อาณาจักรโพรทิสตา
อาณาจักรโพรทิสตา 1
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้อาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์เป็นเซลล์ชนิดยูคาริโอต (Eukaryote) คือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสแต่เซลล์เหล่านั้นยังไม่รวมตัวกันเป็นเนื้อเยื่อและมีลักษณะของพืชและสัตว์รวมกัน เช่น มีการเคลื่อนที่ได้อันเป็นลักษณะของสัตว์มีการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้คลอโรฟิลล์เช่นเดียวกับพืช
ภาพที่ 1 กลุ่มสิ่งมีชีวิตพวก protist
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Diatoms_through_the_microscope.jpg, Gordon T. Taylor
อาณาจักรโพรทิสตา ประกอบด้วย สิ่งมีชีวิตพวกโพรโทซัว สาหร่ายราย และราเมือก ตามวิธีจัดจำแนกที่ใช้อยู่ทั่วไป
ภาพที่ 2 ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Protist_collage_2.jpg
โพรโทซัว (Protozoa)
เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กมากมองดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะเห็นได้ โพรโทซัวอาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ เช่น ยูกลีนา อะมีบา พารามีเซียม หรืออยู่รวมกันเป็นโคโลนี เช่น วอลวอกซ์ (Volvox) แหล่งที่อยู่อาศัยมีทั้งอยู่อย่างอิสระในดินในน้ำจืดในน้ำเค็มหรืออยู่ในสภาพปรสิตกับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น เชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย เชื้อ Entamoeba histolytica ซึ่งทำให้เป็นโรคบิดมีตัว เกิดอาการท้องร่วง ลำไส้อักเสบ บางชนิดอาจจะอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของสัตว์ชั้นสูงหลายชนิดรวมทั้งคนแต่ไม่ทำอันตราย เพราะพวกนี้ย่อยกากอาหารทำให้มีแก๊สเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ พวก Entamoeba coli โพรโทซัว Entamoeba gingivalis อาศัยอยู่ที่โคนฟันคอยกินแบคทีเรียในปากไม่ทำให้เกิดโทษ
โพรโทซัวมีรูปร่างแตกต่างกันมากมายมีการเคลื่อนที่โดยใช้อวัยวะต่างกันจำแนกโพรโทซัวออกตามอวัยวะในการเคลื่อนที่คือ
1. กลุ่มแฟลเจลลาตา (Flagellata) เป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยแฟลเจลลัม (flagellum) เช่น ยูกลีนาซึ่งอาศัยหากินอย่างอิสระในน้ำ ทริพาโนโซมา (Trypanosoma) เป็นโพรโทซัวที่มีแฟลเจลลาอาศัยอยู่ในเลือด ทำให้คนเป็นโรคเหงาหลับ (African sleeping sickness) ซึ่งมีแมลง tsetse fly เป็นพาหะ วอลวอกซ์ที่อยู่ร่วมกันเป็นโคโลนี้ก็เป็นโพรโทซัวพวกมีแฟลเจลลา โพรโทซัวมีหนวดพวก Trichonympha อาศัยอยู่ในลำไส้ปลวกโดยอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา
ภาพที่ 3 Trypanosoma sp.
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/77092855@N02/6912974847
ภาพที่ 4 Trichonympha
ที่มา: http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/imgmar03/Trichonympha755.jpg
2. กลุ่มซิลิอาตา (ciliata) เป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยซิเลีย (cilia) ซึ่งเป็นขนสั้น ๆ มีจำนวนมากอาจเรียกโพรโทซัวพวกนี้ว่า ซิลิเอต (ciliates) ตัวอย่างเช่น พารามีเซียม (Paramecium) รูปร่างคล้ายรองเท้าแตะ วอร์ดีเซลลา (Vorticella) รูปร่างคล้ายกระดิ่ง สเตนเตอร์ (Stentor) เป็นต้น ซิลิเอตโดยทั่วไปมีนิวเคลียส 2 ชนิด คือ นิวเคลียสขนาดใหญ่ (macronucleus) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ นอกจากการสืบพันธุ์ และนิวเคลียสขนาดเล็ก (micronucleus) ทำหน้าที่ควบคุมการสืบพันธุ์
ภาพที่ 5 กลุ่มสิ่งมีชีวิตพวกซิลิอาตา
ที่มา: (a) https://www.flickr.com/photos/microagua/5207541778
(b) https://www.flickr.com/photos/microagua/40090807972
(c) https://www.flickr.com/photos/63139332@N00/6902760828
