มุมมองเพื่อการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนา Open Educational Resources ในสถาบันการศึกษา
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาตลอดจนหน่วยงานทางด้านการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจ และเริ่มมีการพัฒนาทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด หรือที่คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับคำย่อที่เรียกว่า 0ER ซึ่งเป็นการเปิดเผยแหล่งความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือเรียน วีดิทัศน์ และสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายเพื่อการศึกษามิได้มุ่งหวังเพื่อการค้า ดังนั้น จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า "เปิด" ในมุมมองของทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิดใน 4 ด้าน (Geser, 2007) ดังนี้
1. Open access หมายถึง การเปิดเผยเนื้อหา สื่อการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของเนื้อหาหรือสื่อการเรียนรู้ที่เผยแพร่ (metadata ซึ่งเป็นการเผยแพร่ที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เข้าใช้งาน
2. Open licensed หมายถึง การอนุญาตให้มีการนำเนื้อหามาใช้งานได้ฟรี โดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อจำกัดรวมทั้งการอนุญาตให้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาได้
3. Open format หมายถึง การออกแบบและพัฒนา สื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถรองรับการใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการหรือในทุกอุปกรณ์ รวมทั้งออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายต่อการใช้งาน Open software หมายถึง กรพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ด้วยซอฟต์แวร์ที่มีการอนุญาตให้ผู้พัฒนาสามารถแก้ไข และเผยแพร่ได้โดยปราศจากเงื่อนไข
ทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด จึงเป็นระบบที่ถูกพัฒนาและนำไปใช้งานในสถาบันทางการศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา (Helsdingen, Janssen, & Schuwer, 2010) ดังนี้
1. เพื่อเพิ่มชื่อเสียงหรือจุดขายให้เกิดขึ้กับสถาบันทงการศึกษาหรือหน่วยงาน ซึ่งช่วยในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ ตลอดจนนักวิจัย ให้มาสนใจในสถาบันทางการศึกษาหรือหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความร่วมมือระหว่างสถาบันทางการศึกษาหรือหน่วยงานในการสร้างทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิด
2. เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ ตลอดจนนักวิจัย ที่จะใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการสืบคั้นข้อมูล อีกทั้งยังเป็นการแบ่งปันข้อมูลระหว่างสถาบันทางการศึกษาหรือหน่วยงาน
3. เพื่อเพิ่มคุณภาพของการศึกษาให้เกิดแก่นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ ลอดจนนักวิจัย เนื่องจากทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิดนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ส่งเสริมนวัตกรรมการสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้อีกทั้งยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการกระจายและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกัน และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปต่อยอดเพื่อพัฒนานวัตกรรม
4. เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ ซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจให้สามารถข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิธีการสอนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นการเรียนรู้แบบเปิด
จะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายของทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิดข้างต้น จะมีการเน้นการเผยแพร่ระบบและการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย อีกทั้งยังเน้นหนักในเรื่องของการแบ่งปันข้อมูลอย่างยั่งยืน เพื่อให้กลายเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มโอกาสของการเรียนรู้ โดยไม่ได้เน้นการสร้างผลกำไรหรือรายได้ หากแต่เป็นการเน้นสร้างทางเลือกใหม่ทางด้านการศึกษาที่ตอบสนองกรศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา ดังนั้นการพัฒนา OERให้ตอบโจทย์กับจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานั้น จึงมีผู้ที่คิดและนำศาสตร์ทางด้านการบริหารจัดการเข้ามาช่วยเพื่อพัฒนา OER ให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย และยังเป็นการช่วยเพิ่มชื่อเสียงหรือจุดขายให้เกิดขึ้นกับสถาบันทางการศึกษาหรือหน่วยงาน โดยการนำมาใช้กำหนดและทำความเข้าใจใน OER ที่แต่ละหน่วยงานจะพัฒนาขึ้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างการพัฒนา OER ให้มีคุณภาพ มีความยั่งยืน และยังสอดคล้องกับข้อแนะนำที่ปรากฏในปฏิญญากรุงปารีสด้านแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด พ.ศ. 2555 (UNESCO. 2012) ข้อหนึ่งที่ว่า"เสริมสร้างการพัฒนากลยุทธ์และนโยบายแหล่งข้อมูลทางการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources: OER)" โดยเป็นการส่งสริมกรพัฒนานโยบายที่เฉพะเจาะจงสำหรับกรผลิตและการใช้ OER ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย เพื่อยกระดับการศึกษา ดังตัวอย่างงานวิจัยต่อไปนี้
1. Business Models in OER, a Contingency Approach (Helsdingen et al. 2010) บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่พบและตอบข้อคำถามที่ว่า จะพัฒนา 0ER ให้เกิดความสำเร็จได้อย่างไร ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยด้วยการวิเคราะห์ Business model ของ Osterwalder & Pigneur (Osterwalder & Pigneur, 2009) พบว่ามี 2 กลุ่มดังรายละเอียดต่อไปนี้
- กลุ่มที่ 1 จะมุ่งเน้นที่การเผยแพร่เนื้อหาในระบบ OER ผ่านทางเว็บไซ เพื่อให้บริการแก่นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาโดยผู้พัฒนาในกลุ่มที่ 1 จะไม่มีการตั้งเป้าหมายหรือวางแผนให้ OER เป็นตัวหลักของแผนทางธุรกิจ แต่จะให้ OER มีบทบาทแค่เพียงส่วนเสริมจากการดำเนินงานปกติเท่านั้น โดยสื่อการเรียนรู้ที่ปรากฎในระบบ OER ของกลุ่มที่ 1 จะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบสื่อการเรียนรู้ปกติให้อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัล บางครั้งก็อาจปรับบางส่วนของสื่อการเรียนรู้เดิมแต่ยังไม่ได้มีการระบุกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ อีกทั้งรูปแบบการเรียนรู้ของกลุ่มนี้ยังไม่มีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมกัน และยังไม่มีการส่งเสริมหรือประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ป้าหมายของการพัฒนา OER ในกลุ่มที่ 1 ก็เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้หน่วยงานและการเป็นแหล่งแบ่งปันข้อมูลที่จะมาช่วยเสริมสำหรับนักเรียน นักศึกษาและนักวิจัย เพื่อให้การศึกษาหรือการวิจัยมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับรายได้ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบนี้ มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมของหน่วยงานหรือสถาบันเองซึ่งการพัฒนา OER ในรูปแบบของกลุ่มที่ 1 จึงอาจไม่ประสบความสำเร็จตามที่ผู้พัฒนาตั้งเป้าหมายไว้
- กลุ่มที่ 2 จะมุ่งเน้นที่การพัฒนา OER เพื่อให้บริการแก่กลุ่มชุมชนผู้ใช้งานขนาดใหญ่ โดยในกลุ่มนี้จะมีการวิเคราะห์ Business model ที่จะพิจารณตั้งแต่รูปแบบของเว็บไซต์ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้ของผู้ใช้งานที่จะมีการเข้าระบบมาเพื่อสร้าง แบ่งปัน และค้นหาทรัพยากรด้านการศึกษา ซึ่งเป้าหมายหลักของกลุ่มนี้จะคล้ายกับกลุ่มที่ 1 คือ การสร้างชื่อเสียงให้หน่วยงานและเป็นแหล่งแบ่งปันข้อมูล อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ที่เผยแพร่ในกลุ่มนี้ยังขาดความรู้หลักที่มาจากนักการศึกษา ผู้สอน หรือนักวิจัยอีกจำนวนมากเพราะองค์ความรู้ที่เผยแพร่อยู่นั้นมีความหลากหลาย บางครั้งก็เป็นสื่อดิจิทัลที่สอนเนื้อหาเพียงตอนใดตอนหนึ่งหรือเนื้อหาที่เผยแพร่นั้นยังขาดคุณภาพเนื่องจากไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในส่วนของรายได้ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาและบำรุงรักษระบบ เกิดจากการระดมทุน ค่าธรรมเนียมพื้นฐานของหน่วยงานหรือสถาบัน
2. Positioning the OER Business Model for Open Education (Langen & Bitter-Rjkema, 2012) บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอมุมมองในประเด็นหลัก ๆ 3 ประเด็นดังนี้
