จุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์กับรากฐานของการพัฒนาประเทศ
คุณคิดว่าอะไรคือปัจจัยในการพัฒนาประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจของไทย ซึ่งเราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศที่เรียกได้ว่ามีการพัฒนาจำเป็นต้องเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรฐกิจที่ดี อาจกล่าวได้ว่า การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศก็ว่าได้ แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจของประเทศก็ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจมีความเพื่องฟูจนทำให้เกิดการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจัยสำคัญหนึ่งนั้นก็คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาพ รองอำมาตย์เอก เภสัชกร ตั้ว ลพานุกรม หรือ ดร.ตั้ว ลพานุกรม
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ตั้ว_ลพานุกรม , https://pixabay.com, Clker-Free-Vector-Images
เราอาจเห็นได้จากระยะเวลาที่ผ่านมา การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ มุ่งเน้นสร้างของประเทศ ศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรทางการวิจัย โดยมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของประเทศ การพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขัน พื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology : S&T) ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจะขาดเสียไม่ได้ ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตั้งแต่อดีต ดร.ตั้ว ลพานุกรม ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศไทย มีความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นฐานรองรับความก้าวหน้าของประเทศ ผ่านระบบเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งท่านผู้นี้เองเป็นผู้สร้างแนวคิดและวางราฐานที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าในด้านเศรฐกิจและสังคมนำหน้าประเทศในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จะเห็นได้ว่าแนววิธีการพัฒนาประเทศตังแต่ในอดีตสมัย ดร.ตั้ว ลพานุกรม จนถึงปัจจุบัน เราให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะเป็นการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่จะมีผลในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตในประเทศอย่างที่กล่าวไป
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรกรรม เช่น เถ้าไม้ไผ่ในการทำปุ๋ย น้ำมันสน น้ำมันหมู เกลือ การวิเคราะห์ดิน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร เช่นการส่งเสริมอาหารและกิจการอาหาร การถนอมอาหารและการส่งออก เช่น ถั่วเหลือง นอกจากนี้ ดร.ตั้ว ลพานุกรม ยังเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สำคัญเช่น การปรับปรุงห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์ งานนิติเคมี สร้างโรงงานเภสัชกรรม ตั้งกรมอุตสาหกรรมเคมี ตั้งสถานศึกษาเคมีปฏิบัติการ รวมไปถึงผลงานวิชาการอีกมากมาย เช่น การเขียนบทความภาษาไทยในหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ เช่น ข้าวขุยไผ่ ถั่วเหลือง งานเภสัชกรรม ถ่านหินแมนจู นิมิตของการก้าวหน้า พลเมืองไทยและความจำเป็นทางอาหาร ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์กับการเมืองวิทยาศาสตร์กับความต้องการของประเทศ วิทยาศาสตร์กับอุตสาหกรรมและสมุนไพรในบ้านเรา และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ “Siam Science Bulletin” เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นรากฐานก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างมาก มีการผลิตและการจ้างงานจนส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในชาติให้ดีขึ้นอย่างถ้วนหน้า
แหล่งที่มา
ธัญลักษณ์ ยะสะกะ. วิทยาศาสตร์เป็นรากฐานแห่งการก้าวหน้าของประชาชาติ .สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2552_57_179_P5_7.pdf
การพัฒนาประเทศไทยและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก https://www.m-culture.go.th/it/files/396/file/planthai/2.pdf
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : พื้นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_67.html
-
8660 จุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์กับรากฐานของการพัฒนาประเทศ /article-science/item/8660-2018-09-11-07-58-40เพิ่มในรายการโปรด