Table of Contents Table of Contents
Previous Page  157 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 157 / 284 Next Page
Page Background

พลาสมิดของแบคทีเรีย เป็นการเพิ่ม DNA ที่ต้องการโดยอาศัยพลาสมิดเป็นดีเอ็นเอพาหะนำ�ยีน

เข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย และนำ�แบคทีเรียไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำ�นวนพลาสมิดที่มียีนที่ต้องการจะเพิ่มจำ�นวนด้วย

ครูอาจขยายความรู้เพิ่มเติมให้กับนักเรียนว่า พลาสมิดที่ใช้เป็นเวกเตอร์ มีสมบัติดังนี้

1. มีจุดเริ่มต้นของการจำ�ลองดีเอ็นเอเพื่อให้สามารถเพิ่มจำ�นวนได้ด้วยตัวเอง

2. มียีนสำ�หรับคัดเลือกในเซลล์เจ้าบ้าน เช่น ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ

3. มีบริเวณที่เป็นตำ�แหน่งตัดของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะหลายชนิดสำ�หรับแทรก DNA หรือยีนที่

ต้องการ

การใช้พลาสมิดที่มียีนต้านยาปฏิชีวนะในการสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์นั้น เพื่อใช้เป็น

เครื่องหมายในการคัดเลือกเซลล์ เมื่อนำ�เซลล์แบคทีเรียไปเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มียาปฏิชีวนะ

เซลล์แบคทีเรียที่ได้รับพลาสมิดเท่านั้นที่จะเจริญได้ ส่วนเซลล์ที่ไม่มีพลาสมิดจะตายไป ครูอาจให้

ความรู้เพิ่มเติมว่า เซลล์แบคทีเรียที่นิยมใช้ในการโคลน คือ

Escherichia coli

เนื่องจากเพาะเลี้ยงง่าย

เพิ่มจำ�นวนได้รวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เป็นแบคทีเรียที่มีการศึกษามานานและมีการพัฒนา

สายพันธุ์ให้เหมาะสมในการที่จะรับเวกเตอร์เข้ามาในเซลล์

การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรียมี 3 ขั้นตอน คือ การตัดสาย DNA ด้วยเอนไซม์

ตัดจำ�เพาะ การเชื่อมสาย DNA ต่างโมเลกุลด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกส และการถ่ายดีเอ็นเอ

รีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย

ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับเอนไซม์ตัดจำ�เพาะในตาราง 6.1 จากหนังสือเรียนหรือแหล่งเรียนรู้

ต่าง ๆ โดยมีประเด็นการอภิปรายดังนี้

เอนไซม์ตัดจำ�เพาะได้มาจากสิ่งมีชีวิตพวกใด

เอนไซม์ตัดจำ�เพาะมีความจำ�เพาะในการตัดสาย DNA อย่างไร และเอนไซม์แต่ละชนิด

แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ตำ�แหน่งการตัดของเอนไซม์ตัดจำ�เพาะที่ทำ�ให้เกิดปลายทู่และปลายเหนียวแตกต่างกัน

อย่างไร

เอนไซม์ตัดจำ�เพาะชนิดเดียวกันสามารถตัดสายDNA ได้ทั้งปลายเหนียวและปลายทู่หรือไม่

จากการสืบค้นและการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า เอนไซม์ตัดจำ�เพาะได้มาจากแบคทีเรีย

ทำ�หน้าที่ตัดสาย DNA ตรงลำ�ดับเบสจำ�เพาะ ส่วนใหญ่เอนไซม์ตัดจำ�เพาะที่นิยมนำ�มาใช้ในการโคลน

ดีเอ็นเอจะมีลำ�ดับเบสที่เป็นบริเวณจดจำ�สั้น ๆ และมีจุดตัดจำ�เพาะอยู่ในลำ�ดับเบสเหล่านี้ ดังนั้น

เอนไซม์ตัดจำ�เพาะแต่ละชนิดจะมีลำ�ดับเบสที่เป็นบริเวณจดจำ�และจุดตัดจำ�เพาะที่แตกต่างกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

145