Table of Contents Table of Contents
Previous Page  169 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 169 / 194 Next Page
Page Background

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

ข้อตกลงเกี่ยวกับการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก

ประเทศไทยได้เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต ซึ่งว่าด้วยการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของ

ประเทศในกลุ่มภาคีในปี พ.ศ.2542 และให้สัตยาบันในปี พ.ศ.2545 และต่อมาได้เข้า

ร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สมัยที่ 21 (COP21) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี พ.ศ. 2558 ซึ่งว่าด้วย

การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของประเทศในกลุ่มภาคี การประชุมดังกล่าวถือเป็น

ครั้งแรกที่ประเทศทั่วโลกบรรลุข้อตกลงทางสภาวะอากาศ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น

ข้อตกลงประวัติศาสตร์ มีเป้าหมายหลักเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้

น้อยกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

แนวการวัดและประเมินผล

ด้านความรู้

- สาเหตุของปัญหาที่เกิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดกับ

มนุษย์และสิ่งแวดล้อม และแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหา

สิ่งแวดล้อม จากการอภิปรายและการอธิบาย และผลการทำ�กิจกรรม

ด้านทักษะ

- การสังเกต การจำ�แนกประเภท การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็น

จากข้อมูล การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและ

การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์และนวัตกรรม และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีม และ

ภาวะผู้นำ� จากการสืบค้นข้อมูล การทำ�กิจกรรม และพฤติกรรมในการนำ�เสนอ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

- การใช้วิจารณญาณ ความใจกว้าง และความซื่อสัตย์ จากการอภิปรายและการอธิบาย การ

ทำ�กิจกรรม และพฤติกรรมในการนำ�เสนอ

บทที่ 5 | ชีวิตในสิ่งแวดล้อม

วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

155

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี