7. จากรูปการทดลองเรื่องการลำ�เลียงอาหารในโฟลเอ็ม ให้นักเรียนตอบคำ�ถามต่อไปนี้
7.1 วาดทิศทางการเคลื่อนที่ของสารละลายและทิศทางการเคลื่อนที่สุทธิของน้ำ� ในชุดการ
ทดลอง พร้อมอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงใช้การทดลองนี้ตรวจสอบเรื่องการลำ�เลียง
อาหารในโฟลเอ็ม
จากชุดการทดลองจะเห็นว่า ในกระเปาะแก้วที่ 1 และ 2 มีสารละลายน้ำ�ตาล น้ำ�จึง
ออสโมซิสจากอ่างเข้าสู่กระเปาะทั้งสอง แต่เนื่องจากในกระเปาะแก้วที่ 1 มีสารละลาย
น้ำ�ตาลที่เข้มข้นกว่าในกระเปาะแก้วที่ 2 น้ำ�ในอ่างจะออสโมซิสเข้าสู่กระเปาะแก้วที่
1 มากกว่า จึงทำ�ให้มีแรงดันสูงกว่า ดังนั้นสารละลายในกระเปาะแก้วที่ 1 จึงเคลื่อนที่
มายังกระเปาะแก้วที่ 2 สารละลายในกระเปาะแก้วที่ 2 จึงมีแรงดันสูงขึ้น และดันให้
น้ำ�เคลื่อนที่ออกจากกระเปาะแก้วที่ 2 เข้าสู่อ่าง การเคลื่อนที่ของสารละลายจาก
กระเปาะแก้วที่ 1 ไปยังกระเปาะแก้วที่ 2 เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่
ของสารละลายในโฟลเอ็มซึ่งเป็นการลำ�เลียงอาหารจากซีฟทิวบ์เมมเบอร์บริเวณแหล่ง
สร้างไปยังซีฟทิวบ์เมมเบอร์บริเวณแหล่งรับซึ่งมีความดันต่ำ�กว่า
อ่างน้ำ�
กระเปาะแก้ว
เยื่อเลือกผ่าน
น้ำ�
โมเลกุลน้ำ�ตาล
1
2
อ่างน้ำ�
กระเปาะแก้ว
เยื่อเลือกผ่าน
น้ำ�
โมเลกุลน้ำ�ตาล
1
2
การเคลื่อนที่ของสารละลาย
การเคลื่อนที่สุทธิของน้ำ�
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
151