3. กลุ่มซาร์โกดินาหรือไรโซโพดา (Sarcodina or Rhizopoda) เป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยขาเทียมหรือซูโดโพเดียม (pseudopodium) ที่เกิดจากการไหลของไซโทพลาซึมเข้าไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ทางด้านนั้นจะปูดออกทำให้ตัวมันเคลื่อนที่ตามทิศทางที่ขาเทียมได้ปูดออกไปพบทั้งในน้ำจืดน้ำเค็ม ได้แก่ อะมีบา พวกอยู่ในทะเลมักมีเปลือก (test) หุ้ม เช่น ฟอรามินิเฟอรา (Foruminifera) เรดิโอลาเรีย (Radiolaria) ซึ่งเปลือกจะมีลวดลายสวยงามเนื่องจากมีสารต่าง ๆ มาสะสมอยู่
4. กลุ่มสปอโรซัว (Sporozoa) เป็นโพรโทซัวที่ไม่มีโครงสร้างในการเคลื่อนที่ส่วนใหญ่เป็น โพรโทซัวที่เป็นปรสิต เช่น พลาสโมเดียม (Plasmodium) ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ เมื่อพลาสโมเดียมเข้าสู่กระแสเลือดจะเข้าสู่เม็ดเลือดแดงแล้วแบ่งตัวมากมายจนเม็ดเลือดแดงแตกออกสารพิษที่เกิดจากพลาสโมเดียมจะทำให้คนไข้มีอาการจับไข้หนาวสั่นไข้จะลดลงเมื่อเชื้อพลาสโมเดียมเข้าเม็ดเลือดแดงชุดใหม่ เพื่อเข้าไปแบ่งเซลล์ภายในเม็ดเลือดแดงอีก เมื่อใดที่เม็ดเลือดแดงแตกคนไข้จะมีอาการหนาวสั่นขึ้นมาอีก เชื้อมาลาเรียที่สำคัญที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือ Plasmodium falciparum ทำให้เกิดโรคมาลาเรียขึ้นสมองมีอาการรุนแรงกว่าและมีการจับไข้ทุกวันส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Plasmodium vivax เกิดโรคมาลาเรียลงตับมีการจับใช้ทุก 2 วัน เนื่องจากการรักษายังไม่ได้ผลอีกทั้งเชื้อมาลาเรียในปัจจุบันมีความดื้อยาสูงจึงยังพบผู้ป่วยเป็นมาลาเรียได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ภาพที่ 6 เชื้อ Plasmodium falciparum ที่อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/121483302@N02/14816576282
ภาพที่ 7 วัฏจักรของการเกิดไข้มาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium spp.
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Plasmodium_lifecycle_PHIL_3405_lores.jpg
สาหร่าย
แบ่งเป็นกลุ่มสำคัญ ๆ ดังนี้
กลุ่มสาหร่ายสีเขียว คือ สาหร่ายที่มีคลอโรพลาสต์ในเซลล์ เป็นสาหร่ายกลุ่มใหญ่ที่สุด พบตามบ่อ บึง คูน้ำ และในน้ำทะเล มีทั้งเป็นเซลล์เดียว เช่น Chlamydomonas, Chlorococcum, Chlorella, Closterium, Cosmarium ส่วนพวกที่อยู่เป็นกลุ่ม เช่น Volvox, Scenedesmus, Pediastrum ชนิดที่อยู่กันเป็นสาย ได้แก่ Ulothrix, Spirogyra, Cladophora สาหร่ายสีเขียวมีลักษณะสำคัญคือ
1) มีคลอโรฟิลล์เอและบี และรงควัตถุอื่น ๆ เช่น แคโรทีน แซนโทฟิลล์ (xanthophyll)
2) มีแฟลเจลลา 1 หรือ 2 หรือ 8 เส้นขนาดเท่ากันและอยู่ด้านหน้าของเซลล์
3) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
4) อาหารสะสมในเซลล์ คือ แป้ง
ภาพที่ 8 กลุ่มสาหร่ายสีเขียว
ที่มา: a. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Chlamydomonas_globosa_-_400x_(13263097835).jpg
b. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ee/Mikrofoto.de-volvox-8.jpg
c.https://www.flickr.com/photos/occbio/5690518695
d.https://www.flickr.com/photos/microagua/3958145674
r.http://protist.i.hosei.ac.jp/PDB/Images/Chlorophyta/Spirogyra/group_C/porticalis/porticalis3.jpg
สาหร่ายสีเขียวพวกคลอเรลลา (Chlorella) ซีนเดสมัส (Scenedesmus) มีโปรตีนสูงจึงนำมาสกัดเอาโปรตีนเพื่อนำไปทำอาหารสัตว์ส่วนสไปโร่ใจราชาวอีสานเรียกว่าเทาน้ำ นำเอาไปทำอาหารรับประทาน
กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง ได้แก่ พวกไดอะตอม (diatom) มีลักษณะสำคัญ คือ
1) มีคลอโรฟิลล์เอและซี รวมทั้งรงควัตถุบีตาแคโรทีน (b-carotene) แซนโทฟิลล์ (xanthophyll) และฟิวโคแซนทีน (fucoxanthrin)
2) ผนังเซลล์ประกอบด้วยซิลิก าเซลลูโลส บางชนิดมีไคทิน
3) อาหารสะสมเป็นน้ำตาลคริสโซลามินารินและน้ำมัน
4) มักเป็นเซลล์เดียวที่มีลักษณะสมมาตรและผนังเซลล์ยังมีลวดลาย พบทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม
