Table of Contents Table of Contents
Previous Page  43 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 43 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

33

ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น นอกจากผลลัพธ์ด้านความรู้ พลเมืองในศตวรรษ

ที่ ๒๑ ควรมีสมรรถนะที่จำ�เป็นอีก ๓ ด้าน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

(Learning and Innovation Skills) ความรอบรู้และสมรรถนะด้านทักษะชีวิต

และอาชีพ และทักษะสารสนเทศ สื่อมีเดียและเทคโนโลยี ราชบัณฑิตยสถานได้

ระบุทักษะที่จำ�เป็นแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สอดคล้องกับสมรรถนะที่ควรมีในพลเมือง

ยุคใหม่รวม ๗ ด้าน (สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ๒๕๕๘;

ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๗) ดังนี้

๑. ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

(Critical Thinking and Problem Solving)

เป็นความสามารถในการใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ การคิดอย่างเป็น

ระบบ การประเมินและการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

หมายถึง การคิดโดยใช้เหตุผลที่หลากหลายเหมาะสมกับสถานการณ์

มีการคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์และประเมินหลักฐานและข้อคิด

เห็นด้วยมุมมองที่หลากหลาย สังเคราะห์ แปลความหมาย และจัดทำ�

ข้อสรุป สะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ประสบการณ์

และกระบวนการเรียนรู้

การแก้ปัญหา (Problem Solving)

หมายถึง การแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือปัญหาใหม่ได้ โดยอาจใช้

ความรู้ ทักษะ วิธีการ และประสบการณ์ที่เคยรู้มาแล้ว หรือการ

สืบเสาะหาความรู้วิธีการใหม่ มาใช้แก้ปัญหาก็ได้ นอกจากนี้

ยังรวมถึงการซักถามเพื่อทำ�ความเข้าใจมุมมองที่แตกต่าง

หลากหลายเพื่อให้ได้วิธีแก้ปัญหาที่ดีมากขึ้น

๒. ด้านการสื่อสาร สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ

(Communications, Information, and Media Literacy)

หมายถึง ความสามารถในการเข้าถึง การจัดการ การประเมิน

และการใช้งานสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผล (เวลาในการเข้าถึงสื่อ)

และประสิทธิภาพ (การเข้าถึงและใช้งานแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย)

รวมถึงความสามารถในการผลิตและใช้สื่อเพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่น

อย่างถูกต้อง เหมาะสม ประกอบด้วย

๑. สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง เหมาะสมเพื่อสร้างสื่อได้

ตรงตามวัตถุประสงค์รวมถึงสามารถสื่อสารความคิดผ่านสื่อ

ข้อความหรือสื่อรูปแบบอื่น

๒. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสร้างสื่อข้อความรวมถึงวิธีการสร้าง

สื่อนั้นๆ

๓. เข้าใจอิทธิพลของความเชื่อและวัฒนธรรมต่อสื่อรูปแบบต่าง ๆ

และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ต่อการดำ�เนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม

๔. เข้าใจข้อตกลง ข้อกำ�หนด และกฎหมายในการใช้สื่อหรือแหล่ง

ข้อมูลต่างๆ การใช้ลิขสิทธิ์ด้านสารสนเทศและสื่อของผู้อื่นโดย

ชอบธรรม