กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับประถมศึกษา
41
แนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน
ในศตวรรษที่ ๒๑
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้เรียนให้พร้อมที่จะดำ�รงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างประสบความสำ�เร็จได้
ในอนาคตนั้น จำ�เป็นต้องเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนานักคิด
นักแก้ปัญหา และนักเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการ
เรียนรู้ของตนเองตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ โดยอาจทำ�ได้ดังนี้
จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด
ของผู้เรียน โดยคำ�นึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ผู้สอนกระตุ้นหรือจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เกิดคำ�ถามหรือข้อสงสัย
ที่อยากค้นหาคำ�ตอบ
ผู้เรียนใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อค้นหา
คำ�ตอบที่สงสัย โดยเริ่มจากการลงมือสืบเสาะหาความรู้ตามคำ�แนะนำ�
จนกระทั่งสามารถออกแบบและวางแผนการสืบเสาะ เพื่อเก็บรวบรวม
ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ แล้วนำ�มาสร้างคำ�อธิบายด้วยตนเอง
ผู้เรียนควรมีโอกาสได้ฝึกฝนและพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
อย่างลุ่มลึกและเชื่อมโยงกันผ่านการทำ�กิจกรรมที่หลากหลาย
ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง สม่ำ�เสมอและเหมาะสม
กับวัย
ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องตามยุคสมัยในการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ ใช้
สืบค้นข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้จัดกระทำ�และ
สื่อความหมายข้อมูล ใช้สร้างแบบจำ�ลอง
ผู้เรียนสามารถออกแบบและทำ�โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อฝึกฝนและสามารถใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะ
กระบวนการสำ�หรับการออกแบบและเทคโนโลยี และทักษะที่สำ�คัญ
สำ�หรับศตวรรษที่ ๒๑ มาแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้
ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
เพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน
ห้องเรียนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำ�วัน ตลอดจนเห็นความสำ�คัญ
ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้เรียนควรมีโอกาสได้รู้จักและคุ้นเคยกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิด
ขึ้นจริง ซึ่งอาจเพิ่มระดับความซับซ้อนของข้อมูลให้เหมาะสมกับวัย
ของผู้เรียน เช่น ผู้เรียนระดับประถมศึกษาได้ฝึกฝนการวิเคราะห์และ
สร้างคำ�อธิบายจากข้อมูลที่เก็บได้จริงแต่ไม่มีความซับซ้อน ส่วนใน
ระดับมัธยมศึกษาอาจให้ผู้เรียนได้ฝึกการวิเคราะห์และอธิบายข้อมูล
ขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่หลากหลาย ซับซ้อน มีปริมาณ
มาก และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงไม่สามารถนำ�มาจัดกระทำ�หรือ
จัดการได้ด้วยวิธีการหรือเครื่องมือแบบเดิม
ผู้เรียนมีโอกาสนำ�ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปบูรณาการ
กับความรู้จากแขนงวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ มาแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง
กับชีวิตจริง หรือเกิดขึ้นจริง โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม