วีดิโอและหนังสั้น: สื่อทางเลือกในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่หาได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต
วีดิโอและหนังสั้น :
สื่อทางเลือกในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์
ที่หาได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต
สุทธิพงษ์ พงษ์วร
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สื่อประเภทวีดิโอและหนังสั้นซึ่งจัดว่าเป็นสื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและช่วยสื่อที่ใช้ในการกระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งเห็นได้จากการได้รับความนิยมในการใช้เว็บวีดิโออย่าง YouTube.com เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมของสื่อวีดิโอและหนังสั้นอย่าง YouTube.com ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ได้ฟรี นำวีดิโอไปเผยแพร่ได้ฟรี และมีข้อมูลกลุ่มวีดิโอที่หลากหลายมาก จนทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมวีดิโอ หนังสั้นหรือหนังเรื่องยาว 2 ชั่วโมงที่ถูกแบ่งเป็นตอนๆ ตอนละ 9-10 นาที และตัวอย่างภาพยนตร์ในเว็บไซต์แห่งนี้มากถึง 100 ล้านคนต่อวัน และมีการนำวีดิโอเข้ามาใส่ไว้ในเว็บไซต์นี้มากถึง 65,000 วีดิโอต่อวัน เพื่อรอให้มีผู้คนจากทั่วโลกเข้ามาเข้าชม จากจำนวนวีดิโอ หนังสั้น สารคดี ละคร และภาพยนตร์หลากหลายชนิด หลากหลายภาษาใน Youtube.com ทำให้นักการศึกษามีทางเลือกที่จะนำสื่อเหล่านี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กในยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟูได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น หากผู้สอนรู้จักการใช้อินเทอร์เน็ต รู้จักวิธีการคัดลอกไฟล์วีดิโอจากเว็บ YouTube.com มาใช้กับคอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน และรู้จักเลือกที่จะนำสื่อดังกล่าวมาใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ก็จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายและเร็วขึ้นไปกว่าวิธีการสอนแบบเดิมๆ หรือกับการสอนที่ใช้สื่อภาพนิ่งจากแบบเรียน ในขณะที่เรากำลังมีชีวิตอยู่ในยุคของการสื่อสารแบบแทบจะไร้พรมแดน ซึ่งเป็นยุคที่มีการเติบโตของข้อมูลดิจิตอลมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ สื่อดิจิตอลในรูปแบบของเคลื่อนไหวเสมือนจริง จึงได้รับความสนใจและความนิยมจากผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น เพื่อตอบโจทย์ของการพัฒนาการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนที่เติบโตอยู่ในยุคดิจิตอล ซึ่งผู้เรียนชอบที่จะเรียนรู้และซึมซับข้อมูลผ่านสื่อในรูปของภาพและวีดิโอจากโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าที่จะมานั่งอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ และมีจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ตามความสนใจ หรือตามความต้องการของตนเอง (lerner center learning หรือ student center learning) โดยมีเป้าหมายก็เพื่อจะนำมาใช้จริงๆ ในการสื่อสารเฉพาะกลุ่มในเว็บ หรือบล็อกที่สร้างขึ้นมาในสังคมออนไลน์ (social media network) ครูในฐานะผู้สอน (ที่เกิดมาในยุคก่อนดิจิตอล) จึงควรทำการฝึกฝน พัฒนา จัดหาหรือเตรียมสื่อการเรียนการสอนที่ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ตรงกับความต้องการของผู้เรียน และมีความหลากหลายของรูปแบบของการนำมาใช้ อีกทั้งยังต้องนำมาใช้ให้สอดคล้องกับวิธีการสอนรูปแบบต่างๆ ภายในระยะเวลาที่จะใช้ในการ
จัดการเรียนการสอนด้วย
แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวีดิโอและหนังสั้น สื่อวีดิโอและหนังสั้นที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ควรมีลักษณะดังนี้ - สื่อดังกล่าวควรออกแบบมาหรือมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับผลของการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ หรือทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจหรือปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ - ควรมีเนื้อหา ระยะเวลา และรูปแบบในการนำเสนอที่เหมาะสมกับช่วงอายุและวัยของผู้เรียน เช่น เด็กเล็กก็ควรจะเป็นสื่อที่มีสีสวยงาม ระยะเวลาในการนำเสนอไม่ยาวจนผู้ชม หมดความอดทนในการชม นำเสนอให้เห็นภาพชัดเจน ใช้ภาษาที่ง่ายต่อและเหมาะสมกับการเข้าใจของเด็ก เป็นต้น - สื่อที่นำมาใช้ ไม่ควรนำมาใช้เพื่อเน้นไปที่การท่องจำเนื้อหา - หลีกเลี่ยงการใส่ตัวหนังสือ หรือภาพประกอบเชิงวิชาการที่มากเกินความจำเป็น