5) ซากของไดอะตอมที่ตายทับถมมาก ๆ อยู่ใต้ทะเลเรียก diatomaceous earth มีทั้งแร่ธาตุและน้ำมัน นำมาใช้ประโยชน์เป็นฉนวนและเครื่องกรอง ใช้ในการทำยาขัดต่าง ๆ เช่น ยาขัดรถ ยาสีฟันใช้ในการทำเครื่องสำอาง เป็นต้น
ภาพที่ 9 ไดอะตอมชนิดต่าง ๆ
ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/29/Diatom2.jpg
ภาพที่ 10 diatomaceous earth
ที่มา: https://epod.typepad.com/.a/6a0105371bb32c970b0120a4f5b1b3970b-pi
กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่พบในน้ำเค็ม สาหร่ายสีน้ำตาลมีลักษณะเด่น ดังนี้
1) มีคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์ซี และรงควัตถุสีน้ำตาลฟิวโคแซนทิน (fucoxanthrin) มาก
2) ส่วนใหญ่พบในน้ำเค็มและน้ำกร่อย
3) มักมีขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากรวมกันเป็นส่วนที่คล้ายราก (holdfast) คล้ายลำต้น (stipe) และคล้ายใบ (blade)
4) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลสและกรดแอลจินิก (alginic acid) หรือแอลจีน (algin)
5) อาหารสะสมเป็นพวกน้ำตาลแมนนิทอล (manitol) และลามินาริน (laminarin)
6) กรดแอลจินิกนำมาสกัดเป็นสารประกอบแอลจิน ใช้ทำวุ้นและสารที่ทำให้เกิดการคงตัว (thickening and stabilizing agent) ในยาสีฟัน ไอศกรีม โลชั่นต่าง ๆ ทำยา ทำสี ทำปุ๋ย เพราะมีไอโอดีนและโพแทสเซียมมาก
ตัวอย่างได้แก่ Kelp (Macrocystis) ซึ่งมีขนาดยาวที่สุด Laminaria ใช้สกัดแอลจิน Padina, Fucus ใช้ทำปุ๋ยโพแทสเซียม Sargassum หรือสาหร่ายทุ่นซึ่งมีมากในอ่าวไทยใช้เป็นอาหารและมีไอโอดีนสูง
ภาพที่ 11 กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาล
ที่มา: a. https://www.flickr.com/photos/underwaterpat/15189266952
b. https://www.flickr.com/photos/dingilingi/3239587444
c. https://www.flickr.com/photos/johnwturnbull/30340560844
d. https://sco.m.wikipedia.org/wiki/File:Fucus_serratus2.jpg
e. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Sargassum_on_the_beach,_Cuba.JPG
กลุ่มสาหร่ายสีแดง ซึ่งมีอยู่ในน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเด่นดังนี้
1) มีคลอโรฟิลล์เอและดี แคโรทีน แซนโทฟิลล์ ไฟโครีทริน (phycoerythrin)
2) ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล
3) ผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส เพกทิน
4) มีรูปร่าง 2 แบบ คือ เป็นแผ่นแบน เช่น Porphyra หรือจีฉ่าย และพวกมีสายแตกแขนงเช่น Polysiphonia
5) ประโยชน์ใช้เป็นอาหารโดยตรง เช่น Porphyra (จีฉ่าย) ใช้สกัดทำวันซึ่งได้จากสาหร่ายผมนาง (Gracilaria) ใช้ในอุตสาหกรรมการทําเครื่องสำอางเป็นส่วนผสมยาขัดรองเท้าครีมโกนหนวด
ภาพที่ 12 จีฉ่าย (Porphyra) นำมาตาแห้ง แล้วนำไปทำแกงจืดสาหร่าย
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/pennywhite/300438926
ภาพที่ 13 สาหร่ายผมนาง (Gracilaria)
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/jsjgeology/24022495910
แหล่งที่มา
ปรีชา สุวรรณพินิจ และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2556). High School Biology ชีววิทยา ม.4-6 เล่ม 5 (รายวิชาเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
พจน์ แสงมณี. (2552). Compact ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: แม็ค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชา เพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
กลับไปที่เนื้อหา
อาณาจักรโพรทิสตา 2
ราเมือก (Slime mold)
