Table of Contents Table of Contents
Previous Page  56 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 56 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

46

อนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy)

ปีค.ศ. ๑๙๕๖ (พุทธศักราช ๒๔๙๙) เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom)

และคณะ ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีชื่อว่า อนุกรมวิธานวัตถุประสงค์ทางการ

ศึกษาของเบนจามิน บลูม (Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives) หรือ

ที่รู้จักกันสั้นๆ ว่าอนุกรมวิธานของบลูม (Blooms’ Taxonomy) ซึ่งก็คือการจัดจำ�แนก

การเรียนรู้ออกเป็น ๓ ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านทักษะพิสัย

(Psychomotor Domain) และด้านจิตพิสัย (Affective Domain) สำ�หรับด้าน

พุทธิพิสัยนั้น บลูมได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น ๖ ระดับ ดังนี้ (จริยา เสถบุตร ๒๕๔๗;

ทิศนา แขมมณี, ๒๕๔๕)

ระดับที่ ๑ ระดับความรู้ที่เกิดจากความจำ� (Knowledge)

เป็นการเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนสามารถตอบเกี่ยวกับสาระหรือ

ข้อเท็จจริง คำ�นิยาม ชื่อ สูตรต่างๆ หลักเกณฑ์ ทฤษฎี การประเมิน การเรียนรู้ระดับ

นี้ทำ�ได้โดยให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมว่าใช้ความสามารถในการจำ�และระลึกถึงสิ่งที่ได้

เรียนรู้หรือเคยพบมาแล้วมาตอบคำ�ถาม

ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการรู้จำ� เช่น

- สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร

- ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง

- โมเลกุลคืออะไร

ระดับที่ ๒ ระดับความเข้าใจ (Comprehension)

เป็นการเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องที่เรียนรู้ทั้งด้านความหมาย

ความสัมพันธ์ และความรู้ที่เป็นโครงข่ายระหว่างแนวคิด (Network of Concepts)

ทั้งหมดที่เรียน การประเมินการเรียนรู้ระดับนี้ทำ�ได้โดยให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมหรือ

ใช้ความสามารถในการอธิบาย บรรยาย แปลความหมาย ขยายความ สรุปอ้างอิง

จากข้อมูล (Data) ที่ผ่านการประมวลเป็นสารสนเทศ (Information) แล้ว เช่น กราฟ

แผนภูมิ ตาราง

ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินความเข้าใจ เช่น

- เพราะเหตุใดในทะเลทรายจึงมีพืชดำ�รงชีวิตอยู่ได้น้อย

- ทำ�ไมดวงจันทร์จึงมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละคืน

- เพราะเหตุใดจึงต้องสร้างเขื่อนให้ฐานเขื่อนมีความกว้างกว่าสันเขื่อน

ระดับที่ ๓ ระดับการนำ�ไปใช้ (Application)

เป็นการเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนนำ�ความรู้ไปใช้ในการหาคำ�ตอบและแก้ไข

ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ การประเมินการเรียนรู้ระดับนี้ทำ�ได้โดยให้ผู้เรียนใช้

ความสามารถในการนำ�เอาข้อเท็จจริง (Fact) ความคิด (Idea) หลักการ

(Principle) กฎ (Law) วิธีการ หรือสูตรต่าง ๆ มาใช้ในการตอบคำ�ถามหรือแก้ปัญหา

ในสถานการณ์ใหม่

ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการนำ�ไปใช้ เช่น

- ถ้าอุ่นแกงไปเรื่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

- ในการทำ�น้ำ�เชื่อม ถ้าอยากให้น้ำ�ตาลทรายทั้งหมดละลายได้เร็วขึ้น

จะทำ�อย่างไรได้บ้าง

- เราจะวัดความสูงของต้นไม้ได้อย่างไร