ฟองน้ำ�และไฮดรามีระบบหมุนเวียนเลือดในการลำ�เลียงสารหรือไม่ อย่างไร
ฟองน้ำ�และไฮดราไม่มีระบบหมุนเวียนเลือดในการลำ�เลียงสาร เนื่องจากฟองน้ำ�ประกอบด้วย
เซลล์ที่รวมกลุ่มกัน แต่ยังไม่เป็นเนื้อเยื่ออย่างแท้จริง ส่วนไฮดรามีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น โดยสารต่าง ๆ
แพร่จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์โดยตรง
พลานาเรียมีโครงสร้างร่างกายซับซ้อนกว่าไฮดรา แต่สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้ทั้งที่มีวิธีการลำ�เลียง
สารเช่นเดียวกับไฮดรา เพราะเหตุใด
เพราะแม้ว่าพลานาเรียจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไฮดรา แต่มีลำ�ตัวแบนทำ�ให้มีพื้นที่ผิวสัมผัส
กับสิ่งแวดล้อมมากพอที่จะสามารถแลกเปลี่ยนสารกับสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง และมีการลำ�เลียง
สารระหว่างเซลล์ในร่างกาย
ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษารูป 15.2 ในหนังสือเรียนเพื่อศึกษาโครงสร้างที่ใช้ในการลำ�เลียงสาร
ในร่างกายของสัตว์ เช่น หอย แมลง ไส้เดือนดิน ปลา และหนู จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปได้ว่า
สัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายขนาดใหญ่และซับซ้อนจะอาศัยการแลกเปลี่ยนสารกับสิ่งแวดล้อมและ
การลำ�เลียงสารภายในร่างกายด้วยวิธีการที่ซับซ้อนกว่าการแพร่โดยตรง เนื่องจากสารต่าง ๆ ของ
ร่างกาย เช่น แก๊สออกซิเจนจะต้องใช้เวลานานในการแพร่จากภายนอกไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
อย่างทั่วถึงจึงจำ�เป็นต้องมีระบบหมุนเวียนเลือดช่วยในการลำ�เลียงสารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องการลำ�เลียงสารของหอย แมลง ไส้เดือนดิน ปลา และหนู
พร้อมทั้งใช้รูป 15.2 ประกอบการอธิบายเสริมความรู้ให้นักเรียน แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและ
สรุปโดยใช้ตัวอย่างคำ�ถามดังนี้
หอย แมลง ไส้เดือนดิน ปลา และหนู มีการลำ�เลียงสารเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร
แตกต่างกัน หอยและแมลง มีการลำ�เลียงสารโดยอาศัยระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ส่วน
ไส้เดือนดิน ปลา และหนูมีการลำ�เลียงสารโดยอาศัยระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดและแบบเปิดแตกต่างกันอย่างไร ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดเลือดจะไหลอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลา การแลกเปลี่ยนสาร
ระหว่างเลือดกับเนื้อเยื่อจะผ่านทางผนังหลอดเลือดฝอย ส่วนระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดใน
บางช่วงเลือดจะไหลออกมาสู่ช่องรับเลือดต่าง ๆ ตามลำ�ตัว เนื่องจากหลอดเลือดไม่ได้ติดต่อ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง
ชีววิทยา เล่ม 4
97