่าง เสียงที่รบกวน ซึ่งล้วน สร้างความกดดัน ให้แก่ร่างกาย และจิตใจ ก็อาจ สะท้อนออกมา ในความฝันได้
• การมีรอบเดือน จะมีอิทธิพลกับ ความฝัน ของผู้หญิงบางคน
ทิศทางของที่นอน บางคนแนะนำว่า ถ้าคุณหันหัวนอน ไปทาง ขั้วแม่เหล็กโลก ขั้วเหนือ (North Pole) เพื่อให้ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในร่างกายเรา สอดคล้องกับ สนามแม่เหล็กโลก ซึ่งจะทำให้ เรามี ความกลมกลืนกับ พลังงาน ตามธรรมชาติ ช่วยให้หลับสนิท และฝันได้ชัดเจนด้วย
อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีฝันในลักษณะอื่นๆอีก ที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น บ้างครั้งก็อาจเกิดจากสภาวะแวดล้อม เช่น อากาศที่ร้อน , ฝนตก , นอนตกเตียง เป็นต้น ซึ่งนักวิจัยทั่วโลกก็ยังคงให้การศึกษากระบวนการการทำงานขงสมอง กับสภาพจิตใจเพื่อจะตีความหมายของความฝันออกมาในทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นอยู่เรื่อยๆ
เนื้อหาจาก
"Dream". The American Heritage Dictionary of the English Language, Fourth Edition. 2000
Ann, Lee (2005-01-27). "HowStuffWorks "Dreams and REM Sleep"". Science.howstuffworks.com
http://www.thaiclinic.com/thaiclinicnews/news_dream.html
http://www.sci-tech-service.com/article/healthy/dream.htm
http://science.spokedark.tv/2013/02/28/dream/
http://www.payakorn.com/dream_main.php?id=28
http://health.kapook.com/view68452.html
ภาพจาก
http://pastors.com/kind-church-dream/
http://www.slideshare.net/pearpress/brain-rule-7-sleep
http://www.technocrazed.com/parents-make-the-sleep-of-their-babies-an-extraordinary-adventure-photo-gallery
-
6655 ฝัน ( Dream ) /article-science/item/6655-dreamเพิ่มในรายการโปรด