ในการปรับปรุงพันธุ์พืชนั้นต้องการให้ได้
ต้นเตี้ย
เพื่อให้เก็บเกี่ยวง่าย
ฝักใหญ่
เพื่อให้ผลผลิตสูง
หวานมาก
ทำ�ให้รสดีขึ้นกว่าเดิม และ
ทนแล้ง
เพื่อปลูกในฤดูแล้งได้
เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะได้ลูกที่มีลักษณะที่หลากหลาย เป็นไปตามกฎแห่งการแยกและ
กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระดังที่ได้เรียนมาแล้ว ซึ่งอาจจะได้ลูกที่มีลักษณะตามต้องการและลักษณะ
ที่ไม่ต้องการอยู่ร่วมกัน การจะคัดเลือกลูกที่มีลักษณะตามต้องการได้ทั้งหมดนั้น ต้องใช้ระยะเวลานาน
เนื่องจากต้องมีการผสมกันหลายรุ่น เพื่อคัดเลือกยีนที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการไว้ นอกจากนี้การ
ปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยวิธีนี้ จะทำ�ได้ก็ต่อเมื่อพ่อแม่พันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
เพื่อให้สามารถผสมพันธุ์กันได้ ไม่สามารถนำ�สิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่นที่มีลักษณะที่ต้องการมาผสมพันธุ์ด้วยได้
ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมีการพัฒนาไปอย่างมาก สามารถคัดเลือกยีนที่ควบคุม
ลักษณะที่ต้องการจากจุลินทรีย์ พืช สัตว์ และมนุษย์ แล้วนำ�ยีนนั้นถ่ายเข้าสู่สิ่งมีชีวิตที่ต้องการ
ปรับแต่งยีนใหม่ให้มีลักษณะตามต้องการโดยการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม นอกจากนี้ยังสามารถใช้
เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในการศึกษายีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ และการใช้เครื่องหมายโมเลกุลมา
ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อลดระยะเวลาได้อีกด้วย ซึ่งจะได้ศึกษาในบทเรียนนี้
ครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่เนื้อหา ดังนี้
พันธุวิศวกรรมมีกระบวนการอย่างไร และสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
นักเรียนอภิปรายร่วมกัน ซึ่งคำ�ตอบขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ตาม
ครูยังไม่สรุปเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษารายละเอียดจากหนังสือเรียนในหัวข้อพันธุวิศวกรรมและ
การโคลนยีน และสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
ชีววิทยา เล่ม 2
143