วิธีการนำเอาสื่อวีดิโอและหนังสั้นมาใช้ในการเรียนการสอนนั้นมีปลากหลายรูปแบบ เช่น สามารถนำมาใช้ในการสร้างความสนใจก่อนนำเข้าสู่การอภิปรายถึงสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการดูวีดิโอคลิป (แทนการสอนแบบการบรรยาย บอกจด หรืออ่านให้นักเรียนฟังหน้าชั้นเรียน) หรืออาจจะนำมาใช้ในการสรุปหลังจากการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ แล้ว ตัวอย่างวีดิโอคลิปที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์ดิน ที่สามารถค้นหาและเข้าไปดูได้จากเว็บไซต์ YouTube.com ดังนี้ http://www.youtube.com/watch?v=P_GyRCSHjj4 เป็นการ์ตูนเปรียบเทียบการดูแลหน้าดินของเกษตรกร 2 ครอบครัว ที่ครอบครัวหนึ่งมีการปลูกหญ้าแฝกที่มีรากหยั่งลึกลงไปในดินช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ในขณะที่อีกครอบครับไม่ยอมรับการปลูกหญ้าแฝก วีดิโอคลิปเรื่องนี้เป็นวีดิโอคลิปที่ไม่มีเสียงพากย์ภาษาใดๆ ที่จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำความเข้าใจ มีแต่ดนตรีประกอบและเสียงประกอบแบบที่ไม่เป็นภาษาซึ่งช่วยทำให้เข้าใจและเห็นภาพการเปรียบเทียบได้ชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่ควรระวังสำหรับการนำเอาสื่อวีดิโอมาใช้ในชั้นเรียนก็คือ ครูผู้สอนไม่ควรนำสื่อวีดิโอมาใช้โดยการเปิดให้นักเรียนชมตั้งแต่ต้นจนจบ ควรแบ่งการนำเสนอหรือเปิดให้นักเรียนชมเป็นส่วนๆ หรือตอนๆ ไป และควรมีการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนอยู่เป็นระยะๆ รวมทั้งสร้างโอกาสให้นักเรียนได้มีการคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในวีดิโอด้วย จากตัวอย่างวีดิโอในภาพที่ 1 ในตอนแรกเป็นภาพเกษตรกร 2 ครอบครัว ครอบครัวหนึ่งรับต้นหญ้าไป อีกครอบครัวหนึ่งปฏิเสธการรับต้นหญ้า ให้นักเรียนคาดเดาว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับ 2 ครอบครัวนี้ ก่อนที่จะเปิดวีดิโอให้นักเรียนดูต่อไป และให้นักเรียนจดบันทึกสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากวีดิโอด้วย เพื่อทำให้นักเรียนให้ความสนใจติดตามเนื้อหาที่ถูกนำเสนอผ่านวีดิโออย่างต่อเนื่อง หรือในกรณีสื่อวีดิโออื่นๆ ครูผู้สอนอาจจะใช้เทคนิคในการปิดภาพเปิดแต่เสียงบรรยายในวีดิโอ หรือปิดเสียงบรรยายในวีดิโอ แล้วตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือจุดประสงค์ที่ต้องการสำหรับการเรียนรู้ขึ้นมาก็ได้ ในกรณีที่โรงเรียนมีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์หรือกล้องวีดิโอ ครูผู้สอนอาจจะให้นักเรียนได้สร้างหนังสั้นหรือวีดิโอคลิปขึ้นมาเอง แทนรูปแบบการทดสอบหรือการวัดผลจากข้อสอบก็ได้ จากนั้นจึงให้นักเรียนได้นำเสนอวีดิโอที่สร้างขึ้นมา แล้วให้เพื่อนช่วยกันวิเคราะห์ถึงข้อดี และสิ่งทีควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อทำให้วีดิโอนั้นๆ สามารถนำเสนอเนื้อหาที่ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้อย่างง่าย และหากจะนำเอาทักษะทางด้านภาษามาผนวกกับกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้สร้างหนังสั้นและวีดิโอคลิปก็สามารถทำได้ โดยการกำหนดให้นักเรียนต้องส่งสคริปต์หรือเนื้อหาที่จะใช้ประกอบในสื่อที่จะสร้างขึ้นก่อนที่จะให้นักเรียนไปดำเนินการสร้างสื่อขึ้นมา หากโรงเรียนไม่มีความพร้อมในเรื่องกล้องวีดิโอ ก็สามารถที่จะออกแบบกิจกรรมโดยให้นักเรียนไปค้นหาวีดิโอจากในเว็บไซต์ YouTube.com มา 1 เรื่อง ที่มีเนื้อหาตามที่ครูเป็นผู้กำหนดหรือมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักเรียนกำลังเรียน แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงข้อดีและสิ่งที่ควรปรับปรุงของวีดิโอที่นักเรียนเลือกมา ว่าเหมาะสมกับการนำเสนอเนื้อหาหรือเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียนหรือไม่ ข้อดีคืออะไร และถ้านักเรียนมีความสามารถในการปรับปรุงวีดิโอที่นักเรียนเลือกมา นักเรียนจะปรับปรุงในส่วนใดก่อน เพราะอะไร ให้นักเรียนได้ช่วยกันคิดและวิเคราะห์จากวีดิโอที่นักเรียนสนใจศึกษาและเลือกมา
แหล่งค้นหาวีดิโอและหนังสั้นเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน 1) http://www.goethe.de/ins/th/prj/wif/thindex.htm Science Film Festival แหล่งเรียนรู้ปีละครั้ง ที่ครูและนักเรียนไม่ควรพลาดโอกาสในการเข้าชม สำหรับในปีนี้ เป็นการจัดงานในครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-30 พฤศจิกายน 2553 ณ ศูนย์จัดฉายหนังทั่วประเทศไทย ซึ่งคงต้องรอติดตามกันว่า จะมีศูนย์จัดฉายหนังอยู่ที่ใดกันบ้าง
