สงคราม จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่
เราอาจรู้สึกไม่ดีเมื่อได้ยินคำว่า “สงคราม” แน่นอนว่าคำนี้อาจสร้างรอยแผลทางกายและใจให้กับใครหลาย ๆ คน ในทุกยุคทุกทุกสมัยที่มีสงคราม แต่รู้หรือไม่ว่า หากไม่มีสงครามที่เกิดขึ้นในอดีต โลกของเราก็อาจพัฒนาไม่ได้มาถึงทุกวันนี้
ภาพที่ 1 สถานการณ์ภาวะสงคราม
ที่มา https://pixabay.com , Comfreak
มีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ ที่ ต่างก็ให้ข้อมูลว่าเทคโนโลยีที่เราใช้กันทุกวันนี้ บางส่วนก็มีกำเนิดหรือจุดเริ่มต้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คงเป็นเพราะสัญชาติญาณของการเป็นมนุษย์ หากตกอยู่ในภาวะที่คับขันก็ต้องดิ้นรนเพื่อหาทางรอดหรือสู้กับปัญหา อุปสรรค หรือวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่
เมื่อต่างผู้มีความรู้ความสามารถต่างก็หาทางแก้ไขปัญหาที่ตนและสังคมของตนกำลังประสบอยู่ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการหรือบริษัทต่าง ๆ ที่มีการเปิดกิจการอยู่ในสมัยนั้น ต่างก็พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส สำหรับ แผนการ วิธีการ คือช่องทางหนึ่งของการดิ้นรนเอาตัวรอดที่ดีที่สุดในช่วงเวลาสงคราม และในแผนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเอง บางทีก็มีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น
เทคโนโลยีที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2
เพนิซิลลิน (Penicillin)
แนวคิดเพื่อพัฒนาซึ่งการรักษาให้ทหารมีชีวิตรอดจากแผลติดเชื้อจากการต่อสู่ นำมาซึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างยาปฏิชีวนะตัวแรกของโลก คือ สาร ‘เบนซิลเพนนิซิลิน’ จากเชื้อรา Penicillium notatum ซึ่งค้นพบโดย ‘อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง’ (Alexander Fleming) ภายใต้แกนนำของฮาวเวิร์ด ฟลออรีย และทีมวิจัย เพื่อนำไปสู่การขออนุญาตประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
ภาพที่ 2 กาแฟสำเร็จรูป
ที่มา https://pixabay.com , kalhh
กาแฟสำเร็จรูป
ใครจะไปรู้ว่ากาแฟสำเร็จรูปที่เราชงดื่มกันอยู่ทุก ๆ เช้า จะมีกำเนิดเรื่องราวจากสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นกัน ในสถานการณ์สงครามที่อาหารต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงในการเสียหายหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางรสชาติ หนึ่งในนั้นคือ เมล็ดกาแฟที่ค้างอยู่ในโกดัง บริษัท Nestle ค้นหาวิธีและแผนการเพื่อรักษารสชาติและกลิ่นของเมล็ดกาแฟ ด้วยวิธีการสกัดกาแฟให้แห้งด้วยวิธีการอบแบบ freeze dryer ที่นำเมล็ดกาแฟสดไปแช่แข็งจนเป็นน้ำแข็ง วางไว้ในสุญญากาศอ่อน ๆ ความร้อนเล็กน้อย ผลึกน้ำแข็งในกาแฟจะระเหิดกลายเป็นไอในระยะเพียงไม่นาน และนั่นคือที่มาของกาแฟสำเร็จรูปในปัจจุบันนั่นเอง
ไฟฉายไดนาโมมือหมุน (Dynamo-powered torch)
เราคงรู้จักกับไดนาโมกันมาบ้าง ว่าด้วยเครื่องมือหรือเครื่องกำเนิดฟ้ารูปแบบหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานฟ้าฟ้า บริษัท Philips นำหลักการนี้มาใช้ประยุกต์สร้างเครื่องมือเพื่อให้เกิดแสงสว่างในภาวะสงครามได้เป็นอย่างดี คือไฟฉายที่ที่สามารถมีแสงสว่างจากพลังงานกลที่มาจากแรงหมุนของคนนั่นเอง
ภาพที่ 3 เครื่องบิน
ที่มา https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors
