แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนเรื่องการลำ�เลียงสารในร่างกายของมนุษย์ โดยใช้คำ�ถามเพิ่มเติม ซึ่ง
คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย ดังนี้
มนุษย์มีระบบหมุนเวียนเลือดแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ หรือไม่
จากนั้นทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ โดยใช้คำ�ถาม
เพิ่มเติม ดังนี้
มีอวัยวะอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการลำ�เลียงสารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
อวัยวะเหล่านี้มีรูปร่างลักษณะและหน้าที่การทำ�งานอย่างไร
นักเรียนอาจตอบได้ว่า อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการลำ�เลียงสารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ได้แก่ หัวใจ หลอดเลือด ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นวงจร
จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษารูป 15.3 และ 15.4 เพื่อสรุปให้ได้ว่า หัวใจอยู่ภายในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ
แทรกอยู่ระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจทำ�หน้าที่สูบฉีดเลือดแล้วลำ�เลียงผ่าน
หลอดเลือด โดยเลือดทำ�หน้าที่ลำ�เลียงสารต่าง ๆ เช่น สารอาหาร แก๊ส ของเสีย และสารอื่น ๆ
ไปยังปอดและส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบดังนี้
ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์เป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดหรือแบบปิด เพราะเหตุใด
ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์เป็นแบบปิด เพราะเลือดไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดตลอด
เวลา
15.2.1 หัวใจ
ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 15.1 เพื่อศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ�นม พร้อม
ทั้งสืบค้นข้อมูลและบอกความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของหัวใจแต่ละห้อง ลิ้นหัวใจ
รวมทั้งหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจ ครูชี้แจงเพิ่มเติมว่าหัวใจหมูหรือหัวใจวัวนั้นมีโครงสร้างใกล้เคียง
กับหัวใจของมนุษย์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง
ชีววิทยา เล่ม 4
100