ครูให้นักเรียนอภิปรายโดยใช้รูป 11.19 ในหนังสือเรียน และคำ�ถามดังนี้
จากที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการคายน้ำ�ของพืช หากพืชอยู่ในภาวะร้อนหรือแห้งแล้ง
พืชจะตอบสนองอย่างไร
เมื่อรูปากใบของพืชปิดจะส่งผลต่อปริมาณ CO
2
และ O
2
อย่างไร
ถ้ามี CO
2
น้อย RuBP จะสามารถตรึง CO
2
ได้เหมือนเดิมหรือไม่
ถ้า RuBP สามารถตรึง O
2
ได้ จะมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่
จากการอภิปรายนักเรียนควรตอบได้ว่าเมื่อพืชอยู่ในภาวะร้อนหรือแห้งแล้งจะมีการปิดรูปากใบ
ซึ่งส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สของพืช ทำ�ให้พืชได้รับ CO
2
น้อยลง จึงทำ�ให้พืชตรึง CO
2
ได้น้อยลง
และหาก RuBP สามารถตรึง O
2
ได้ ก็อาจทำ�ให้เกิดการตรึง O
2
แทนการตรึง CO
2
ซึ่งทำ�ให้มีปริมาณ
RuBP น้อยลงที่จะตรึง CO
2
จากนั้นครูใช้รูป 11.20 ในหนังสือเรียนเพื่ออธิบายเกี่ยวกับโฟโตเรสไพเรชันว่า ในขณะที่พืช
ตรึง CO
2
อาจมีการตรึง O
2
เกิดขึ้นด้วย โดย RuBP มีบริเวณเร่งที่สามารถจับได้ทั้งกับ CO
2
และ O
2
เมื่อมีการสะสมของ O
2
มากขึ้น RuBP มีโอกาสจับกับ O
2
มากขึ้น และจับ CO
2
ได้น้อยลง กระบวนการ
ที่ RuBP ตรึง O
2
นี้เรียกว่า โฟโตเรสไพเรชัน ซึ่งจะทำ�ให้พืชสลายสารอินทรีย์และสูญเสียคาร์บอนโดย
ถูกปล่อยออกมาในรูป CO
2
ทำ�ให้มี PGA ที่นำ�เข้าสู่วัฏจักรคัลวินน้อยลง โดยในโฟโตเรสไพเรชัน
จะมีการใช้พลังงานจาก ATP อีกด้วย ซึ่งจะเห็นว่าโฟโตเรสไพเรชันเป็นกระบวนการที่คล้ายกับ
การหายใจระดับเซลล์ โดยครูอาจใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนถามนักเรียน ดังนี้
ถ้าพืชเกิดโฟโตเรสไพเรชันมากจะเกิดผลอย่างไร
ถ้าพืชเกิดโฟโตเรสไพเรชันมากจะทำ�ให้ความสามารถในการตรึง CO
2
ในวัฏจักรคัลวินลดลง
เนื่องจากมี RuBP ลดลงเพราะ RuBP ส่วนหนึ่งจับกับ O
2
ทำ�ให้มี RuBP เหลือน้อยลงสำ�หรับ
การตรึง CO
2
นอกจากนี้การใช้ RuBP เป็นสารตั้งต้นในการเกิดปฏิกิริยาในกระบวนการ
โฟโตเรสไพเรชันจะได้ PGA น้อยกว่าการใช้ RuBP เป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยาในขั้นตอน
คาร์บอกซิเลชัน จึงได้สารผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำ�ตาลน้อยกว่าด้วย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
193