ทั้งนี้ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำ�ตอบจากหลักการที่เรียนมาแล้ว เพื่อขยายความรู้
ของนักเรียนให้มากขึ้นและให้เข้าใจยิ่งขึ้น ครูอาจให้นักเรียนเปรียบเทียบพืช C
3
และพืช C
4
ในแง่ของ
โครงสร้างและกลไกในการสังเคราะห์ด้วยแสง
การเปรียบเทียบอาจทำ�เป็นตาราง ดังนี้
ข้อเปรียบเทียบ
พืช C
3
พืช C
4
1. บันเดิลชีท
อาจมีหรือไม่มี
มี
2. คลอโรพลาสต์ที่บันเดิลชีท
มักไม่พบเมื่อดูภายใต้
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
มี
3. จำ�นวนครั้งของการตรึงคาร์บอน
1 ครั้ง
2 ครั้ง
4. สารที่ใช้ตรึงคาร์บอน
RuBP
ครั้งแรก PEP
ครั้งที่สอง RuBP
5. สารที่เสถียรชนิดแรกที่เกิด
จากการตรึงคาร์บอน
PGA (3C)
OAA (4C)
6. การเกิดโฟโตเรสไพเรชัน
มี
มีน้อยมาก หรือไม่มี
11.4.2 การตรึงคาร์บอนในพืช CAM
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำ�ถามดังนี้ นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าพืชบางชนิด เช่น พืชกลุ่ม
กระบองเพชรซึ่งเป็นพืชทนแล้งเจริญได้ในที่แห้งแล้งและอุณหภูมิสูง
พืชเหล่านี้มีการปรับตัวเพื่อลด
การสูญเสียน้ำ�อย่างไร
ซึ่งนักเรียนควรจะตอบได้ว่า ลำ�ต้นอวบน้ำ� ใบลดรูปกลายเป็นหนาม โดยครู
ชี้แจงเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้พืชกลุ่มนี้ยังลดการสูญเสียน้ำ�โดยปากใบจะปิดในเวลากลางวันและจะเปิด
ในเวลากลางคืน จากนั้นครูใช้คำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูล ดังนี้
พืชที่ขึ้นในทะเลทรายหรือในที่แห้งแล้งมีกลไกการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนกับพืชที่ขึ้น
อยู่ทั่วๆ ไปหรือไม่ อย่างไร
ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลในหนังสือเรียนและใช้รูป 11.23 เพื่อร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับกลไก
การเพิ่มความเข้มข้นของ CO
2
ของพืช CAM ซึ่งจากการอภิปรายนักเรียนควรจะสรุปได้ว่า โดยทั่วไป
การตรึง CO
2
ในวัฏจักรคัลวินจะเกิดขึ้นในขณะที่มีแสง เพราะต้องนำ�สารผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาแสง
มาใช้ในกระบวนการตรึง CO
2
แต่พืช CAM มีการตรึงคาร์บอนในเวลากลางคืนโดยปากใบเปิดให้ CO
2
เข้าไป สร้าง OAA แล้วสะสมไว้ในรูปของกรดมาลิกในแวคิวโอลในเวลากลางคืน กรดมาลิกนี้จะสลาย
ได้ CO
2
ในเวลากลางวัน ทำ�ให้ปฏิกิริยาการตรึง CO
2
ในวัฏจักรคัลวินของพืช CAM เกิดขึ้นได้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
199