สาระสำ�คัญ
สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนจะมีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
ในขณะที่สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างซับซ้อนจะมีระบบหมุนเวียนเลือดทำ�หน้าที่ลำ�เลียงสารไปยังส่วน
ต่างๆ ของร่างกาย ระบบหมุนเวียนเลือดมี 2 แบบ คือ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด พบในสัตว์จำ�พวก
หอย แมลง กุ้ง ส่วนระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดพบในไส้เดือนดิน สัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมทั้งมนุษย์
ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด หัวใจทำ�หน้าที่รับ
และสูบฉีดเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวและคลายตัวทำ�ให้เกิด
ความดันในหลอดเลือดและชีพจร ความดันเลือดและชีพจรมีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ
ไขมันในหลอดเลือด กิจกรรมของร่างกาย อายุ และเพศ
หลอดเลือด มีลักษณะเป็นท่อสำ�หรับให้เลือดลำ�เลียงสารต่างๆ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ หลอดเลือด
อาร์เทอรี หลอดเลือดฝอย และหลอดเลือดเวน
เลือดของมนุษย์ประกอบด้วย พลาสมา เซลล์เม็ดเลือดและเพลตเลต พลาสมาประกอบด้วย น้ำ�
โปรตีน สารอาหาร ฮอร์โมน ของเสียและสารอื่น ๆ เซลล์เม็ดเลือดประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง
ทำ�หน้าที่ลำ�เลียงแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เซลล์เม็ดเลือดขาวทำ�หน้าที่ทำ�ลาย
เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม และสร้างภูมิคุ้มกัน ส่วนเพลตเลตทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
เลือดของมนุษย์จำ�แนกตามหมู่เลือดระบบ ABO ได้เป็นเลือดหมู่ A B AB และ O และสามารถ
จำ�แนกตามระบบ Rh ได้เป็นเลือดหมู่ Rh
+
และ Rh
-
ตามชนิดของแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
หมู่เลือดมีความสำ�คัญต่อการให้และการรับเลือด ผู้ให้และผู้รับเลือดควรมีเลือดหมู่เดียวกันจึงจะ
ปลอดภัยที่สุด
ระบบน้ำ�เหลืองประกอบด้วยน้ำ�เหลือง หลอดน้ำ�เหลือง และต่อมน้ำ�เหลือง โดยน้ำ�เหลืองจะถูก
ลำ�เลียงผ่านหลอดน้ำ�เหลืองฝอยและหลอดน้ำ�เหลือง ผ่านต่อมน้ำ�เหลืองซึ่งเป็นบริเวณที่มีการ
ตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่มากับน้ำ�เหลือง จึงพบเซลล์เม็ดเลือดขาวจำ�นวนมากในต่อมน้ำ�เหลือง
จากนั้นน้ำ�เหลืองจะถูกลำ�เลียงกลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง
ชีววิทยา เล่ม 4
93