- ประเด็นที่ 1 การประยุกต์ใช้กระบวนทัศน์ของ OER โดยพิจารณาจากมุมมองทางธุรกิจไปยังการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้พัฒนา และผู้ใช้งานของทรัพยากรด้านการศึกษา รวมทั้งการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษา นักออกแบบ และผู้ให้บริการในต้านของการให้บริการการเรียนรู้ของทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบโรงเรียน
- ประเด็นที่ 2 การใช้ข้อมูลความสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้จาก Business mode! เพื่อนำไปสู่มุมมองของการพัฒนา OER ให้เกิดความยั่งยืน
- ประเด็นที่ 3 การอธิบายองค์ประกอบที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ Business model ที่เหมาะสมกับ OER เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ OER อย่างยั่งยืน
จากทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่มองในด้านการวิเคราะห์ทาง Business mode! แล้วนั้น ยังมีอีกสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ นั่นก็คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการออกแบบการเรียนรู้ ซึ่งหากมีการวิเคราะห์ร่วมกันแล้วจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาและการใช้งาน OER เกิดความยั่งยืน ดังเช่น De Langen ได้กล่าวไว้ว่า (De Langen, 2011) การพัฒนาและขับเคลื่อน OER ให้ดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืนขึ้นอยู่กับเงินอุดหนุนและของรางวัล ตลอดจนการพัฒนา OER ที่จะมีการมุ่งเน้นในเรื่องของกรนำเสนอความน่าสนใจในส่วนคุณค่าของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่ารูปแบบของระบบ OER แบบเดิมที่มุ่งเน้นรายได้ ดังเช่นคำถามแรกก่อนการพัฒนา OER คือ คุณค่าหรือประโยชน์อันใดที่ทางผู้พัฒนาจะต้องจัดเตรียมให้ครอบคลุมกับผู้ใช้งานทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากคำถามนี้จะนำไปใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับกลุ่มผู้ใช้งานการรวมกลุ่มและการเป็นผู้มีส่วนร่วมผลิต การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมไปจนถึงการเผยแพร่และการควบคุมคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ในระบบ OER อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคำถามอื่น ๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น ประโยชน์และประสิทธิภาพของระบบ OER ความสัมพันธ์ระหว่าง OER กับระดับความรู้ เหตุผลสำหรับผู้เรียนที่จะใช้สื่อการเรียนรู้จาก OER ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเลือกใช้ Business Model ที่เหมาะสมกับการพัฒนา OER ให้เกิดความยั่งยืน
3. Trends in business models for open educational resources and open education (Schuwer & Janssen. 2013) บทความนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแบบเปิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีความต้องการของภาครัฐในการพัฒนา โดยวิธีการวิเคราะห์เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับหน่วยงาน โดยการใช้เครื่องมือ Osterwalder's canvas ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำความเข้าใจในองค์กรของตนเอง และสามรถพัฒนาหรือเลือกรูปแบบธุรกิจของสถาบันการศึกษา รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจอีกด้วย ภายหลังจากการใช้ Osterwalder's canvas วิเคราะห์แล้ว พบประเด็นที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนา OERที่ยั่งยืน 3 ประเด็น ได้แก่
- การพัฒนาโครงการ OER เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ อาจจะมีการใช้ funding model
- การพัฒนา OER ให้มีความอิสระ เพื่อส่งผลต่อการสร้างรายได้ที่จะได้รับ อาจจะมีการใช้ revenue model
- OER เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของสถาบันเพื่อส่งเสริมการศึกษาในอนาคต
ดังนั้นการวิเคราะห์ OER ด้วยเครื่องมือเพื่อหากลยุทธ์และรูปแบบทางธุรกิจ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะพิจารณาและเห็นประโยซน์จากศักยภาพของ 0ER และ MOOCs ที่สถาบันอุดมศึกษาจะพัฒนาขึ้น ดังตัวอย่างการใช้ Osterwalder ในการวิเคราะห์ ดังนี้
ภาพ 1 แสดง Elements of the Business Model Canvas (Osterwalder and Pigneur. 2010)
ที่มา https://www.researchgate.net/figure/Elements-of-the-Business-Model-Canvas-Osterwalder-and-Pigneur-2010_fig1_280291313
