ก.
คำ�อธิบาย
ปริมาณน้ำ�ที่พืชคายน้ำ�ออกมาจะเกี่ยวข้องกับจำ�นวนใบ และการทาวาสลินซึ่ง
จะปิดรูปากใบของพืช ทำ�ให้พืชไม่สามารถคายน้ำ�ผ่านปากใบบริเวณนั้นได้
กิ่งที่ 1 ไม่ทาวาสลิน พืชจึงมีอัตราการคายน้ำ�สูงที่สุด เทียบได้กับเส้นกราฟ A
กิ่งที่ 2 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านบนและผิวใบด้านล่างของทุกใบ พืชจึงมีอัตราการคายน้ำ�
ต่ำ�ที่สุด เทียบได้กับเส้นกราฟ D
กิ่งที่ 3 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านบนทุกใบ ซึ่งชบาเป็นพืชบก โดยทั่วไปจะพบปากใบที่ผิวใบ
ด้านล่างมากกว่าผิวใบด้านบน พืชจึงมีอัตราการคายน้ำ�สูง มากกว่ากิ่งที่ 4 แต่
น้อยกว่ากิ่งที่ 1 เทียบได้กับเส้นกราฟ
กิ่งที่ 4 ทาวาสลินที่ผิวใบด้านล่างทุกใบ พืชยังมีการคายน้ำ�ได้บ้างทางรูปากใบที่ผิวใบ
ด้านบน จึงมีอัตราการคายน้ำ�สูงกว่ากิ่งที่ 2 แต่คายน้ำ�ได้น้อยกว่ากิ่งที่ 3
ซึ่งทาวาสลินที่ผิวใบด้านบน เทียบได้กับเส้นกราฟ C
ดังนั้นการคายน้ำ�ของชบากิ่งที่ 1-4 จึงแทนด้วยเส้นกราฟ A D B และ C ตามลำ�ดับ
6. จงใส่่ธาตุอาหาร Fe N Mg P และ K ที่จำ�เป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชกับบทบาทหน้าที่
โดยนำ�สัญลักษณ์ธาตุเติมในช่องว่างหน้าข้อที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
�������6.1 ธาตุโลหะที่เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์
�������6.2 มีบทบาทสำ�คัญในการควบคุมแรงดันเต่งของเซลล์ และความเต่งของเซลล์คุม
ที่มีผลทำ�ให้เกิดการเปิดปิดของรูปากใบ
�������6.3 เป็นองค์ประกอบของ RNA DNA และสารพลังงานสูง (ATP) แต่ไม่เป็น
องค์ประกอบของคลอโรฟิลล์
�������6.4 เป็นองค์ประกอบของกรดแอมิโนทุกชนิด เมื่อพืชขาดทำ�ให้มีอาการใบเหลือง
เรียกว่า chlorosis โดยจะเริ่มเหลืองที่ใบแก่ก่อน
�������6.5 เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนใน
กระบวนการหายใจ การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์
Mg
Fe
N
P
K
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
150