Table of Contents Table of Contents
Previous Page  80 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 80 / 254 Next Page
Page Background

อภิปรายและสรุปผล

ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลอง ซึ่งนักเรียนควรอธิบายโดยกล่าวถึงปริมาตร

ความดันอากาศ และทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ โดยครูอาจแนะนำ�ให้นักเรียนวาดภาพ

แบบจำ�ลองแสดงการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ จากนั้นอภิปรายว่าสามารถนำ�ผลการทำ�

กิจกรรมไปอธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออกของมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งควรได้

ข้อสรุปว่า

ถ้ากล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัว กะบังลมจะโค้งมากขึ้น ทำ�ให้ปริมาตรช่องอกลดลง ความดัน

อากาศในปอดเพิ่มขึ้น เกิดการหายใจออก เช่นเดียวกับการดันลูกสูบไปด้านหน้า ทำ�ให้

ปริมาตรอากาศภายในหลอดลดลง ความดันอากาศในลูกโป่งเพิ่มขึ้น อากาศเคลื่อนที่ออก

จากลูกโป่ง ทำ�ให้ลูกโป่งหดตัว

ถ้ากล้ามเนื้อกะบังลมหดตัว กะบังลมเคลื่อนต่ำ�ลงและแบนราบทำ�ให้ปริมาตรช่องอกเพิ่มขึ้น

ความดันอากาศในปอดลดลง เกิดการหายใจเข้า เช่นเดียวกับการดึงลูกสูบไปด้านหลัง ทำ�ให้

ปริมาตรอากาศภายในหลอดเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในลูกโป่งลดลง อากาศภายนอกมี

ความดันสูงกว่าจะเคลื่อนที่เข้าสู่ลูกโป่ง ทำ�ให้ลูกโป่งขยายขนาด

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

ส่วนใดของชุดทดลองที่เปรียบได้กับปอดและกะบังลม

ลูกโป่งเปรียบเทียบได้กับปอด และลูกสูบเปรียบเทียบได้กับกะบังลม

การดันลูกสูบไปด้านหน้าเปรียบเทียบได้กับกระบวนการใดในการหายใจ

การยกตัวของกะบังลมในการหายใจออก

ในการทดลองที่ใช้นิ้วหัวแม่มือปิดรู ความดันอากาศในหลอดฉีดยาและในลูกโป่งระหว่าง

ดันลูกสูบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และระหว่างดึงลูกสูบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ในขณะที่ดันลูกสูบ ความดันอากาศในกระบอกหลอดฉีดยาและในลูกโป่งเพิ่มขึ้น ทำ�ให้

อากาศในลูกโป่งเคลื่อนที่ออก ส่วนในขณะที่ดึงลูกสูบ ความดันอากาศในกระบอกหลอด

ฉีดยาและในลูกโป่งลดลง ทำ�ให้อากาศจากภายนอกเคลื่อนที่เข้ามา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 14 | ระบบหายใจ

ชีววิทยา เล่ม 4

68