Table of Contents Table of Contents
Previous Page  46 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 46 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

36

๗. จิตวิทยาศาสตร์

จิตวิทยาศาสตร์ (Scientific Mind)

เป็นคุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด

ในทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการศึกษาหาความรู้หรือได้รับประสบการณ์การเรียนรู้

ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่งผลต่อความคิด การตัดสินใจ การกระทำ� และการแสดงออก

ทางพฤติกรรมต่อความรู้หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนมีความจำ�เป็นที่จะต้อง

สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความชอบ สนใจที่จะเรียนรู้ ตลอดจนมีความรู้สึกที่ดี

ต่อวิทยาศาสตร์ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก นึกคิด และทำ�ให้ผู้เรียนเกิดเจตคติ

ที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เห็นประโยชน์และคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์และการนำ�

วิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ตลอดจนเป็นผู้ที่เชื่อมั่น ยึดถือและศรัทธาใน

การใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ในทางที่สร้างสรรค์ สามารถนำ�ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ต่อตนเองและผู้อื่นอย่างมีคุณธรรมและมีคุณค่า โดยจิตวิทยาศาสตร์จะครอบคลุม

เกี่ยวกับเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้

เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ (Attitudes Towards Sciences)

เป็นความรู้สึก ความเชื่อ และการยึดถือของบุคคล ในคุณค่าของงานด้านวิทยาศาสตร์

รวมถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อตนเองและต่อสังคม ซึ่งเป็น

ผลจากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ความรู้สึกดังกล่าว เช่น

ความสนใจ ความชอบ การเห็นความสำ�คัญและคุณค่าของวิทยาศาสตร์

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)

เป็นคุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคิดแบบวิทยาศาสตร์

ความเชื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือการแสดงออกถึงการมีจิตใจที่เป็นวิทยาศาสตร์

(Kozlow,M.J. & Nay, M.A., 1976)

การใช้วิจารณญาณ (Critical-Mindedness)

ค้นหาและยอมรับการไม่สอดคล้องกันของข้อมูลที่สืบเสาะได้กับความ

เชื่อหรือความรู้ที่มีมา รวบรวมแนวคิดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น

ผู้เชี่ยวชาญ งานวิจัย แล้วพยายามวิเคราะห์และให้เหตุผลแต่ละข้อมูล

ก่อนประเมินและตัดสินใจ

ความรอบคอบ (Suspended Judgement)

ไม่แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ จนกว่าจะลงมือทำ�การสืบ

เสาะค้นหา พร้อมทั้งยอมรับและเห็นคุณค่าของการสร้าง หรือคัดค้าน

ในข้อจำ�กัดของข้อสรุปหรือทฤษฎี สรุปหรืออธิบายในขอบเขตของ

หลักฐานที่ปรากฏเท่านั้น

ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน (Respect for Evidence)

พยายามสืบเสาะค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสังเกต การ

ทดลองหรือการสร้างแบบจำ�ลอง เพื่อใช้สนับสนุนการอธิบายทาง

วิทยาศาสตร์ หรือใช้โต้แย้งกับคำ�อธิบายที่แตกต่างหรือไม่สอดคล้อง

กับคำ�อธิบายของตนเอง

ความซื่อสัตย์ (Honesty)

เก็บรวบรวมหลักฐานให้มากที่สุด รายงานหลักฐานเชิงประจักษ์

และข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ทุกรายการ แม้ว่าบางข้อมูล จะขัดแย้งกับ

สมมติฐานหรือสิ่งที่พยากรณ์ไว้ ไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็น

ของตน โดยยอมรับงานของผู้อื่นอย่างเปิดเผย