เป็นโพรทิสต์ที่คล้ายรา (fungus-like protist) ลักษณะที่คล้ายรา (fungi) คือ ไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียกว่า ไฮฟา (hypha) ลักษณะที่คล้ายกันนี้เป็นการวิวัฒนาการคล้ายกัน เพื่อปรับตัวให้เป็นผู้ย่อยสารอินทรีย์ ถ้าจัดตามวิธีการเคลื่อนที่ จะจัดราเมือกอยู่กับพวกอะมีบา เพราะราเมือกใช้ขาเทียม (pseudopodia) ในการเคลื่อนที่และหาอาหาร แต่ปัจจุบันจึงจัดราเมือกแยกเป็นกลุ่มไมซีโทซัว (mycetozoa) ที่ไม่ใช่ทั้งราและสัตว์ ราเมือกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ราเมือกชนิด พลาสโมเดียม (plasmodial slime molds) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสและราเมือกชนิดเซลลูลาร์ (cellular slime molds) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มี 1 นิวเคลียสและอยู่ได้อย่างอิสระ ราเมือกมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศคือเป็นอยู่ย่อยสลายสารอินทรีย์ ตัวอย่างได้แก่ ไฟซารัม (Physarum sp.) ทำให้เกิดโรคยืนต้นตายในพืชหรือที่เรียกว่า โรคไฟซารัม สเตโมนิทิส (Stemonitis sp.) ช่วยย่อยสลายขอนไม้และใบไม้ เป็นต้น
ภาพที่ 1 ราเมือก (Slime mold)
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/volvob12b/16433705015, Bernard Spragg. NZ
ไลเคน (Lichens) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการดำรงชีวิตแบบต้องพึ่งพา (mutualism) ประกอบด้วยสาหร่ายชนิดสาหร่ายสีเขียวหรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย) อยู่ร่วมกับราพวกแอสโคไมซีตีสหรือเบสิดิโอไมซีตีสบ้างซึ่งสาหร่ายจะได้ความชื้นน้ำเกลือแร่และการปกป้องจากรา ส่วนราได้อาหารที่สาหร่ายสังเคราะห์ขึ้นและไซยาโนแบคทีเรียยังตรึงแก๊สไนโตรเจนและให้สารอินทรีย์ในโตรเจนแก่ราด้วย สาหร่ายอาจเรียงตัวกันเป็นระเบียบหรืออยู่อย่างกระจัดกระจายและมีไมซีเลียมของราหุ้มไว้
ไลเคน แบ่งเป็น 3 ชนิดตามรูปร่าง คือ
- ครัสโตสไลเคน (Crustose lichens) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนเกาะติดแน่นตามเปลือกไม้ก้อนหินจะเกิดเป็นพวกแรกก่อน
ภาพที่ 2 ครัสโตนไลเคน
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/dendroica/25711401224
- โฟลิโอสไลเคน (Foliose lichens) แผ่นแบนคล้ายใบไม้เกาะติดกับหินหรือเปลือกไม้ไม่มั่นคงหลุดง่ายต่อมากลายเป็นฟรูติโคสไลเคน
ภาพที่ 3 โฟลิโอสไลเคน
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Flavoparmelia_caperata_-_lichen_-_Caperatflechte.jpg, Norbert Nagel, Mörfelden-Walldorf, Germany
- ฟรุติโคสไลเคน (Fruticose lichens) หรือฝอยลมเป็นแผ่นคล้ายกิ่งไม้แตกกิ่งก้านขนาดเล็กเกาะตามกิ่งไม้ทั่วไป
ภาพที่ 4 ฟรุติโคสไลเคน
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Fruticose_lichen_(01902).jpg, Rhododendrites
ไลเคนมีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงแทนที่โดยเป็นผู้บุกเบิกที่เจริญบนก้อนหินเพราะครัสโตสไลเคนขึ้นได้ตามก้อนหินและผลิตสารที่เป็นกรดมากัดกร่อนหินให้แตกสลายเป็นดินและยึดดินไว้ทำให้พืชขนาดเล็กขึ้นได้
การจำแนกตามสายวิวัฒนาการ
- ไดโพลโมนาดิดา (Diplomonadida) และพาราบาซาลา (Parabasala) จัดอยู่ในกลุ่มเซลล์ยูคาริโอตชั้นต่ำ ยังไม่มีออร์แกเนลล์ บางชนิดไม่มีร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม ไม่มีไมโทคอนเดรีย ไม่มี เซนทริโอล ไม่มีกอลจิคอมเพล็กซ์ เป็นต้น สันนิษฐานว่าโพรทิสต์กลุ่มนี้มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของ ยูคาริโอตก่อนที่จะมีแบคทีเรียเข้าไปอาศัยอยู่แบบเอนโดซิมไบออนท์ (endosymbiont) จึงทำให้โพรทิสต์กลุ่มนี้ไม่มีออร์แกเนลล์ โพรทิสต์กลุ่มนี้จึงน่าจะมีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับแบคทีเรียมากที่สุด
กลุ่มไดโพลโมเนด (diplomonad) มีนิวเคลียส 2 อันแยกกัน มีแฟลเจลลา 4 คู่ ไม่มีพลาสติด (plastid) ตัวอย่างเช่น ไจอาเดียร์ Giardia lamblia (หรือ Giardia intestinalis) เป็นโพรทิสต์ที่เป็นปรสิตอาศัยอยู่ในลำไส้คนทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง (diarrhea) คนได้รับเชื้อโดยดื่มน้ำที่ปนเปื้อนกับอุจจาระที่มีซีสต์ (cyst) ของเชื้อนี้
ภาพที่ 5 ไดโพลโมแนด (Giardia sp.)
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/77092855@N02/6912948227, schmidty4112
กลุ่มพาราบาซาลิด (parabasalid) รวมถึงพวกไตรโคโมแนด (trichomonad) มีแฟลเจลลาอยู่เป็นคู่ แต่ไม่มีไมโทคอนเดรีย ที่ผิวเยื่อหุ้มเซลล์มีลักษณะเป็นคลื่น เช่น ไตรโคนิมฟา (Trichonympha sp.) ที่อาศัยในลำไส้ปลวก ในภาวะพึ่งพากัน (Mutualism) โดยทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ย่อยเซลลูโลสที่อยู่ในไม้ที่ปลวกกินเข้าไป ไตรโคโมแนส (Trichonmonas sp.) มีแฟลเจลลา 4 เส้นอยู่ด้านหน้าลำตัวและมีแผ่นเยื่อละเอียดยื่นจากด้านข้างลำตัว เรียกว่า อันดูเลติงเมมเบรน (undulating membrane) สปีชีส์ที่สำคัญคือ Trichonmonas vaginalis ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ภาพที่ 6 พาราบาซาลิด Trichonympha sp.
ที่มา: http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/imgmar03/Trichonympha755.jpg
- ยูกลีโนซัว (Euglenozoa) เป็นโพรทิสต์อีกกลุ่มที่ใช้แฟลเจลลาในการเคลื่อนที่แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ยูกลีนอยด์ (euglenoid) และไคนไทพลาสติค (kinetoplastid)
กลุ่มยูกลีนอยด์ (euglenoid) ได้แก่ ยูกลีนา (Euglena) มีแฟลเจลลา 1-2 เส้นเป็นโพรทิสต์ที่ทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค เพราะในเซลล์มีรงควัตถุคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และบีตาแคโรทีน ที่สามารถใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้เมื่อมีแสง มีการสะสมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้ในรูปของพอลีแซ็คคาไรด์คือ พารามัยลอน (paramylon) ซึ่งอาจเป็นก้อนอยู่ในไซโทพลาสซึมหรือเป็นแกรนูล รอบก้อนไพรินอยด์ (pyrenoid body) ที่อาจอยู่ภายในหรือภายนอกคลอโรพลาสต์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณที่มีสารอินทรีย์ปริมาณมาก จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์วอเตอร์บลูม (water bloom) เช่นเดียวกับสาหร่ายสีเขียว ยูกลีนอยด์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์ตามยาว (longitudinal binary fission) ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เซลล์เคลื่อนที่ แต่ในที่มืดทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคได้โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสและยังดูดซึมสารอินทรีย์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ด้วย มีอายสปอต (eyespot) หรือสทิกมา (stigma) ตอบสนองต่อแสง
กลุ่มไคนีโทพลาสติด (Kietoplastid) มีออร์แกเนลล์ที่สำคัญคือ ไคนีโทพลาสต์ (kinetoplast) เป็นที่อยู่ของ DNA นอกนิวเคลียสและมีไมโทคอนเดรียขนาดใหญ่ 1 อัน ดำรงชีวิตแบบซิมไบโอติก (symbiotic) บางชนิดทำให้เกิดโรค เช่น ทริปพาโนโซมา (Trypanosoma) มีหลายสปีชีส์คือ T. gambiense ทำให้เกิดโรคเหงาหลับแอฟริกา (African sleeping sickness) T. rhodesiense ทำให้เกิดโรคเหงาหลับโรดีเซียน ซึ่งมีแมลงวันซีซี (tsetse fly) เป็นพาหะ T. cruzi ทำให้เกิดโรคซากัส (Chagas’ disease) หรือโรคเหงาหลับอเมริกัน (American sleeping sickness) กับคนที่อยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรของทวีปอเมริกา ซึ่งมีมวน (triatomid bug) เป็นพาหะ
(a) แมลงวันซีซี |
(b) มวนเพชฌฆาต |
ภาพที่ 7 พาหะของโรคเหงาหลับ (a) และโรคซากัส (b)
ที่มา: (a) http://img.sparknotes.com/figures/0/0a2e2068b60c8b7f8cfbe21c26e87498/trypanosoma.gif
(b) https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Rhodnius_prolixus70-300.jpg
แหล่งที่มา
บพิธ จารุพันธุ์ และนันทพร จารุพันธุ์. (2545). สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง I โพรโทซัว ถึง ทาร์ดิกราดา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรีชา สุวรรณพินิจ และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2556). High School Biology ชีววิทยา ม.4-6 เล่ม 5 (รายวิชาเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
พจน์ แสงมณี. (2552). Compact ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: แม็ค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
Campbell, Neil A. & Reece, Jane B. (2005). Biology. 7th ed. San Fancisco: Pearson Education.
Reece, Jane B. Urry, Lisa A. Cain, Michael L. Wasserman, Steven A. & Minorsky, Peter V. (2017).Campbell Biology. 11th ed. New York: Pearson Education.
Tortora, Gerard J., Funke, Berdell R., and Case, Christine L. (2019). Microbiology: an Introduction. 13th ed. Boston: Pearson.
