นักเรียนควรสรุปได้ว่าการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์เกิดขึ้น 2 บริเวณ คือ บริเวณถุงลมในปอด
กับหลอดเลือดฝอย และบริเวณเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ กับหลอดเลือดฝอย โดยบริเวณถุงลมในปอด
อากาศที่หายใจเข้าจะมี O
2
สูง มีความดันย่อยของ O
2
สูง จึงแพร่จากถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย
รอบๆ ถุงลม จากนั้น O
2
จะลำ�เลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่ง O
2
ใน
หลอดเลือดฝอยมีความดันย่อยสูงกว่าในเนื้อเยื่อจึงแพร่เข้าสู่เซลล์ ในทางกลับกัน CO
2
ภายในเซลล์มี
ความดันย่อยสูงกว่าจะแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดฝอย เมื่อเลือดที่มี CO
2
สูงเคลื่อนที่ไปยัง
ถุงลมในปอด CO
2
จะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยสู่ถุงลม และหายใจออกเพื่อนำ� CO
2
สู่สิ่งแวดล้อม
จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
บริเวณใดของร่างกายมีความดันย่อยของ O
2
สูงที่สุด และต่ำ�ที่สุด เพราะเหตุใด
บริเวณที่มีความดันย่อยของ O
2
สูงที่สุดคือบริเวณทางเดินหายใจส่วนที่รับอากาศจากภายนอก
เข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากอากาศที่หายใจเข้ามี O
2
เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ส่วนบริเวณ
ที่มีความดันย่อยของ O
2
ต่ำ�ที่สุดคือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากเนื้อเยื่อใช้ O
2
ใน
ปฏิกิริยาต่าง ๆ ของเมแทบอลิซึม
บริเวณใดของร่างกายมีความดันย่อยของ CO
2
สูงที่สุด และต่ำ�ที่สุด เพราะเหตุใด
บริเวณที่ความดันย่อยของ CO
2
สูงที่สุดคือบริเวณเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากเซลล์
ต่าง ๆ มีการหายใจระดับเซลล์และเกิด CO
2
ส่วนบริเวณที่มีความดันย่อยของ CO
2
ต่ำ�ที่สุดคือ
บริเวณทางเดินหายใจส่วนที่รับอากาศจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากอากาศที่หายใจเข้า
มี CO
2
เป็นส่วนประกอบในปริมาณน้อย
เซลล์ของเนื้อเยื่อปอดต้องการ O
2
หรือไม่ เพราะเหตุใด
เซลล์ของเนื้อเยื่อปอดต้องการ O
2
เพราะเนื้อเยื่อปอดต้องการพลังงานในการทำ�กิจกรรมใน
เซลล์เช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย
ครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายว่า
มนุษย์มีการลำ�เลียง O
2
จากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อ
ใช้ในการหายใจระดับเซลล์ได้อย่างไร และลำ�เลียง CO
2
จากเนื้อเยื่อไปยังปอดได้อย่างไร
จากนั้น
ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดและโครงสร้างของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบิน
เป็นองค์ประกอบ แล้วให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการลำ�เลียง O
2
และ CO
2
ในร่างกาย
โดยอาจใช้รูป 14.12-14.14 ในหนังสือเรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 14 | ระบบหายใจ
ชีววิทยา เล่ม 4
61