ระบบลงจอดเครื่องบินด้วยเรดาร์ (Radar Landing)
ปัญหาจากการลงจอดของเครื่องบินที่บรรทุกวัตถุระเบิดอยู่เต็มลำ ซึ่งถ้าเกิดการผิดพลาดอาจสร้างความรุนแรงอย่างมหาศาลได้ในบริเวณกว้าง ซึ่งหากในบริเวณที่ลงจอดนั้นเป็นอาณาเขตของตนเองไม่ใช่ผ่ายตรงข้าม ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการพัฒนาติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณสื่อสารกันเพื่อให้การลงจอดเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Rebecca transponder unit โดยมีการทำงานที่สามารถส่งสารกันได้ว่าลำไหนเป็นฝ่ายเดียวกันหรือตรงกันข้าม บนสถานที่ที่อยู่ในภาวะสงครามที่มีความเสี่ยงในการถูกโจมตี ซึ่งเป็นต้นแบบระบบการทำงานของการบินที่พัฒนาต่อเนื่องมาถึงในปัจจุบัน
ภาพที่ 4 รถถัง
ที่มา https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors
รถถัง
พาหนะที่เปรียบเสมือนทำหน้าที่ได้ทั้งขับเคลื่อนกองกำลังไปพร้อม ๆ กับเป็นอาวุธสำคัญในการโจมตี รวมถึงป้องกันการถูกโจมตีด้วยนั้น ก็กล่าวได้ว่ามันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการทำศึกสงครามอย่างแน่แท้ รถถังที่สำคัญในสมัยนั้นก็มี รถถังไทเกอร์,แพนเซอร์ ของกองทัพนาซีเยอรมัน รถถัง T-34 ของสหภาพโซเวียต รถถัง M4 เชอร์แมน ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
เรือรบ
อีกอาวุธและพาหนะสำคัญไม่แพ้รถถัง แต่เป็นการทำสงครามทางน้ำ ไม่เพียงแค่ใช้เป็นอาวุธในการโจมตีแต่ยังสามารถลำเลียงกำลังพล และวัตถุสงครามอื่น ๆ ได้เป็นจำนวนมาก และรวมไปถึงสามารถบรรทุกเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากกอีกด้วย
เทปกาว
ใครจะไปรู้ว่า เทปกาวที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็มีที่มาจากสถานการณ์หนึ่งในภาวะสงครามที่ต้องการแก้ปัญหาเวลาเปิดกล่องเก็บกระสุนแล้วเมื่อเวลาต้องการจะปิดจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ฝากล่องหลุดนั่นเอง Vesta Stoudt ทหารเรือหญิงก็ได้ประดิษฐ์เทปผ้าหรือเทปกาวนี้ได้สำเร็จเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหานี้
ภาพที่ 5 อาหารกระป๋อง
ที่มา https://pixabay.com , nessaja99
อาหารกระป๋อง
แน่นอนที่สุดในภาะวะสงคราม สิ่งที่ขาดไม่ได้คือเสบียงอาหาร แต่จะทำอย่างไรให้อาหารเหล่านั้นไม่เน่าเสียในขณะที่ต้องใช้เวลาในการเดินทาง รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่จะมาแก้ปัญหานี้ Nicholas Appert ผู้ออกแบบโหลแก้วแบบมีฝาปิด เป็นผู้ได้รับรางวัลในการออกบบนี้ และเป็นที่มาและต้นแบบอาหารประป๋องในปัจจุบัน
แหล่งที่มา
Thanet Ratanakul. (2561, 14 สิงหาคม). Post War inventions สงครามโลกครั้งที่ 2 ทิ้งความก้าวหน้าอะไรให้เราบ้าง. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561. จาก https://thematter.co/byte/post-war-inventions/57336
พี่พิซซ่า. 6 สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดในยุคสงคราม และยังนิยมมาถึงยุคปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561. จาก https://www.dek-d.com/studyabroad/39749/
เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561. จาก https:// https://th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
-
8674 สงคราม จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ /article-technology/item/8674-2018-09-11-08-10-56เพิ่มในรายการโปรด