การที่กระดูกซี่โครงยกสูงขึ้นหรือลดต่ำ�ลงสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศในปอด
อย่างไร
กระดูกซี่โครงยกสูงขึ้นทำ�ให้ความดันอากาศในปอดลดลง เมื่อกระดูกซี่โครงลดต่ำ�ลงทำ�ให้ความ
ดันอากาศในปอดเพิ่มขึ้น
ครูให้นักเรียนวัดอัตราการหายใจเข้าและหายใจออกของตนเองเป็นเวลา 1 นาที ในขณะนั่งพัก
และเปรียบเทียบกับข้อมูลอัตราการสูดลมหายใจของผู้ใหญ่ในขณะพัก จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�เข้า
สู่กิจกรรมว่า
การหายใจเข้าและหายใจออกแต่ละครั้งมีปริมาตรของอากาศเท่าใดและมีความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลหรือไม่ อย่างไร
แล้วให้นักเรียนศึกษาปริมาตรของอากาศในการหายใจออกของมนุษย์
จากกิจกรรม 14.3
จุดประสงค์
1. วัดปริมาตรของอากาศในการหายใจออกของมนุษย์
2. ออกแบบการทดลองและทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรของอากาศที่หายใจออก
เวลาที่ใช้
(โดยประมาณ)
1 ชั่วโมง
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. ขวดพลาสติกใสความจุ 5 L
2. ถ้วยตวงขนาด 500 mL
3. ปากกาสำ�หรับทำ�เครื่องหมาย
4. สายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 cm ยาว 60 cm
5. กะละมังพลาสติกขนาดความสูง 15-20 cm
6. น้ำ�
1 ขวด
1 ใบ
1 ด้าม
1 เส้น
1 ใบ
-
กิจกรรม 14.3 ปริมาตรของอากาศในการหายใจออกของมนุษย์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
70