แนวการจัดกิจกรรม
1. ครูอาจนำ�เข้าสู่กิจกรรมโดยใช้สถานการณ์ดังนี้ ถ้าโรงเรียนกำ�ลังคัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้า
ร่วมแข่งขันว่ายน้ำ� ให้นักเรียนหาตัวแทนในชั้นเรียนโดยส่วนหนึ่งพิจารณาจากนักเรียนที่มี
ความจุปอดมากที่สุดจากการวัดปริมาตรของอากาศในการหายใจออก
2. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายก่อนการทดลอง โดยใช้ตัวอย่างคำ�ถามดังนี้
จากกิจกรรม นักเรียนจะวัดปริมาตรของอากาศในการหายใจออกได้อย่างไร
วัดจากปริมาตรของอากาศที่ไปแทนที่น้ำ�
นักเรียนจะมีวิธีอย่างไร เพื่อควบคุมให้ได้ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกต้องและแม่นยำ�
1. ขวดบรรจุน้ำ�ควรมีสเกลที่ถูกต้องและชัดเจน
2. การหายใจต้องสูดอากาศเข้าปอดให้เต็มที่แล้วเป่าลมหายใจออกให้มากที่สุดใน
ทุกครั้งของการทดลอง
3. ทดลองซ้ำ�อีก 2 ครั้ง และหาค่าเฉลี่ย
3. เมื่อเปลี่ยนผู้ทดลองต้องทำ�ความสะอาดสายยางทุกครั้ง
4. เมื่อทำ�การทดลองเสร็จ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น
5. ในการทดลองหาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรของอากาศที่หายใจออกในแต่ละบุคคล อาจ
เปรียบเทียบปัจจัยในด้านต่าง ๆ ดังนี้ เพศ ขนาดของร่างกาย อาชีพ การออกกำ�ลัง
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยทำ�การทดลองเช่นเดียวกับกิจกรรม 14.3 โดยกำ�หนดตัวแปรต้น
แตกต่างกันในแต่ละครั้ง เช่น ถ้าต้องการทราบว่าปริมาตรของอากาศที่หายใจออกของ
บุคคลที่มีอายุต่างกันจะแตกต่างกันหรือไม่ กำ�หนดตัวแปรดังนี้
ตัวแปรต้น คือ กลุ่มคนที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อหาค่าเฉลี่ย
ตัวแปรตาม คือ ปริมาตรของอากาศในการหายใจออก
ตัวแปรควบคุม คือ สภาพของร่างกาย เช่น ขณะพัก ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
เพศเดียวกัน น้ำ�หนัก และส่วนสูงใกล้เคียงกัน
เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม
ปริมาตรของอากาศที่หายใจออกเต็มที่แต่ละครั้งเท่ากันหรือไม่ อย่างไร
คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียน เช่น นักเรียนอาจตอบ
ว่าปริมาตรของอากาศมีค่าประมาณ4,500mL ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกันในทุกครั้ง หรือนักเรียน
อาจตอบว่ามีค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากการเป่าลมหายใจแต่ละครั้งอาจเป่าลมไม่เต็มที่แตกต่าง
จากครั้งอื่นๆ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
71