Table of Contents Table of Contents
Previous Page  159 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 159 / 284 Next Page
Page Background

การเรียกชื่อเอนไซม์ตัดจำ�เพาะใช้ระบบอักษร 3 ตัว พิมพ์ตัวเอน ตัวอักษรตัวแรกของ

เอนไซม์ คือ อักษรตัวแรกของจีนัสแบคทีเรียที่แยกเอนไซม์นั้นออกมา ใช้อักษรตัวใหญ่ตามด้วย

อักษร 2 ตัวแรกของชื่อที่ระบุสปีชีส์ (specific epithet) ของแบคทีเรียใช้อักษรตัวเล็ก

ต่อไปเป็นสายพันธุ์ของแบคทีเรีย ตัวสุดท้ายเป็นเลขโรมันแสดงลำ�ดับของเอนไซม์ที่แยกได้จาก

แบคทีเรียดังกล่าวซึ่งจะพิมพ์ตัวตรง เช่น

EcoR

I (อ่านว่า อีโคอาร์วัน) ที่ได้จาก

Escherichia coli

RY13

E มาจาก

Escherichia

co มาจาก

coli

R มาจากสายพันธุ์ RY13

I

มาจากลำ�ดับของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะที่แยกได้จากแบคทีเรียสายพันธุ์นี้

Pst

I (อ่านว่า พีเอสทีวัน) ที่ได้จาก

Providencia stuartii

P

มาจาก

Providencia

st

มาจาก

stuartii

I

มาจากลำ�ดับของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะที่แยกได้จากแบคทีเรียสายพันธุ์นี้

จากการสืบค้นและการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า ถ้าตัดสาย DNA ที่ต้องการโคลนและ

พลาสมิดด้วยเอนไซม์ตัดจำ�เพาะชนิดเดียวกันที่ให้ปลายเหนียวจะทำ�ให้มีปลายสายเดี่ยวที่มีเบสคู่สม

กันพอดี และสามารถนำ�มาเชื่อมต่อกันได้ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสที่สามารถเร่งปฏิกิริยา

การสร้างพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่าง DNA 2 โมเลกุลให้เชื่อมต่อกันทำ�ให้ได้เป็นดีเอ็นเอ

รีคอมบิแนนท์

ครูควรเน้นให้นักเรียนเชื่อมโยงได้ว่า การสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์เป็นเทคนิคการตัดและ

เชื่อมต่อ DNA ต่างโมเลกุลเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเทคนิคพันธุวิศวกรรม แต่ยังไม่สามารถนำ�ดีเอ็นเอ

รีคอมบิแนนท์ไปใช้ประโยชน์ได้ จะต้องมีวิธีการที่จะให้ดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์คงอยู่และเพิ่มจำ�นวน

เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับการถ่ายดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย และคัดเลือก

โคลนที่ต้องการจากหนังสือเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยมีประเด็นการอภิปรายดังนี้

การเพิ่มจำ�นวนดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ทำ�ได้อย่างไร

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

147