กลับไปที่เนื้อหา
อาณาจักรโพรทิสตา 4
การจำแนกตามสายวิวัฒนาการ (ต่อ)
- แอลวีโอลาตา (Alveolata) โพรทิสต์กลุ่มนี้มีช่องว่างเล็ก ๆ ที่มีเยื่อหุ้มเรียกว่า แอลวีโอไล (alveoli) อยู่ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ ดังภาพที่ 2 แต่ยังไม่ทราบหน้าที่ของแอลวีโอไลที่แน่นอน อาจช่วยควบคุมองค์ประกอบของน้ำและไอออนที่เซลล์ โพรทิสต์กลุ่มนี้ ประกอบด้วย
ภาพที่ 1 ไดโนแฟลกเจลเลต (Gonyaulax verior)
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/myfwc/8631753162
ไดโนแฟลเจลเลต (Dinoflagellates) เป็นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีแฟลเจลลา 2 เส้น อยู่ในร่องตามขวางและแนวดิ่ง มีเบตาแคโรทีน คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลซี เพริดินิน (peridinin) และไดโนแซนทิน (dinoxanthin) ในพลาสติด จึงเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของระบบนิเวศแหล่งน้ำ พบได้มากที่ผิวน้ำ ไดโนแฟลเจลเลตส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น บางชนิดผนังเซลล์เป็นเซลลูโลส บางชนิดมีแผ่นเซลลูโลสหลาย ๆ แผ่นซ้อนกันคล้ายเกราะมีลวดลายสวยงาม บางชนิดมีสารพิษสะสมอยู่ในเซลล์ บางครั้งไดโนแฟลเจลเลตจะเพิ่มจำนวนมากมายอย่างรวดเร็วจนทำให้น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นสีแดง สีน้ำตาล หรือสีเหลือง เรียกว่า ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide bloom) ทำให้สารพิษเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อปลาสัตว์น้ำและหอยมากิน ไดโนแฟลเจลเลต สารพิษจะทำลายระบบประสาท (neurotoxin) และเมื่อนกมากินสัตว์น้ำก็จะได้รับสารพิษตามห่วงโซ่อาหารจนอาจถึงตายได้ ผู้ที่ได้รับสารพิษจะมีอาการชารอบ ๆ ปากตามใบหน้าและคอ หลังจากนี้จะมีอาการปวดศีรษะวิงเวียนคลื่นไส้อ่อนเพลียหายใจยาก เคลื่อนไหวลำบาก หัวใจล้มเหลว จนเสียชีวิตภายใน 12 ชั่วโมง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬมักเกิดในทะเลที่อบอุ่นและอาจเกิดจากสารอินทรีย์และปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่ทิ้งลงน้ำเสียและไหลลงทะเลทำให้ไดโนแฟลเจลเลตเพิ่มจำนวนมากมาย
ภาพที่ 2 ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide bloom)
ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/96/La-Jolla-Red-Tide.780.jpg
เอพิคอมเพล็กซา (Apicomplexa) เป็นโพรทิสต์ขนาดเล็ก มีรูปร่างกลมหรือยาว ไม่มีโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ยกเว้นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ มีนิวเคลียส 1 อัน ไม่มีคอนแทรกไทล์แวคิวโอล (Contractile vacuole) หายใจและขับถ่ายโดยใช้กระบวนการแพร่ (diffusion) ดำรงชีวิตแบบปรสิตทั้งหมด มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ (sporulation) ดำรงชีวิตแบบปรสิต มีโครงสร้างที่ใช้แทงผ่านโฮสต์เรียกว่า เอพิคอลคอมเพล็กซ์ (apical complex) ตัวอย่างสำคัญของโพรทิสต์กลุ่มนี้คือ พลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) (ดูภาพที่ 5) ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย (โรคไข้จับสั่น) ในคนและสัตว์อื่น ๆ โดยมียุงก้นปล่องเพศเมีย (Anopheles) เป็นพาหะ การใช้สารเคมีกำจัดยุงและยารักษาโรคมาลาเรียอาจเป็นสาเหตุทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมีและพลาสโมเดียมดื้อต่อยา ปัจจุบันจึงเกิดการระบาดของโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 300 ล้านคนและมีคนตายราว 3 ล้านคนต่อปี
ภาพที่ 3 แสดงวงชีวิตของ Plasmodium sp.