neoK12 – Educational Videos for Kids about Science, Math, Social Studies, and English เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมสื่อการสอนทั้งภาพนิ่ง, แบบทดสอบ, เกมส์, และวีดิโอประกอบการสอนจากสื่อต่างๆ ทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ YouTube.com ครูผู้สอนสามารถเข้าไปเลือกนำมาใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก และสิ่งสำคัญคือมีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายวิชาและหมวดหมู่ให้เลือกนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนได้สะดวกขึ้น
3) http://video.nationalgeographic.com/video/index.html Featured Videos จากเว็บไซต์ National Geographic ซึ่งมีเนื้อหาที่หลากหลาย และจัดไว้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการเลือกนำมาใช้ประกอบกับการเรียนการสอน
4) ขั้นตอนกับการคัดลอกวีดิโอและหนังสั้นจาก YouTube.com มาใช้ในการเรียนการสอน สำหรับขั้นตอนการคัดลอกวีดิโอมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน สามารถทำได้โดยการคัดลอก URL จากเว็บไซต์ YouTube.com ดังตัวอย่างเช่น http://www.youtube.com/watch?v=P_GyRCSHjj4 มาวางไว้ในเว็บ http://keepvid.com/ เพื่อทำการคัดลอกวีดิโอเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จากนั้นก็ทำการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำมาเปิดเล่นด้วยโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ สำหรับขั้นตอนต่างๆ สามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง ระบบทางเดินอาหาร การสอน และการนำสื่อการสอนออนไลน์มาใช้ ในนิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 158
5) Teacher TV – เว็บไซต์แหล่งรวมวีดิโอคลิปเพื่อการพัฒนาเทคนิคการสอน http://www.teachers.tv/ เว็บไซต์ของ Teacher TV ในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นรายการทีวีที่จัดทำขึ้นเพื่อการพัฒนาครูผู้สอนวิชาหลัก คือ วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมจนถึงระดับมัธยมปลาย http://www.thaiteachers.tv/ เว็บไซต์โทรทัศน์ครู จัดทำเพื่อครูไทย โดยมีการนำเทปโทรทัศน์ที่ออกอากาศไปแล้วทางทีวีไทย วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.45-06.00 น. มาใส่ไว้ให้สำหรับคนที่พลาดโอกาสดูในตอนเช้า เป็นรายการที่เหมาะสำหรับคนที่ทำอาชีพครู และอยากพัฒนาจนเป็นครูมืออาชีพ
เอกสารอ้างอิง สุทธิพงษ์ พงษ์วร 2552. ระบบทางเดินอาหาร: การสอน และการนำสื่อการสอนออนไลน์มาใช้. “นิตยสาร สสวท.”. มกราคม – กุมภาพันธ์. ฉบับที่ 158 หน้า 17-20. Duffy, P. (2008). Using YouTube: strategies for using new media in teaching and learning. In R. Kwan & R. Fox & F. T. Chan & P. Tsang (Eds.), Enhancing learning through technology: research on emerging technologies and pedagogies (pp. 277). Singapore: World Scientific Publishing. Kirby, D. A. (2008). Cinematic science. In M. Bucchi & B. Trench (Eds.), Handbook of public communication of science and technology (pp. 263). New York: Routledge.
ปัจจุบันนี้ สื่อการเรียนการสอนที่ถูกนำมาใช้ในชั้นเรียนมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและวิธีการใช้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อประเภทหนังสั้น และวีดิโอคลิป หากนึกถึงเทคโนโลยีที่ใช้เมื่อ 10 ปีมาแล้ว การจะหาหรือสร้างภาพยนตร์สั้นหรือวีดิโอคลิปสักเรื่องเพื่อนำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ดูจะเป็นเรื่องยากและใช้เวลาเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการถ่ายวีดิโอทำให้กล้องวีดิโอมีขนาดเล็กลง และถูกนำไปประกอบเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย เช่น กล้องวีดิโอที่ติดอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องวีดิโอที่ติดมาพร้อมกับกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ประกอบกับราคากล้องวีดิโอที่นับวันยิ่งจะมีราคาถูกลง และประสิทธิภาพที่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อกล้องวีดิโอมาใช้ได้สะดวกขึ้น ทำให้สื่อประวีดิโอในรูปแบบต่างๆ ได้รับความนิยมและเข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น
ภาพที่ 1 การ์ตูนที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์ของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินที่นำเสนอเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย หรือประโยชน์และผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
(Ref. - http://www.youtube.com/watch?v=P_GyRCSHjj4 )
-
603 วีดิโอและหนังสั้น: สื่อทางเลือกในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่หาได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต /article-technology/item/603-vdoเพิ่มในรายการโปรด