ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน จากนั้นนำ�เข้าสู่เรื่องโครงสร้างของใบพืช C
3
และ
พืช C
4
โดยครูนำ�ภาพสไลด์ใบพืช C
3
และ C
4
ตัดตามขวาง หรือใช้รูป 11.21 ในหนังสือเรียนมาให้
นักเรียนศึกษา และเปรียบเทียบโครงสร้างภายในว่าประกอบด้วยเซลล์ชนิดต่าง ๆ เหมือนหรือ
แตกต่างกันหรือไม่ และการจัดเรียงตัวของเซลล์ในชั้นเนื้อเยื่อต่าง ๆ เป็นอย่างไร
จากการเปรียบเทียบโครงสร้างภายในของใบพืช C
3
และใบพืช C
4
นักเรียนควรจะตอบได้ว่า
พืช C
3
ในชั้นมีโซฟิลล์อาจพบเซลล์ 2 ชนิด คือ แพลิเซดมีโซฟิลล์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก
เรียงชิดกันแน่น และสปองจีมีโซฟิลล์ซึ่งจะเรียงกันอยู่อย่างหลวม ๆ ในเซลล์ทั้ง 2 ชนิดนี้จะมี
คลอโรพลาสต์อยู่ ส่วนใบพืช C
4
เซลล์ในชั้นมีโซฟิลล์ไม่ได้แบ่งอย่างชัดเจนออกเป็นแพลิเซดมีโซฟิลล์
และสปองจีมีโซฟิลล์ นอกจากนี้รอบๆ กลุ่มท่อลำ�เลียงของใบพืช C
4
มีเซลล์พาเรงคิมาล้อมรอบเรียก
บันเดิลชีท ภายในเซลล์บันเดิลชีทมีคลอโรพลาสต์อยู่ด้วย ส่วนใบพืช C
3
อาจมีหรือไม่มีบันเดิลชีท
ล้อมรอบกลุ่มท่อลำ�เลียง ถ้ามีบันเดิลชีทจะไม่เห็นคลอโรพลาสต์ที่ชัดเจนภายในเซลล์
ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของพืชเพียงอย่างเดียวอาจ
ไม่เพียงพอในการระบุให้แน่ชัดว่าพืชชนิดนั้นเป็นพืช
ประเภทใด เช่น ชั้นมีโซฟิลล์ของข้าวซึ่งเป็นพืช C
3
อาจไม่
แบ่งเป็นแพลิเซดมีโซฟิลล์และสปองจีมีโซฟิลล์ชัดเจน
ดังนั้นการระบุว่าพืชชนิดนั้นเป็นพืชประเภทใด นอกจาก
ศึกษาโครงสร้างภายในแล้ว ยังต้องศึกษาด้านอื่นร่วมด้วย
เช่น การศึกษาด้านสรีรวิทยาของพืช (plant physiology)
นอกจากนี้ ใบพืช C
3
อาจมีหรือไม่มีเซลล์บันเดิลชีทล้อมรอบกลุ่มท่อลำ�เลียง ถ้ามีบันเดิลชีท มัก
ไม่พบคลอโรพลาสต์ในเซลล์บันเดิลชีทเมื่อสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
เนื่องจากอาจไม่มีคลอโรพลาต์ หรือคลอโรพลาสต์ในเซลล์บันเดิลชีทมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้
ยังไม่ทราบหน้าที่ของคลอโรพลาสต์ในเซลล์บันเดิลชีทที่แน่ชัดโดยยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัย
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
โครงสร้างภายใน
ของใบข้าวตัดตามขวาง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
197