ไขมันพอกตับ ป้องกันไว้ก่อนที่จะสาย
ตับ โรงงานขนาดใหญ่ในร่างกายของคุณ โรงงานที่ว่านี้มีหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกาย และเป็นแหล่งสังเคราะห์พลังงานต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ หากคุณมีภาวะที่กำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ อาจเป็นอาการการบ่งบอกได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่ในร่างกายของคุณกำลังจะถูกทำลาย มาอ่านบทความนี้เพื่อเป็นความรู้เป็นแนวทางป้องกันให้โรงงานนี้อยู่คู่กับคุณไปอีกนาน ๆ เพื่อชีวิตที่ยาวนานและมีความสุขของคุณเช่นเดียวกัน
ภาพ ตับ
ที่มา https://pixabay.com/ , LillyCantabile
โปรดสังเกตความผิดปกติในร่างกายของคุณ ว่าพบอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า
- อาการการอ่อนเพลีย หมดแรง เหนื่อยง่าย
- อึดอัดไม่สบายท้อง
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดผิดปกติ
- คลื่นไส้ เวียนหัว
- ไม่มีสมาธิ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
- เจ็บท้องช่วงบริเวณที่อยู่ของตับ
ถ้าคุณพบว่าร่างกายของคุณกำลังประสบปัญหากับอาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มีแนวโน้มความเป็นไปได้ ที่คุณกำลังลังเผชิญสภาวะอาการไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease)
เป็นภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกอยู่ภายในเซลล์ตับ โดยสะสมอยู่ในตับคิดเป็นปริมาณมากกว่า 5 – 10 % ของตับ ซึ่งอาจส่งผลต่อความผิดปกติของตับได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนไปถึงขั้นรุนแรงได้
- ตับอักเสบ
- ตับโต
- เซลล์ตับตาย
- เป็นพังผืดภายในตับ
- ตับแข็ง
- เกิดพิษในเซลล์ตับ
อาการแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมา
- มีน้ำในช่องท้อง
- เส้นเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง
- มึนงง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ซึ่งส่งผลถึงสมอง
- ตับวายหรือตับหยุดการทำงาน
- มะเร็งตับ
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากอาการไขมันพอกตับ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- มีโรคประจำตัวเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
- การติดเชื้อจากไวรัส เช่น เชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบซี
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- การลดน้ำหนัก การอดอาหาร การออกกำลัง อย่างผิดวิธี
- การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
- การทานอาหารหารให้พลังงานสูงมากเกินไป
- ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่นจากพืชผัก ผลไม้ ยาฆ่าแมลง
- ผลข้างเคียงจากการกินยารักษาโรค เช่น ยาเคมีบำบัด ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัส ยาต้านฮอร์โมน ยาพาราเซตามอล เป็นต้น
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ความผิดปกติของลำไส้ในการดูดซึมสารอาหาร
แนวทางป้องกันโรคไขมันพอกตับ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำหนัก
- ออกกำลังกายให้พอเหมาะ ไม่มากและน้อยเกินไป
- ควบคุมอาหารชนิดที่ทำให้เกิดความเสี่ยง เช่น คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
- ระมัดระวังเรื่องการทานยา ควรทานยาตามการควบคุมของแพทย์
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ได้จัดหาและสรุปมาให้อ่านกันเป็นข้อมูลสำหรับการป้องกันเบื้องต้น ยังมีรายละเอียดและคำแนะนำอีกมากมาย สามารถติดตามอ่านกันได้ตามแหล่งที่มาที่ให้ไว้ด้านล่าง
แหล่งที่มา
ไขมันพอกตับ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561, จาก https://www.pobpad.com/ไขมันพอกตับ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์. ไขมันพอกตับ (Fatty liver). สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561, จาก http://haamor.com/th/ไขมันพอกตับ/
Liane Rabinowich and Oren Shibolet . . Drug Induced Steatohepatitis: An Uncommon Culprit of a Common Disease. Retrieved April 23, 2018, from https://www.hindawi.com/journals/bmri/2015/168905/
-
8483 ไขมันพอกตับ ป้องกันไว้ก่อนที่จะสาย /article-science/item/8483-2018-07-18-04-16-59เพิ่มในรายการโปรด