ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้
จิลล์ วัตสัน (Jill Watson) ผู้ช่วยสอน ที่อาจารย์อะชอค เค. โกเอล (Ashok K. Goel) จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกาสร้างขึ้น จิลล์ เป็นบอร์ดข้อความออนไลน์ที่สามารถพูดคุยตอบโต้ตอบกับผู้เรียนได้เช่นเดียวกับมนุษย์ จิลล์จะคอยช่วยตอบคำถามให้กับผู้เรียนในรายวิชาที่สอน เช่น อย่างงานนี้ส่งวันไหน วันเวลาทำงานของอาจารย์โกเอล ซึ่งล้วนแต่เป็นคำถามที่มีคำตอบตายตัวชัดเจนที่ช่วยลดภาระของผู้สอนได้ โดยโกเอลนั้นใช้จิลล์กับห้องเรียนที่มีผู้เรียนถึง 400 คน และผู้เรียนแทบจะไม่รู้เลยว่าจิลล์ที่โต้ตอบกับตัวเองมาทั้งเทอมนั้นเป็น ปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช้ผู้ช่วยสอนปกติเหมือนคนอื่น ๆ จิลล์สามารถสื่อสารได้อย่างแม่นยำมากที่สุดตอบคำถามในชั้นเรียนกว่า 40,000 ชุด
ภาพสื่อความหมายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์
ที่มา https://pixabay.com, TheDigitalArtist
ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ เป้าหมายหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ คือ การสร้างโปรแกรมที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ไม่เพียงแต่เข้าใจที่จะสื่อสารได้ ภาษาธรรมชาติซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงความฉลาดของมนุษย์แต่ยังสร้างความสำเร็จในการเพิ่มความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วยช่วยส่งเสริมศักยภาพที่จะสนับสนุนการศึกษาของนักเรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะ แก่ผู้สอน นอกจากนี้ ปัญญาประดิษฐ์ สามารถให้ความช่วยเหลือครู และปิดช่องว่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถอำนวยความสะดวกเชิงลึกวิเคราะห์จากการบ้านเพื่อให้ ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาให้นักเรียน อีกทั้งยังสามารถสร้างตำราปรับเพิ่มเนื้อหาตามความชำนาญของผู้เรียน
การเรียนการสอนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน และเนื้อหาทางการเรียนให้เหมาะกับความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน นอกจากนี้ยัง ช่วยเหลือผู้เรียนในการจัดสื่อเพื่อการเรียนรู้ ติดตามและประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยความสามารถ ทางปัญญาประดิษฐ์ การจัดการเรียนรู้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ นับว่ามีประโยชน์หลายอย่างทีเดียว เพราะปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนวิธีเรียน และ เปลี่ยนวิธีสอน บางอย่างที่แม้อาจจะยังไม่เห็นในระบบการศึกษาของประเทศไทย มีการคาดการณ์กันว่า การใช้ ปัญญาประดิษฐ์ ในกิจกรรมทางการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 จนกระทั่งถึงปี 2021 ผลกระทบเชิงบวกของ ปัญญาประดิษฐ์ จะปรากฏให้เห็นตั้งแต่การเรียนรู้ของผู้เรียน ชั้นปฐมวัยจนถึงการศึกษาขั้นสูง ทั้งจะมีการสร้างสรรค์เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้อีกหลายอย่าง และบางอย่างจะสามารถปรับให้เข้ากับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ (Personalized Tool) เพื่อให้ได้ผลด้านการเรียนสูงสุด
ปัญญาประดิษฐ์จะช่วยผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ดังนี้
-
ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการเรียนรู้ ช่วยลดเวลาทำงานซ้ำ ๆ สำหรับคุณครู เช่น การตรวจการบ้าน ให้คะแนน และให้คำปรึกษาแก่นักเรียน ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ผู้สอนมีเวลาไปให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวกับนักเรียนมาก
-
ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยครูสร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับสอน ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหาการสอน ที่ใช้ไวยากรณ์ถูกต้องได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อเทียบกับครูที่เป็นมนุษย์ปกติ อีกทั้งยังช่วยทำหนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะแก่นักเรียนในช่วงอายุต่าง ๆ การพัฒนาของปัญญาประดิษฐ์ทำให้มีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้นักเรียนไม่ต้องเดินทางมาถึงห้องเรียน เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนก็สามารถเรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา
-
ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยเป็นติวเตอร์ประสิทธิภาพสูง มีความสามารถช่วยติวนักเรียนโดยคำนึงถึงปัญหาของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ ช่วยลดข้อจำกัดหลายอย่างในการไปติวหรือขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของเด็กๆ แต่ละคน
-
ปัญญาประดิษฐ์ เป็นผู้สอนเสมือนจริง
ในอนาคตผู้สอนที่ยืนบรรยายอยู่หน้าห้อง อาจไม่ใช่มนุษย์อาจจะเป็นหุ่นยนต์ก็ให้ความรู้ได้ไม่ต่างจากคน และอาจารย์ที่เป็นคนจริง ๆ ต่างหาก ที่กำลังถูกท้าทายให้ต้องรีบปรับตัว หลายมหาวิทยาลัยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและเครื่องมือเสมือนจริง (Visual Environments and Platforms) ที่ชาญฉลาดโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เช่น ระบบการเรียนรู้เสมือนจริง เกมเสมือนจริง (Virtual Game) และคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าวสำหรับใช้ในการเรียน
