Table of Contents Table of Contents
Previous Page  52 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 52 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

42

แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้

ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้

สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ ๒๑ และธรรมชาติการเรียนรู้ของ

มนุษย์นั้น ครูสามารถเลือกกลวิธีในจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายตามความ

เหมาะสมกับเนื้อหา เวลา บริบท และปัจจัยอื่น ๆ กลวิธีที่สามารถนำ�มาใช้จัดการ

เรียนรู้ในห้องเรียนได้ เช่น การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based

Learning) การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-Based Learning)

“การสืบเสาะ (Inquiry)” เป็นกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดย

เลียนแบบวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ

ธรรมชาติ แม้ว่าจะมีการนำ�การเรียนรู้แบบสืบเสาะมาใช้ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันก็ยังปรากฏความสับสนหลายประการเกี่ยว

กับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ดังนี้

๑. การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวัฏจักรการเรียนรู้

แบบ ๕ ขั้น (5E Learning Cycle) เป็นสิ่งเดียวกัน

๒. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องจัดแบบสืบเสาะหาความรู้เท่านั้น

๓. การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้คือต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้ตั้งคำ�ถามและ

ทำ�การสืบเสาะเพื่อตอบคำ�ถามที่ตนตั้งไว้ด้วยตัวเอง

๔. การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้คือการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ�

กิจกรรม (hands-on activity) เพื่อฝึกฝนทักษะกระบวนการมากกว่า

การสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

๕. ความตื่นเต้นสนุกสนานของผู้เรียนระหว่างทำ�กิจกรรมเป็นตัวบ่งชี้

ระดับของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ตามมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา

(National Science Education Standards) โดยสภาวิจัยแห่งชาติ (NRC, 1996)

ได้นิยาม “การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์” (Scientific Inquiry) ว่าเป็น

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ

ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และนำ�เสนอผลการศึกษานั้นตามสารสนเทศหรือ

หลักฐานต่าง ๆ ที่รวบรวมได้

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบสืบเสาะหา

ความรู้ จึงหมายถึงการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง

เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับทักษะ

กระบวนการต่าง ๆ ระหว่างกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบเดียวกัน

กับที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อทำ�ความเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ จึงกล่าวได้ว่า

หัวใจสำ�คัญของการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนก็คือ

การให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการในการสำ�รวจตรวจสอบ (Investigation Process)

และรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานต่าง ๆ มาใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือแก้ปัญหา

ข้อสงสัยที่ตนมีเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการหรือเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งการสืบเสาะหาความรู้ที่ผู้เรียนได้ทำ�ระหว่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีส่วนที่

คล้ายคลึงกับวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่สนใจดังตารางที่ ๓