จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าอากาศเคลื่อนออกจากขวดและเคลื่อนเข้าไปในขวดได้
อย่างไร นักเรียนควรสรุปได้ว่าการเคลื่อนที่ของอากาศเกิดจากความแตกต่างของความดันของอากาศ
ภายในขวดและภายนอกขวด เมื่อบีบขวดเปรียบเทียบได้กับขณะที่หายใจออก ซึ่งปริมาตรลดลง อากาศ
ภายในมีความดันเพิ่มขึ้นอากาศจะไหลออกมาสู่ภายนอก เมื่อปล่อยมือเปรียบเทียบได้กับการหายใจเข้า
ซึ่งปริมาตรเพิ่มขึ้น ความดันลดลง อากาศภายนอกจะไหลเข้าสู่ปอด
ครูอาจให้นักเรียนทำ�ตามกล่องลองทำ�ดูในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบ
การเปลี่ยนแปลงของกระดูกซี่โครงขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก ซึ่งนักเรียนจะสังเกตว่าขณะที่
หายใจเข้ากระดูกซี่โครงยกสูงขึ้น และขณะหายใจออกกระดูกซี่โครงจะลดต่ำ�ลง ครูอธิบายเพิ่มเติม
ว่าการหายใจเกิดจากการทำ�งานร่วมกันของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง
ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศในช่องอก
จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 14.2
ว่าความดันอากาศภายในปอดเปลี่ยนแปลง
ได้อย่างไร
นักเรียนทำ�กิจกรรม 14.2 เพื่อศึกษาการจำ�ลองการทำ�งานของกล้ามเนื้อกะบังลมในขณะ
หายใจเข้าและหายใจออก
จุดประสงค์
ทดลองและอธิบายการทำ�งานของกล้ามเนื้อกะบังลมในขณะหายใจเข้าและหายใจออก
เวลาที่ใช้
(โดยประมาณ)
20 นาที
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. หลอดฉีดยาพลาสติกใส ขนาด 50 mL
2. ลูกโป่ง
3. จุกยางเบอร์ 13 ที่มีรูตรงกลาง 1 รู
1 อัน
1 อัน
1 อัน
กิจกรรม 14.2 การจำ�ลองการทำ�งานของกล้ามเนื้อกะบังลม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
66