ตัวอย่าง openU at the open Universiteit in the Netherlands ภายหลังจากกรวิเคราะห์พบว่า การเพิ่มคุณค่าให้เกิดกับระบบโดยคุณค่าที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้งานที่จะเข้าถึงได้ผ่านทางช่องทางมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่ง features ที่เพิ่มขึ้นอาจจำเป็นต้องมีพิจารณาถึงการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยรายได้เพิ่มเติมอาจมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิก และการขายบริการเสริมสำหรับเนื้อหาหลักสูตรที่มีอยู่
ภาพ 2 แสดงตัวอย่างหน้าจอของเว็บไซต์ 'pen Universiteit in the Netherlands
ที่มา https://www.ou.nl/
ดังนั้นทุกสถาบันการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์กำลังเผชิญกับสิ่งที่เป็นประเด็นนั่นก็คือ วิธีการพัฒนา OER ที่เกิดจากข้อตกลงร่วมกับกระทรวงศึกษา และวิธีการจัดการกับการเพิ่มขึ้นของการแข่งขันอย่างอิสระของการศึกษาผ่านทาง MOOCs ซึ่งจาก 2 ประเด็นที่กล่าวมานี้อาจหมายถึงการกำหนดให้ OER กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และกิจกรรมหลักของแต่ละสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้ง OER และรูปแบบการศึกษาในอนาคตอีกด้วย
จากตัวอย่างงานวิจัยทั้ง 3 รายการข้างต้น มีการกล่าวถึงการวิเคราะห์ Business model ที่เหมาะสมกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษา ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของเครื่องมือการวิเคราะห์ นั่นก็คือ Osterwalder's canvas ตลอดจนการพิจารณาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ Business model ดังที่ Baden-Fuller & Morgan ได้กล่าวว่า (Baden-Fuller& Morgan. 2010) รูปแบบธุรกิจจะมีลักษณะและตอบสนองบทบาทที่เหมาะสมในแต่ละประเภทของงาน โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นผู้พัฒนาระบบ OER ขึ้นมาใหม่จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาสังเกต และเลือกช้ทฤษฎีที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การสร้างแนวคิดทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบ OER เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถคงอยู่และเป็นลูกค้าของระบบ OER ต่อไปอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ Business model มีดังนี้
1. Customer Segments เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ใช้งาน โดยในการระบุกลุ่มเป้าหมายนี้อาจพิจารณาจากพฤติกรรมในการเรียน การเลือกลงทะเบียนเรี่ยน ซึ่งหากมีการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ซัดเจนก็จะส่งผลต่อการวางแนวทางกรจัดการและการหากลยุทธ์เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้งานเหล่านั้นคงอยู่
2. Value Proposition เป็นการกำหนดว่าแหล่งทรัพยากรที่จะทำการจัดเตรียมนั้นจะนำเสนอในรูปแบบใดที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานทั้งผู้ใช้ที่เป็น end user และผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาหลักสูตรรวมทั้งการพิจารณารูปแบบของหลักสูตรซึ่งอาจรวมถึงการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานระบบ OER
3. Customer Relationships เป็นการกำหนดรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีปรากฎใน 2รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่มีผู้ผลิตเนื้อหาเพื่อเผยแพร่สู่ผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว และรูปแบบที่ผู้ใช้งานทุกคนมีส่วนร่วมที่จะสามารถปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาที่เผยแพรได้
4. Channels เป็นการกำหนดช่องทางในการเผยแพร่แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ OER ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บไซต์
5. Revenue Streams เป็นการกำหนดแหล่งรายได้ที่จะนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาและการบำรุงรักษาระบบโดยส่วนใหญ่ OER จะถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรหรือสถาบันการศึกษา ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ต่างมีเงินกองทุนหรือเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
6. Key Resources เป็นการกำหนดแหล่งทรัพยากรหลักต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเนื้อหา ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์รวมทั้งการกำหนดทีมงาน ที่จะช่วยส่งเสริมและขับเคลื่อนให้การพัฒนาระบบ OER เกิดความยั่งยืน
