Table of Contents Table of Contents
Previous Page  59 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 59 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

49

ระดับที่ ๔ วิเคราะห์ (Analyze)

เป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถแจกแจง แยกแยะสิ่งของ วัตถุ เหตุการณ์

ปรากฏการณ์ ระบบต่างๆ ออกเป็นองค์ประกอบหรือส่วนย่อย ๆ  และพิจารณา

ความเกี่ยวข้องกันของส่วนย่อยแต่ละส่วน รวมถึงพิจารณาความเกี่ยวข้องของแต่ละ

ส่วนย่อยกับสิ่งของ วัตถุ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ระบบต่างๆ ที่ได้แยกแยะออกมา

ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการวิเคราะห์ เช่น

- ปากใบมีความสำ�คัญอย่างไรต่อการทำ�หน้าที่ของใบพืช

- การถ่ายโอนความร้อนระหว่างสสารมีผลต่อการเกิดลมอย่างไร

- ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำ�แข็งขั้วโลก และแต่ละ

ปัจจัยมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

ระดับที่ ๕ ประเมินค่า (Evaluate)

เป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถตัดสินคุณค่าโดยอาศัยเกณฑ์และมาตรฐาน

ซึ่งอาจทำ�ได้ด้วยวิธีวิพากษ์ (Critisize) ตรวจสอบ (Checking)

ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการประเมินค่า เช่น

- แบบจำ�ลองใดที่อธิบายเกี่ยวกับระบบสุริยะได้ครบถ้วนและใกล้เคียง

กับข้อเท็จจริงมากที่สุด

- ถ้าต้องอธิบายเรื่องความหนาแน่นให้น้องชั้น ป.๔ เข้าใจ จะมีวิธีการ

อย่างไรบ้าง

- ถ้าต้องสร้างแบบจำ�ลองแสดงลักษณะของอะตอมอีกครั้งหนึ่ง จะทำ�ให้

เหมือนจริงมากกว่าแบบจำ�ลองที่ทำ�ไว้ก่อนหน้านี้ได้อย่างไรบ้าง

ระดับที่ ๖ สร้างสรรค์ (Create)

เป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถนำ�ส่วนย่อยต่าง ๆ หรือองค์ประกอบย่อยเข้า

มาเชื่อมโยงกันเป็นภาพรวมของสิ่งของ วัตถุ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ระบบต่าง ๆ

อย่างมีเหตุผล โดยผ่านการออกแบบ การวางแผน การสร้าง การผลิต การก่อให้เกิด

(Generating)

ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการสร้างสรรค์ เช่น

- เสนอแนวทางอื่น ๆ ที่จะทำ�ให้ประเทศไทยมีพลังงานไว้ใช้ผลิตไฟฟ้า

ได้เพียงพอต่อความต้องการของคนทั้งประเทศ

- นักเรียนเห็นด้วยกับการนำ�เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรมมาใช้กับผลผลิต

ทางการเกษตรหรือไม่ เพราะเหตุใด

- เพราะเหตุใดหมาป่าจึงไม่สามารถทำ�ลายบ้านของหมูตัวที่ ๓ ได้

- ถ้าสามารถเปลี่ยนตอนจบของนิทานเรื่องนี้ นักเรียนจะเปลี่ยนตอนจบ

ของนิทานเรื่องนี้ให้เป็นอย่างไร