เมื่อพืชอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนหรือแล้ง อัตราการเกิดปฏิริยาในวัฏจักรคัลวินลดลง ทำ�ให้
ปริมาณ NADP
+
และ ADP ที่จะถูกนำ�ไปใช้ในปฏิกิริยาแสงมีน้อยลง เมื่อ NADP
+
มีจำ�กัดจึง
ส่งผลกระทบต่อการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรซึ่งต้องการ NADP
+
มาเป็นตัวรับ
อิเล็กตรอนตัวสุดท้าย ดังนั้นเมื่อไม่มีตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย จึงเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
แบบเป็นวัฏจักร ซึ่งทำ�ให้เกิดการเคลื่อนย้ายโปรตอนจากสโตรมาเข้าสู่ลูเมนมากขึ้น แต่เนื่องจาก
ปริมาณ ADP มีจำ�กัดเช่นกัน จึงทำ�ให้ไม่สามารถสร้าง ATP ได้ และเกิดการสะสมโปรตอนใน
ลูเมนมากขึ้นจนในที่สุดไม่สามารถเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรได้เช่นกัน
ดังนั้นเมื่อระบบแสงถูกกระตุ้นและปลดปล่อยอิเล็กตรอน แต่ไม่เกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
ตามปกติ อาจนำ�ไปสู่การเกิดอนุมูลอิสระขึ้น โดยวิธีการหนึ่งที่เกิดขึ้นในพืชคือ O
2
ที่อยู่ในลูเมน
ได้รับอิเล็กตรอนและเกิดเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร และก่อให้เกิดอันตราย
ต่อเซลล์ได้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดจะทำ�ให้ระบบแสงในพืช
เสียหายและเป็นอันตรายต่อพืชได้ ดังนั้นการเกิดโฟโตเรสไพเรชันซึ่งทำ�ให้มีการใช้ ATP และ
ได้ ADP เพิ่มขึ้น จึงทำ�ให้การถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสงเกิดได้อย่างต่อเนื่อง และ
ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
โฟโตเรสไพเรชันสัมพันธ์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่ อย่างไร
โฟโตเรสไพเรชันมีความสัมพันธ์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้รูบิสโกเหมือนกัน แต่
โฟโตเรสไพเรชันใช้รูบิสโกในการทำ�ให้ RuBP ตรึง O
2
หรือเป็นการใช้ O
2
สลาย RuBP ส่วน
การสังเคราะห์ด้วยแสงใช้รูบิสโกในการช่วยให้ RuBP ตรึง CO
2
ซึ่งกระบวนการทั้งสองนี้
จะเกิดขึ้นเมื่อมีแสง
ตรวจสอบความเข้าใจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
195