สาระสำ�คัญ
ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในด้านต่างๆ เช่น ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมตัดต่อและ
ถ่ายยีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมสามารถทำ�ได้ทั้งในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์
การเพิ่มจำ�นวนของ DNA ที่เหมือนๆ กันนั้นเรียกว่า การโคลนดีเอ็นเอและถ้า DNA บริเวณ
ดังกล่าวเป็นยีนเรียกว่า การโคลนยีน การเพิ่มจำ�นวน DNA อาจทำ�ได้โดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย
และเทคนิคพอลิเมอเรสเชนรีแอกชันหรือ PCR
การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรียเพื่อสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ อาจทำ�ได้โดยใช้
เอนไซม์ตัดจำ�เพาะตัดสาย DNA ที่มียีนที่ต้องการและตัดพลาสมิดที่จุดตัดจำ�เพาะ เมื่อตัดสาย DNA
ต่างโมเลกุลกันด้วยเอนไซม์ตัดจำ�เพาะชนิดเดียวกัน ปลายสาย DNA จะมีลำ�ดับเบสที่เข้าคู่กันได้ และ
เชื่อมต่อกันได้ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสทำ�ให้ได้เป็นดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ จากนั้นถ่ายดีเอ็นเอ
รีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านเพื่อเพิ่มจำ�นวน การเพิ่มจำ�นวน DNA ด้วยเทคนิค PCR สามารถ
เพิ่มปริมาณของ DNA บริเวณที่ต้องการจากดีเอ็นเอแม่แบบที่มีปริมาณน้อยผ่านกระบวนการจำ�ลอง
ดีเอ็นเอซ้ำ�กันหลายๆ รอบในหลอดทดลอง
ผลิตภัณฑ์ DNA ที่ได้จาก PCR สามารถตรวจสอบผลการเพิ่มปริมาณ DNA และหาขนาดของ
โมเลกุล DNA ด้วยวิธีเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส ซึ่งเป็นเทคนิคการแยกโมเลกุล DNA ที่มีขนาดแตกต่างกัน
ในสนามไฟฟ้าผ่านตัวกลางที่เป็นวุ้นแล้วเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุลดีเอ็นเอมาตรฐานที่
ทราบขนาด และสามารถวิเคราะห์หาลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ด้วยเครื่องหาลำ�ดับนิวคลีโอไทด์แบบอัตโนมัติ
เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ในการวินัจฉัยโรค และใช้ใน
การสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม การประยุกต์ในด้านการเกษตรในการสร้างพืชหรือสัตว์ที่มีสมบัติ
ตามต้องการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ในด้านนิติวิทยาศาสตร์สามารถ
ใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในการพิสูจน์ตัวบุคคลและหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด อย่างไรก็ตามการใช้
เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอต้องคำ�นึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวจริยธรรม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
ชีววิทยา เล่ม 2
139