11.4 การเพิ่มความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูล และอธิบายกลไกในการเพิ่มความเข้มข้นของ CO
2
ของพืช C
4
และพืช CAM
2. วิเคราะห์ อธิบายและเปรียบเทียบกลไกการตรึงคาร์บอนในพืช C
3
พืช C
4
และพืช CAM
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูเชื่อมโยงความรู้จากเรื่องโฟโตเรสไพเรชันเพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องการเพิ่มความเข้มข้นของ CO
2
โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำ�ถาม ดังนี้
หากไม่ต้องการให้พืชเกิดโฟโตเรสไพเรชัน นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไร
คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย ซึ่งควรนำ�ไปสู่ข้อสรุปว่าหากไม่ต้องการให้พืชเกิด
โฟโตเรสไพเรชันจะต้องทำ�ให้พืชอยู่ในภาวะที่มีความเข้มข้นของ CO
2
สูงตลอดเวลา โดยครูอธิบาย
เพิ่มเติมว่ามีพืชบางกลุ่มที่สามารถทำ�เช่นนั้นได้ซึ่งได้แก่ พืช C
4
และพืช CAM
11.4.1 การตรึงคาร์บอนในพืช C
4
ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการตรึงคาร์บอนในวัฏจักรคัลวินของพืชที่นักเรียนได้เรียนมาแล้ว
โดยใช้คำ�ถามถามนักเรียนว่า
สารที่เสถียรชนิดแรกที่เกิดขึ้นในวัฏจักรคัลวินคืออะไร
เพื่อนำ�เข้าสู่
เรื่องพืช C
3
ซึ่งนักเรียนจะตอบได้ว่า สารที่เสถียรชนิดแรกในวัฏจักรคัลวิน คือ PGA ซึ่งเป็นสารที่มี
คาร์บอน 3 อะตอม โดยครูย้ำ�ให้นักเรียนทราบว่า พืชที่ตรึงคาร์บอนได้สารที่เสถียรชนิดแรกเป็น
สารที่มีคาร์บอน 3 อะตอมนี้เรียกว่า พืช C
3
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้ทดลองแล้วพบว่า พืช
บางชนิดสามารถสร้างสารที่เสถียรชนิดแรกที่เป็นสารประกอบคาร์บอน 4 อะตอมอีกด้วย ซึ่งพบว่า
มีกลไกการสร้างที่นอกเหนือไปจากวัฏจักรคัลวิน เรียกพืชกลุ่มนี้ว่า พืช C
4
จากนั้นครูใช้คำ�ถามเพื่อนำ�
เข้าสู่บทเรียนเรื่องโครงสร้างของพืช C
3
และพืช C
4
ดังนี้
พืชทุกชนิดมีกลไกในการเพิ่มความเข้มข้นของ CO
2
เหมือนกันหรือไม่
พืช C
4
น่าจะมีโครงสร้างที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนหรือแตกต่างจากพืช C
3
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
196