Table of Contents Table of Contents
Previous Page  159 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 159 / 302 Next Page
Page Background

3. จากการทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดูดน้ำ�และการคายน้ำ� โดยจัดชุดการ

ทดลองดังรูป พืชที่นำ�มาทำ�การทดลองมีปากใบเฉพาะบริเวณใบเท่านั้น โดยพืชในหลอดที่

3 และหลอดที่ 5 มีการตัดใบออกและเคลือบวาสลินที่รอยตัดทุกรอย แต่พืชในหลอดที่ 6

เคลือบรอยตัดของลำ�ต้นที่อยู่ใต้น้ำ� บันทึกผลการทดลองโดยวัดระดับน้ำ�ที่เปลี่ยนแปลงหลัง

การทดลอง

3.1 ผลการทดลองควรเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด

หลอดที่2และ4ระดับน้ำ�ในหลอดทดลองจะลดลง เนื่องจากการคายน้ำ�ผ่านทางปากใบ

หลอดที่ 1, 3, 5 และ 6 ระดับน้ำ�ในหลอดไม่ลดลง เนื่องจาก

- หลอดที่ 1 ปากหลอดถูกปิด น้ำ�จึงไม่สามารถระเหยสู่บรรยากาศ

- หลอดที่ 3 และ 5 ถูกตัดใบออก จึงไม่สามารถคายน้ำ�ผ่านทางปากใบได้ และส่วน

ของรอยตัดถูกเคลือบด้วยวาสลิน น้ำ�จึงไม่สามารถออกสู่บรรยากาศผ่านทางรอยตัด

ได้เช่นกัน

- หลอดที่ 6 รอยตัดของลำ�ต้นที่อยู่ใต้น้ำ�ถูกเคลือบด้วยวาสลินเช่นกัน น้ำ�จึงไม่สามารถ

เข้าสู่ลำ�ต้นเพื่อออกสู่บรรยากาศได้

3.2 เพราะเหตุใดจึงต้องทำ�การทดลองในหลอดที่ 1 และหลอดที่ 2

เพื่อยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ�ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการคายน้ำ�ของต้นพืช

ไม่ใช่จากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

1

2

3

4

5

6

หลอดที่

น้ำ�

อะลูมิเนียมฟอยล์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

147