การสอนวิทย์แบบสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เครือข่าย P21 ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้น
ภาพที่ 1 ห้องเรียนขนาดใหญ่
ที่มา https://pixabay.com , nikolayhg
โดยที่การศึกษาได้ก้าวหน้า และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ รูปแบบการเรียนรู้ก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยผู้เรียนจะมีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย มองเห็นปัญหาเป็นโจทย์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ไข ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ 3R8C โดยอย่างแรก คือ 3R คือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียนทุกคนมีดังนี้
-
Reading คือ สามารถอ่านออก
-
(W) Riting คือ สามารถเขียนได้
-
(A) Rithmatic คือ มีทักษะในการคำนวณ
และอีกอย่างที่สำคัญ คือ 8C ซึ่งเป็นทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นเช่นกัน ซึ่งทุกทักษะสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกวิชา ดังนี้
-
Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้
-
Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
-
Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
-
Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
-
Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
-
Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
-
Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
-
Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย
ทักษะทั้งหมดเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในสมัยก่อน ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 2 การเรียนนอกห้องนอกเรียนเพื่อระดมความคิดอย่างอิสระของผู้เรียน
ที่มา วรางรัตน์ เสนาสิงห์
จากการสรุปของ ดร.วีรพงษ์ ศรัทธาผล ซึ่งมีความสอดคล้องและกันหลายประเด็นของทั้งผู้สอนและผู้เรียน เมื่อพิจารณาการจัดเรียนการสอนในหลายทศวรรษที่ผ่านมา พบว่าไม่เพียงแต่รูปแบบและวิธีการในการเรียนการสอนในปัจจุบันมีความแตกต่างกับการจัดเรียนการสอนในอดีตเท่านั้น แต่ยังพบว่าตัวผู้เรียนเองก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างดังกล่าว โดยความแตกต่างที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนในปัจจุบันเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามหนึ่งในประเด็นที่ผู้สอนไม่ควรมองข้ามคือการพยามทำความเข้าใจกับบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม ทั้งจากมุมมองของตัวผู้สอนและจากมุมมองของผู้เรียน การพยามทำความเข้าใจความต้องการของผู้เรียนจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้สอนควรนำมาพิจารณาเป็นลำดับแรกในการพัฒนาการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวดังเช่นในอดีตที่เน้นการบรรยายเป็นหลัก แต่กลับเป็นการเรียนรู้และการพัฒนาร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างความสุข มีทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็น และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ประโยชน์ได้จริง
แหล่งที่มา
จับจ่าย for school. (2560, 20 ตุลาคม). นักเรียนยุคใหม่…กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.jabjai.school/บทความ/นักเรียนยุคใหม่_กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21.html
บำรุง เฉียบแหลม. (2557, 13 ตุลาคม). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จาก
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research
วีรพงษ์ ศรัทธาผล. (2561, 23 กรกฎาคม). “การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21”. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จาก http://agro-industry.mfu.ac.th/events/744
-
9607 การสอนวิทย์แบบสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 /article-science/item/9607-21-9607เพิ่มในรายการโปรด