สื่อการสอนปัญญาประดิษฐ์ สำหรับผู้สอน และผู้สนใจในการเรียนรู้หลักการพื้นฐานด้าน ปัญญาประดิษฐ์ โดยการทดลองใช้งานจากเครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่
-
Audio and Video ปัญญาประดิษฐ์ เว็บไซต์ https://vi.microsoft.com/ เครื่องมือสร้างดัชนีวิดีโอสร้างจากเทคโนโลยีสื่อปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ง่ายต่อการดึงข้อมูลเชิงลึกจากวิดีโอ การค้นพบเนื้อหารูปแบบใหม่ เช่นการค้นหาคำพูดใบหน้าตัวละครและอารมณ์ กับแอพพลิเคชั่นของผู้เรียนและผู้สอนด้วยข้อมูลเชิงลึกวิดีโอที่ฝังไว้เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้
-
MACHINE LEARNING เว็บไซต์ https://www.how-old.net/ เครื่องมือในการวิเคราะห์อายุ ด้วยใบหน้า
-
ปัญญาประดิษฐ์ Pix2Story bot เว็บไซต์ https://pix2story.azurewebsites.net/ ปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่ผู้เรียนและผู้สอนต้องการ ผลงานของนักเล่าเรื่องมีความคิดสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ เรียนรู้คำศัพท์จากการเล่าเรื่อง
-
Creating Art with ปัญญาประดิษฐ์ เว็บไซต์ https://styletransfers.azurewebsites.net/ การสร้างรูปศิลปะ โดยการอัพโหลดภาพ หรือถ่ายภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์
-
Seeing ปัญญาประดิษฐ์ เว็บไซต์ https://www.microsoft.com/en-us/ai/seeing-ai แอปพลิเคชันหนึ่งพี่พัฒนาสำหรับคนตาบอดโดยเฉพาะ ที่จะช่วยให้คนตาบอด สามารถรับรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ เพียงแค่ใช้กล้องสมาร์ตโฟนจับภาพคนหรือสิ่งของที่ต้องการทราบ แอปพลิเคชันจะประมวลผล และอธิบายลักษณะหรือข้อความนั้นออกในรูปแแบบของเสียง
- DrawingBot เว็บไซต์ https://drawingbot.azurewebsites.net/ ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างภาพตามคำอธิบายเป็นข้อความของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกระบวนการขั้นสุดท้าย โดยให้ปัญญาประดิษฐ์วาดรูปให้
- CaptionBot เว็บไซต์ https://www.captionbot.ai/ เป็นเครื่องมืออธิบายรูปภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ ในการอธิบายรูปภาพจาการอัปโหลดรูปภาพจาก CaptionBot
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนการสอน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในด้านต่าง ๆ ทั้งช่วยผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ และผู้เรียนในการเรียนรู้ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ของตนเองให้หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งช่วยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และช่วยในการตอบคำถามต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน
แหล่งที่มา
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ. (2561). Master AI คุณครูปัญญาประดิษฐ์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562, จาก https://waymagazine.org/classroom_33/?fbclid=IwAR3T-v- e2JJCrjv9sMHH9VmlKEMNw4XEQXlw9aQWqKg3imiZ691o0HNXkik.
แซม มอร์ริส. (2016). AI มีคำตอบสำหรับความท้าทายด้านการศึกษา สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562, จาก http://lenovoeducation.com/ai-offers-answers-educational-challenges/?lang=th.
บริษัท Microsoft. (2562). CaptionBot . สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562, จากhttps://www.captionbot.ai/.
บริษัท Microsoft. (2562). DrawingBot . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562, จาก https://drawingbot.azurewebsites.net/.
บริษัท Microsoft. (2562). How-Old. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562, จาก https://www.how-old.net/.
บริษัท Microsoft. (2562). Unlock video insights. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562, จาก https://vi.microsoft.com/en-us/.
วิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2557, มิถุนายน). ระบบการสอนเสริมอัจฉริยะ: นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่
Suranaree J. Soc. Sci. 7 (1), 101-117).
TCDC (2561, 2 สิงหาคม ). เมื่อ AI เปลี่ยนโฉมหน้าวงการการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562,
จาก https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/เมื่อ-AI-เปลี่ยนโฉมหน้าวงการการศึกษา.
Thaifintech. (2561, 7 กันยายน). AI ด้านการศึกษา ครูยุคดิจิทัลอาจมี AI เป็นผู้ช่วยคนใหม่. สืบค้นเมื่อ 2
เมษายน 2562, จาก http://www.thaifintech.com/2018/09/07/ai-in-future-education/.
-
10110 ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้ /article-technology/item/10110-ai-10110เพิ่มในรายการโปรด