Table of Contents Table of Contents
Previous Page  84 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 84 / 254 Next Page
Page Background

นอกจากปัจจัยที่นักเรียนได้ออกแบบการทดลอง ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อปริมาตรของ

อากาศที่หายใจออกอีกหรือไม่ อย่างไร

คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการออกแบบการทดลองของนักเรียน ปัจจัยที่ส่งผล

ต่อปริมาตรของอากาศที่หายใจออกอาจมีดังนี้ เพศ ขนาดของร่างกาย อาชีพ และ

การออกกำ�ลังกาย

จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาปริมาตรของอากาศภายในปอดขณะหายใจเข้าและหายใจออกที่วัด

ด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์จากรูป 14.16 ในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคำ�ถาม

ในการหายใจปกติแต่ละครั้ง ปริมาตรของอากาศในการหายใจเข้าเป็นเท่าไร และปริมาตรของ

อากาศในการหายใจออกเป็นเท่าไร

ปริมาตรของอากาศในการหายใจเข้าเป็น 500 mL และปริมาตรของอากาศในการหายใจออก

เป็น 500 mL

ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้าเต็มที่และการหายใจออกเต็มที่ต่างกันหรือไม่ อย่างไร

แตกต่างกัน ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้าเต็มที่จะมีปริมาตรอากาศในปอดสูงสุดที่

ประมาณ 5,800 mL ขณะที่หายใจออกเต็มที่จะมีปริมาตรของอากาศประมาณ 4,600 mL และ

ยังคงมีอากาศตกค้างในปอดประมาณ 1,200 mL

เมื่อหายใจออกปกติจะมีปริมาตรของอากาศที่ตกค้างในปอดเป็นเท่าไร

2,400 mL

มนุษย์สามารถหายใจเอาอากาศออกจากปอดจนหมดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ไม่ได้ จะมีอากาศที่ตกค้างอยู่ภายในปอดเนื่องจากการทำ�งานของกล้ามเนื้อกะบังลมและ

กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงแถบนอกทำ�งานได้จำ�กัด และภายในถุงลมยังคงมีอากาศค้างอยู่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 14 | ระบบหายใจ

ชีววิทยา เล่ม 4

72