Table of Contents Table of Contents
Previous Page  21 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 21 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

11

การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน

เราสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนโดยจัดโอกาสให้

ผู้เรียนได้สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามที่หลักสูตรกำ�หนด ด้วยกระบวนการ

แบบเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์สืบเสาะ แต่อาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามบริบท

และความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน เช่น การสืบเสาะหาความรู้แบบปลายเปิด

(Opened Inquiry) ที่ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการสืบเสาะหาความรู้ของตนเองตั้งแต่

การสร้างประเด็นคำ�ถาม การสำ�รวจตรวจสอบ (Investigation) และอธิบายสิ่งที่

ศึกษาโดยใช้ข้อมูลที่ยังไม่มีการนำ�มาประมวล (Data) หรือหลักฐาน (Evidence) ที่

ได้จากการสำ�รวจตรวจสอบ การประเมินและเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องหรือคำ�

อธิบายอื่นเพื่อปรับปรุงคำ�อธิบายของตนและนำ�เสนอต่อผู้อื่น นอกจากนี้ ผู้สอนอาจ

ใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่ตนเองเป็นผู้กำ�หนดแนวในการทำ�กิจกรรม (Structured

Inquiry) โดยผู้สอนสามารถแนะนำ�ผู้เรียนได้ตามความเหมาะสม

ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผู้สอนสามารถ

ออกแบบการสอนให้มีลักษณะสำ�คัญของการสืบเสาะ ดังนี้

๑. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประเด็นคำ�ถามทางวิทยาศาสตร์ คำ�ถามทาง

วิทยาศาสตร์ในที่นี้หมายถึงคำ�ถามที่นำ�ไปสู่การสืบเสาะค้นหาและ

รวบรวมข้อมูลหลักฐาน คำ�ถามที่ดีควรเป็นคำ�ถามที่ผู้เรียนสามารถ

หาข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อตอบคำ�ถามนั้นๆ ได้

๒. ผู้เรียนให้ความสำ�คัญกับข้อมูลหลักฐานในการอธิบายและประเมิน

คำ�อธิบายหรือคำ�ตอบ ผู้เรียนต้องลงมือทำ�ปฏิบัติการ เช่น สังเกต

ทดลอง สร้างแบบจำ�ลอง เพื่อนำ�หลักฐานเชิงประจักษ์ต่าง ๆ มา

เชื่อมโยง หาแบบรูป และอธิบายหรือตอบคำ�ถามที่ศึกษา

๓. ผู้เรียนอธิบายแนวคิดทางวิทยาศาสตร์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดย

ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ต้องแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล

เชิงประจักษ์ที่รวบรวมได้ สามารถจำ�แนก วิเคราะห์ ลงความเห็นจาก

ข้อมูล พยากรณ์ ตั้งสมมติฐาน หรือลงข้อสรุป

๔. ผู้เรียนประเมินคำ�อธิบายของตนกับคำ�อธิบายอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึง

ความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนสามารถประเมิน (Judge)

ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจ (Make Decision) ว่า ควร

เพิกเฉยหรือนำ�คำ�อธิบายนั้นมาพิจารณาและปรับปรุงคำ�อธิบายของ

ตนเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถประเมินคำ�อธิบายของเพื่อน บุคคล

อื่น หรือแหล่งข้อมูลอื่น แล้วนำ�มาเปรียบเทียบ เชื่อมโยง สัมพันธ์ แล้ว

สร้างคำ�อธิบายอย่างมีเหตุผลและหลักฐานสนับสนุน ซึ่งสอดคล้องกับ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับแล้ว

๕. สื่อสารการค้นพบของตนให้ผู้อื่นเข้าใจ ผู้เรียนได้สื่อสารและนำ�เสนอ

การค้นพบของตนในรูปแบบที่ผู้อื่นเข้าใจ สามารถทำ�ตามได้ รวมทั้ง

เปิดโอกาสให้ได้มีการซักและตอบคำ�ถาม ตรวจสอบข้อมูล ให้เหตุผล

วิจารณ์และรับคำ�วิจารณ์และได้แนวคิดหรือมุมมองอื่นในการปรับปรุง

การอธิบาย หรือวิธีการสืบเสาะค้นหาคำ�ตอบ