Table of Contents Table of Contents
Previous Page  202 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 202 / 302 Next Page
Page Background

ทั้งนี้ครูอาจปรับรูปแบบของการทำ�กิจกรรมบทบาทสมมติได้ตามความเหมาะสม เช่น ครูอาจ

เขียนวงกลมไว้บนกระดาน และให้นักเรียนแต่ละคนนำ�ฉลากบทบาทสมมติที่จับได้มาติดในตำ�แหน่ง

ที่เหมาะสม โดยจากการทำ�กิจกรรม ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนโดยใช้รูป 11.18 เพื่อให้ได้ข้อสรุป

ดังนี้

- การตรึง CO

2

1 โมเลกุลซึ่งทำ�ปฏิกิริยากับ RuBP 1 โมเลกุล จะได้ G3P 2 โมเลกุล

- การสร้าง RuBP ขึ้นใหม่ต้องใช้ G3P (3C) 5 โมเลกุล และได้ RuBP (5C) 3 โมเลกุล

- การเกิดวัฏจักรคัลวินที่สมบูรณ์ 1 รอบจึงต้องตรึง CO

2

3 โมเลกุล ซึ่งทำ�ปฏิกิริยากับ RuBP

3 โมเลกุล เพื่อให้ได้ G3P 6 โมเลกุล โดยจะใช้ G3P 5 โมเลกุลเพื่อสร้าง RuBP 3 โมเลกุล

กลับคืนสู่วัฏจักรคัลวิน และเหลือ G3P 1 โมเลกุลที่จะออกจากวัฏจักรและถูกนำ�ไปสร้าง

เป็นน้ำ�ตาลที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ขึ้น รวมทั้งสารอินทรีย์อื่นๆ

นอกจากนี้ครูควรอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเน้นว่าเมื่อสิ้นสุดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

สารผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก 1 รอบของวัฏจักรคัลวิน คือ G3P 1 โมเลกุล ซึ่งเป็นน้ำ�ตาลที่มีคาร์บอน

3 อะตอม สำ�หรับความรู้ที่นักเรียนเคยทราบและเข้าใจมาจากสมการเคมีโดยรวมของการสังเคราะห์

ด้วยแสงซึ่งในสมการจะแสดงน้ำ�ตาลกลูโคส (C

6

H

12

O

6

) นั้น ครูควรอธิบายเพิ่มเติมว่ากลูโคสไม่ได้เป็น

สารผลิตภัณฑ์ของวัฏจักรคัลวิน แต่ได้มาจากการนำ� G3P ไปใช้ในการสังเคราะห์เป็นกลูโคสรวมทั้ง

สารอินทรีย์อื่นๆ

หลังจากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน และคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ซึ่งมีแนว

การตอบดังนี้

เมื่อสิ้นสุดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง

G3P และ O

2

ถ้าปฏิกิริยาในวัฏจักรคัลวินถูกยับยั้งจะส่งผลต่อปฏิกิริยาแสงด้วยหรือไม่ อย่างไร

ถ้าปฏิกิริยาในวัฏจักรคัลวินถูกยับยั้งจะส่งผลต่อปฏิกิริยาแสงเช่นกัน เนื่องจากไม่มีการใช้

NADPH และ ATP จึงไม่เกิด NADP

+

และ ADP ขึ้น ซึ่งทั้ง NADP

+

และ ADP นี้จะต้องนำ�ไป

ใช้ในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนของปฏิกิริยาแสง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

190