ดอกลิ้นมังกร Antirrhinum majus L. (Snapdragon) ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!!
ดอกลิ้นมังกร Antirrhinum majus L. (Snapdragon) ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!!
“ดอกลิ้นมังกร” คงเป็นชื่อที่คุ้นเคยสำหรับคนที่เคยไปดูเทศกาลดอกไม้ทางภาคเหนือ ดอกไม้ที่มีความหลากหลายทางสีสัน แต่โดยส่วนมากเราก็จะได้เห็นแค่ความสวยงามของดอกลิ้นมังกรกัน แล้วรู้กันหรือไม่ว่าทำไมจึงเรียกว่า “ดอกลิ้นมังกร” ???
>> ชื่อวิทยาศาสตร์ Antirrhinum majus L.
>> ชื่อสามัญ (common name) Snapdragon หรือ Bunny rabbits
การจำแนกทางอนุกรมวิธานพืช (Plant Taxonomy Classification)
Rank
|
Scientific Name and Common Name
|
Kingdom |
Plantae – Plants |
ดอกลิ้นมังกร นั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดยืนต้น แต่ส่วนมากอยู่ได้แค่ 1-2 ปีเท่านั้น มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกา และอัฟริกาเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน แถบโมรอคโคและโปรตุเกส เรื่อยไปจนถึง ตุรกีและไซเรีย จนถึงตอนใต้ของฝรั่งเศส เจริญเติบโตได้ดีเมื่ออากาศหนาวเย็น มีแสงแดด แต่ไม่มีลม เพราะจะทำให้ช่อดอกหัก ในสภาพดินที่ระบายน้ำได้ดี ดอกลิ้นมังกรนั้นมีความหลากหลายทางนิเวศน์วิทยา ความสูงของต้นที่ขายทั่วไปมี 3 ขนาด คือ ลิ้นมังกรแคระ สูง 6-8 นิ้ว ขนาดกลางสูง 15-30 นิ้ว และขนาดสูง 30-48 นิ้ว
ทำไมเราจึงเรียกดอกชนิดนี้ว่า “ดอกลิ้นมังกร”
โครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อนของดอกลิ้นมังกร วิวัฒนาการมาจากการปรับให้เหมาะสมกับการลักษณะการถ่ายละอองเกสรของผึ้ง bumblebee เช่นเดียวกับดอกกล้วยไม้ ซึ่งทำให้สามารถจับสัตว์ที่จะมาถ่ายละออกเกสรได้อย่างจำเพาะ ไม่มีแมลงตัวเล็กๆเข้ามา ซึ่งพืชชนิดนี้จะถ่ายละอองเกสรโดยผึ้ง bubblebee ซึ่งมีความแข็งแรงที่สุดที่จะเข้าไปในปากดอกได้ ดอกลิ้นมังกรนั้นมีลักษณะดอก 2 ชนิดคือ
1. ลักษณะ snapping คือ เนื่องจากลักษณะดอกนั้นเหมือนกับใบหน้าของมังกรในจินตนาการ ซึ่งเมื่อโดนบีบข้างดอก กลีบบนและล่างจะแยกออกจากกันคล้ายเวลาเราบีบด้านข้างปากมังกรจะอ้าและหุบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Snapdragon หรือบางครั้งก็ดูเหมือนจมูกกระต่ายที่กำลังกระตุก จึงเรียกว่า Bunny rabbit ซึ่งดอกชนิดนี้จะเป็นดอกมาตรฐาน (standard)
2. กลีบดอกแบนกว้างเห็นคอดอกชัดเจน ดอกใหญ่บานได้นานแต่ไม่มีลักษณะ snapping ทำให้ไม่สมชื่อ ดอกชนิดหลังนี้เรียกว่า ดอกแบบอเซเลีย (Azalea flowered) หรือดอกแบบผีเสื้อ (Butterfly flowered)
SECRET of SnapDragon ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!!
ดอกลิ้นมังกรนั้น มีความลับที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ และเราคงได้เห็นแต่ความสวยงามของมัน เพราะความลับจะเปิดเผยก็ต่อเมื่อดอกได้เหี่ยวแห้งโรยราไปแล้ว
หลังจากที่เกิดการถ่ายละอองเกสร กลีบดอกก็จะหลุดร่วงไป และเปิดเผยให้เห็นความลับอันน่าสะพรึงกลัวที่ซ่อนอยู่ภายใน เพราะแต่ละฝักผลที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะไม่ต่างจากโครงกระดูกศีรษะมนุษย์ !!! บางครั้งก็เหมือนหัวของเอเลี่ยน ^ 0 ^ มี เบ้าตาเป็นโพรง ปากอ้า ซึ่งลักษณะฝักที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นที่มาของความเชื่อของการปลูกดอกลิ้นมังกรไว้รอบบ้านในประเทศแถบยุโรป ว่าเป็นพลังจากธรรมชาติที่จะมาช่วยปกป้องสิ่งหลอกลวง การสาปแช่ง ความชั่วร้าย และเวทมนตร์คาถาต่างๆ
ถ้าไปชมดอกลิ้นมังกรที่ภาคเหนือหรือต่างประเทศอีกเมื่อไหร่ ยังจะเห็นแต่ความสวยงามของมันอีกหรือเปล่า
horror !!!
ที่มาจาก :
http://plants.usda.gov/core/profile?symbol=anma3
http://en.wikipedia.org/wiki/Antirrhinum
http://imgkid.com/antirrhinum-seed.shtml
http://www.seedsofeaden.com/ornamental-plants-k7/the-dragon-skull-seed-pod-b107.html
http://goo.gl/C7JWlP
ภาพจาก:
http://www.sazhaemsad.ru/lvinyj-zev-ochen-krasivo-i-sovsem-ne-strashno.html
http://www.mullerseeds.com/media/catalog/product/a/n/antirrhinum_majus_ribbon_mixture.jpg
http://www.fotonatura.org/galerias/fotos/usr3659/11978831MO.jpg
https://edinburghgardendiary.files.wordpress.com/2014/07/cropped-img_01831.jpg?w=850
http://1.bp.blogspot.com/-SrcQSB-oseI/TjhLtVS89tI/AAAAAAAADIw/W3bbYldt4_k/s1600/Butter-and-eggs+%2528Linaria+vulgaris%2529++IMG_9167+bS.jpg
http://2.bp.blogspot.com/-qZe6Jf7okGI/Uds3sn6GhqI/AAAAAAAACWg/ai0-g3hQxsE/s1600/Antirrhinum_majus_b-1.JPG
http://flowers-kid.com/antirrhinum-majus-skull.htm
http://imgkid.com/antirrhinum-seed.shtml
-
4707 ดอกลิ้นมังกร Antirrhinum majus L. (Snapdragon) ความสวยงามที่ซ่อนความน่ากลัว !!! /article-biology/item/4707-antirrhinum-majus-l-snapdragonเพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง