แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนศึกษาภาพนำ�บทแล้วถามนักเรียนว่า
ปลาม้าลายเรืองแสง
ได้อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์สร้างปลาม้าลายเรืองแสงเพื่ออะไร
นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้
ข้อมูลจากคำ�บรรยายใต้ภาพเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ปลาม้าลายเรืองแสงเกิดจากการใช้เทคนิค
พันธุวิศวกรรมเคลื่อนย้ายยีนที่สร้างโปรตีนเรืองแสงจากแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลใส่ให้ปลาม้าลาย
จุดประสงค์ของการทำ�วิจัยปลาเรืองแสงคือ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำ�ของแหล่งน้ำ�โดยการ
ดัดแปรพันธุกรรมปลาม้าลายให้สร้างโปรตีนเรืองแสงเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารพิษชนิดต่าง ๆ แต่
ในปัจจุบันมีปลาม้าลายที่เรืองแสงได้ตลอดเวลาและนำ�มาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
จากนั้นทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) โดยใช้คำ�ถาม
และภาพถ่ายของ GMOs ประกอบการอภิปราย ครูตั้งคำ�ถามดังนี้
ตัวอย่าง GMOs ที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง และมีลักษณะต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไปอย่างไร
นักเรียนตอบคำ�ถามโดยใช้ความรู้เดิม เช่น
- พืชที่สร้างสารที่เป็นพิษต่อแมลงได้ เช่น ข้าวโพด BT และฝ้าย BT ที่สร้างโปรตีนที่เป็นพิษ
ต่อแมลง เมื่อแมลงกินเข้าไปจะตาย
- พืชที่ทนสารพิษได้ เช่น ถั่วเหลืองที่ทนต่อสารเคมีฆ่าวัชพืช
- พืชที่เก็บได้นานขึ้น เช่น มะเขือเทศดัดแปรพันธุกรรมที่สุกช้า
- สัตว์ที่เจริญเติบโตเร็ว เช่น ปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมที่เจริญเร็วกว่าแซลมอนปกติ
- แบคทีเรียที่สร้างอินซูลิน สามารถนำ�อินซูลินมาใช้ลดระดับน้ำ�ตาลในเลือดในผู้ป่วย
โรคเบาหวาน
นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ�วันหลายชนิดมี GMOs เป็น
ส่วนประกอบ และทราบได้อย่างไร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
ชีววิทยา เล่ม 2
141