7. Key Activities เป็นการกำหนดกิจกรรมหรือแผ่นการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เช่น การแปลงเนื้อหาไปสู่รูปแบบดิจิทัล การพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม และการสร้างแหล่งชุมชนออนไลน์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
8. Key Partnerships เป็นการกำหนดผู้ร่วมพัฒนาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ซึ่งอาจใช้รูปแบบของการลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหรือสถาบัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนแหล่งทรัพยากรอีกด้วย
9. Cost Structure เป็นการกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาระบบและการเผยแพร่แหล่งทรัพยากรการศึกษา
บทสรุป
แนวทางการพัฒนา Open Educational Resources ที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า OER ที่พัฒนาขึ้นจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อเป็นการสร้างกลยุทธ์ที่เน้นให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถคงอยู่และเป็นลูกค้าของระบบ OER ไปอย่างยั่งยืน นอกจากนี้หากมีการวางกลยุทธ์ที่ดีแล้วจะช่วยเสริมประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาในต้านต่าง ๆ เช่น ช่วยให้ปริมาณผู้เข้าใช้งานหรือผู้สนใจที่จะเข้าศึกษาเพิ่มจำนวนมากขึ้น ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการจัดการและวางแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับตนเอง ช่วยดึงดูดนักศึกษาด้วยระบบ OER ที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มคุณค่าให้เกิดแก่แหล่งทรัพยากรการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ช่วยส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการให้ทรัพยากรทางการศึกษาในรูปแบบ Just-in-Time อีกด้วย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Baden-Fuller, C.. & Morgan, M. S. (2010). Business Models as Models. Long Range Planning, 43(2-3), 156-171.
Baden-Fuller, C.. &Morgan, M. S. Restrieved October 18. 2018. from http://dx.doi.org/10.1016/j.Irp.2010.02.005.
de Langen, F. (2011). There is no business model for open educational resources: a business model approach. Open Learning: The Journal of Open, Distance and e-Learning, 26(3), 209-222. doi:10.1080/02680513.2011.611683
Geser, G. (2007). Open Educational Practioes and Resources. Retrieved October 18, 2018, from http://www.olcos.org/english/roadmap/
Helsdingen, A., Janssen, B.. & Schuwer, S. (2010). Business Models in OER, a Contingency Approach. In Open ED 2010 Proceedings. 3.
Kumar, V. (2009). Open Educational Resources in India's national development. Open Leaming: The Journal of Open, Distance and e-Leamning, 24(1), 77-84. doi:10.1080/02680510802627860
Langen, F. H. T. d.. & Bitter-Rijkema, M. E. (2012). Positioning the OER Business Model for Open Education. European Journal of Open, Distance and E-Learning, n1 2012, 13.
Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2009). Business Model Generation: A handbook for visionaries, game changers and challengers. Amsterdam, The Netherlands: Modderman Drukwerk.
Schaffert, S.. & Geser, G. (2008). Open Educational Resources and Practices. eLearning Papers. 7. 1-10.
Schuwer, R.. &Janssen, B. (2013). Trends in business models for open educational resources and open educaTion. Retrieved October 18. 2018, from http://www.surf.nl/en/publicaties/Documents/Trend%20Report%200ER%202013ENDEF%2007032013%20%28LR%29.pdf
UNESCO. (2012). World Open Educational Resources (OER) Congress. The 2012 Paris OER Declaration. Retrieved October 18.2018. from http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/access-to-knowledge/open-educational-resources/what-is-the-paris-oer-declaration/
-
12432 มุมมองเพื่อการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนา Open Educational Resources ในสถาบันการศึกษา /article-technology/item/12432-open-educational-resourcesเพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง