Table of Contents Table of Contents
Previous Page  212 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 212 / 302 Next Page
Page Background

ครูควรชี้แจงเพิ่มเติมว่าพืชที่มีการตรึงคาร์บอนแบบนี้พบเป็นครั้งแรกในพืชวงศ์ Crassulaceae

การตรึงคาร์บอนของพืชกลุ่มนี้จึงเรียกว่า Crassulacean Acid Metabolism; CAM ซึ่งทำ�ให้เรียกพืช

กลุ่มนี้ว่าพืช CAM ปัจจุบันพบว่ามีพืชในวงศ์อื่นอีกหลายชนิดที่มีการตรึงคาร์บอนที่จัดอยู่ในกลุ่มพืช

CAM เช่น กระบองเพชร แก้วมังกร เศรษฐีพันล้าน สับปะรดสี นมตำ�เลีย ลิ้นมังกร เป็นต้น

ครูอาจใช้คำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนยกตัวอย่างพืช C

3

พืช C

4

และพืช CAM ดังนี้

พืช C

3

พืช C

4

และพืช CAM ที่นักเรียนรู้จัก ได้แก่อะไรบ้าง ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย

กลุ่มละ 2 ชนิด

- ตัวอย่างพืช C3 เช่น ข้าว ข้าวสาลี มะม่วง กล้วย เงาะ ทุเรียน

- ตัวอย่างพืช C4 ได้แก่ พืชเมืองร้อน เช่น อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หญ้าแพรก บานไม่รู้โรย

หญ้าแห้วหมู

- ต้วอย่างพืช CAM ได้แก่ พืชที่สามารถเจริญเติบโตในที่แห้งแล้ง หรือพืชอิงอาศัย

(epiphyte) เช่น กระบองเพชร สับปะรด สับปะรดสี ศรนารายณ์ กุหลาบหิน กล้วยไม้

กลไกการตรึงคาร์บอนของพืช C

3

พืช C

4

และพืช CAM เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร

โดยเปรียบเทียบในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ข้อเปรียบเทียบ

พืช C

3

พืช C

4

พืช CAM

1. จำ�นวนครั้งของการตรึงคาร์บอน

1 ครั้ง

2 ครั้ง

2 ครั้ง

2. ช่วงเวลาที่เกิดการตรึงคาร์บอนโดย PEP

-

กลางวัน

กลางคืน

3. การเกิดวัฏจักรคัลวิน

เกิด

เกิด

เกิด

4. สารที่ใช้ตรึงคาร์บอน

RuBP

ครั้งแรก PEP

ครั้งที่สอง RuBP

ครั้งแรก PEP

ครั้งที่สอง RuBP

5. แหล่งสร้าง G3P

ทุกเซลล์ที่มี

คลอโรพลาสต์

เซลล์บันเดิลชีท ทุกเซลล์ที่มี

คลอโรพลาสต์

ตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

200