ที่มา: https://www.wikiwand.com/nl/Malaria
อาการของมาลาเรียจะแตกต่างกันไป ระยะเวลาที่เกิดจะขึ้นอยู่กับชนิดของโพรโตซัวที่เป็นสาเหตุ โดยอาการของมาลาเรียที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ภาวะโลหิตจาง อุจจาระเป็นเลือด อาการหมดสติไม่รับรู้ต่อการกระตุ้นต่าง ๆ หรือโคม่า อย่างไรก็ตาม อาการของมาลาเรียจะไม่รุนแรงและบางอาการระบุโรคได้ยาก เพราะมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ที่อาศัยหรือเดินทางไปยังที่ที่มีการระบาด โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไข้สูงหรือมีอาการของมาลาเรียอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
สาเหตุของมาลาเรีย เกิดจากการติดเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคนมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่
พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium falciparum)
พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (Plasmodium vivax)
พลาสโมเดียม มาลาริอี่ (Plasmodium malariae)
พลาสโมเดียม โอวาเล่ (Plasmodium ovale)
พลาสโมเดียม โนว์เลซิ (Plasmodium knowlesi)
เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย คือ P. falciparum) และ P. vivax
ซิลิเอต (Ciliates) เป็นกลุ่มโพรทิสต์ที่ใช้ซิเลีย (cilia) ในการเคลื่อนที่ พบได้ในแหล่งน้ำหรือในแหล่งที่มีความชื้นสูง ถือได้ว่าเป็นพวกที่มีวิวัฒนาการมากที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด ลักษณะของซิเลียจะมีขนาดสั้นจำนวนมาก การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจะแบ่งตัวของเซลล์ตามขวาง (transverse binary fission) ส่วนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเกิดการจับคู่แล้วเปลี่ยนสารพันธุกรรมเรียกว่า คอนจูเกชัน (conjugation) ตัวอย่างของซิลิเอต คือ พารามีเซียม (Paramecium sp.) ที่มีรูปร่างคล้ายรองเท้าแตะ วอร์ติเซลลา (Vorticella sp.) ที่มีรูปร่างคล้ายกระดิ่ง และสเตนเตอร์ (Stentor sp.) มีรูปร่างคล้ายกรวย
ภาพที่ 4 โครงสร้างภายในของพารามีเซียม
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Paramecium#/media/File:Paramecium_diagram.png
(a) การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ |
(b) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ conjugation |
ภาพที่ 5 การสืบพันธุ์ของพารามีเซียม
ที่มา: (a) https://www.pngfly.com/png-0byl4k/ ,(b) https://www.wikiwand.com/en/Ciliate
ภาพที่ 6 ตัวอย่างซิลิเอต Vorticella sp.
ที่มา: http://protist.i.hosei.ac.jp/PDB/Images/Ciliophora/Vorticella/campanula/sp_03.jpg
แหล่งที่มา
เกษม ศรีพงษ์ และกิตติศักดิ์ ศรีพงษ์. (มปพ). ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.
บพิธ จารุพันธุ์ และนันทพร จารุพันธุ์. (2545). สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง I โพรโทซัว ถึง ทาร์ดิกราดา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรีชา สุวรรณพินิจ และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2556). High School Biology ชีววิทยา ม.4-6 เล่ม 5(รายวิชาเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
พจน์ แสงมณี. (2552). Compact ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: แม็ค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
Campbell, Neil A. & Reece, Jane B. (2005). Biology. 7th ed. San Fancisco: Pearson Education. Reece, Jane B. Urry, Lisa A. Cain, Michael L. Wasserman, Steven A. & Minorsky, Peter V. (2017).
Campbell Biology. 11th ed. New York: Pearson Education.
Tortora, Gerard J., Funke, Berdell R., and Case, Christine L. (2019). Microbiology: an Introduction. 13th ed. Boston: Pearson.
กลับไปที่เนื้อหา
อาณาจักรโพรทิสตา 4
การจำแนกตามสายวิวัฒนาการ (ต่อ)
- สตรามีโนพิลา (Stramenopila) รวมพวกสาหร่ายหรือแอลจี (algae) ที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงและพวกเฮเทอโรโทรฟ (heterotrophic group) หลายชนิด สตรามีโนพิลา หมายถึง แฟลเจลลาที่มีเส้นขนเล็ก ๆ ละเอียดยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก (L. stramen, flagellum, + pilos, hair) ลักษณะสำคัญของโพรทิสต์กลุ่มนี้คือเซลล์สืบพันธุ์เท่านั้นที่เคลื่อนที่ได้โดยใช้แฟลเจลลาซึ่งแฟลเจลลามี 2 เส้นเส้นหนึ่งมีขนและอีกเส้นหนึ่งไม่มีขน
ภาพที่ 1 สาหร่ายเคลป์ (Kelp)
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/usoceangov/4115872878
สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) เป็นสาหร่ายที่มีฟิวโคแซนทินมากกว่าแคโรทีนและคลอโรฟิลล์ (เอและซี) มีขนาดใหญ่ที่สุด โครงสร้างซับซ้อนมาก มักเรียกว่า พวกสาหร่ายทะเล พบในทะเล โดยเฉพาะที่มีกระแสน้ำเย็น มีการสืบพันธุ์แบบสลับ (alternation of generation) ตัวอย่างสาหร่ายสีน้ำตาล เช่น สาหร่ายเคลป์ (kelp) อาจพบยาว 60 เมตรสาหร่ายทุ่นหรือซาร์กัสซัม (Sargassum sp.) ลามินาเรีย (Laminaria sp.) พาดินา (Padina sp.) ฟิวกัส (Fucus sp.) สาหร่ายสีน้ำตาลมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่นสาหร่ายทุ่นหรือซาร์กัสซัมอุดมไปด้วยธาตุไอโอดีน สาหร่ายลามินาเรีย พาดินา และฟิวกัสใ ช้ผลิตปุ๋ยโพแทสเซียม
a. Kelp (Macrocystis) |
b. Laminaria |
c. Padina |
|
d. Fucus |
e. Sargassum |
||
ภาพที่ 2 กลุ่มสาหร่ายสีน้ำตาล
ที่มา: a. https://www.flickr.com/photos/underwaterpat/15189266952
b https://www.flickr.com/photos/dingilingi/3239587444
c https://www.flickr.com/photos/johnwturnbull/30340560844
d https://sco.m.wikipedia.org/wiki/File:Fucus_serratus2.jpg
e https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Sargassum_on_the_beach,_Cuba.JPG
ไดอะตอม (Diatoms) เป็นโพรทิสต์ขนาดเล็กมักเป็นเซลล์เดียวมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมเหลืองมีรงควัตถุคลอโรฟิลล์เอและซีแคโรทีนฟิวโคแซนทินผนังเซลล์ประกอบด้วยซิลิกาเซลลูโลสบางชนิดมีใคทินเมื่อตายจึงมีซากเหลืออยู่ใต้ทะเลไดอะตอมมาเชียสเอิร์ธ (diatomaceous earth) ที่มีทั้งน้ำมันและแร่ธาตุนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการทำฉนวนและเครื่องกรองน้ำและทำเครื่องสำอาง
ภาพที่ 3 ไดอะตอมชนิดต่าง ๆ
ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/29/Diatom2.jpg
ภาพที่ 4 diatomaceous earth
ที่มา: https://epod.typepad.com/.a/6a0105371bb32c970b0120a4f5b1b3970b-pi
- สาหร่ายสีแดง (red algae) มีรงควัตถุไฟไคริทริน (phycoerythrin) สีแดง ไฟโคไซยานิน (phycocyanin) สีฟ้า แคโรทีนอยด์ และคลอโรฟิลล์เอและดี อาหารสะสมเป็นแป้งและน้ำมัน ส่วนที่ต่างจากสาหร่ายชนิดอื่นคือ ไม่มีระยะที่มีแฟลเจลลา พบในทะเลเขตร้อนและในแหล่งน้ำจืด มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สาหร่ายที่นำไปทำอาหาร เช่น จีน่ายหรือพอร์ไฟรา (Porphyra sp.) และนำไปทำวุ้น เช่นสาหร่ายผมนางหรือกราซิลาเรีย (Gracilaria sp.)
ภาพที่ 5 จีฉ่าย (Porphyra sp.) นำมาตาแห้ง แล้วนำไปทำแกงจืดสาหร่าย
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/pennywhite/300438926
ภาพที่ 6 สาหร่ายผมนาง (Gracilaria sp.)
ที่มา: https://www.flickr.com/photos/jsjgeology/24022495910
- สาหร่ายสีเขียว (Green algae) มีคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และแคโรทีน ส่วนใหญ่พบใน น้ำจืด บางสปีชีส์พบในทะเล สาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella sp.) ให้โปรตีนสูงจึงนำไปผลิตเป็นอาหารเสริม สไปโรไจรา (Spirogyra sp.) หรือเทาน้ำ มีคลอโรพลาสต์เรียงตัวเป็นเกลียว ชาวบ้านนิยมตักสาหร่ายชนิดนี้มาจากแหล่งน้ำไหลช้าเพื่อนำไปทำอาหาร สาหร่ายไฟ (Chara sp.) มีลำต้นลักษณะคล้ายพืชจนเชื่อกันว่ามีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับพืช
a. Chlamydomonas |
b. Volvox |
c. Scenedesmus |
|
d. Pediastrum |
e. Spirogyra |
||
ภาพที่ 7 กลุ่มสาหร่ายสีเขียว
ที่มา: a. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Chlamydomonas_globosa_-_400x_(13263097835).jpg
b. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ee/Mikrofoto.de-volvox-8.jpg
c. https://www.flickr.com/photos/occbio/5690518695
d. https://www.flickr.com/photos/microagua/3958145674
e. http://protist.i.hosei.ac.jp/PDB/Images/Chlorophyta/Spirogyra/group_C/porticalis/porticalis3.jpg
- ไมซีโทซัว (Mycetozoa, fungus animals) ไม่ใช่ทั้งฟังใจและสัตว์ เรียกกันว่า ราเมือก (slime molds) มีลักษณะคล้ายฟังใจคือ การย่อยสลายสารอินทรีย์ และลักษณะที่คล้ายอะมีบาคือ การเคลื่อนที่โดยใช้เท้าเทียม (pseudopodia) เพื่อเคลื่อนที่และหาอาหารจากการเปรียบเทียบลำดับของโปรตีนในราเมือกพบว่าราเมือกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฟังใจและสัตว์ ราเมือกพบอยู่ตามที่ชื้นแฉะ ตามขอนไม้ หรือที่มีใบไม้เน่าเปื่อย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ราเมือกชนิดพลาสโมเดียม (Plasmodial slime molds) มีระยะหาอาหารเรียกว่า ระยะพลาสโมเดียม (plasmodium) มีลักษณะเป็นแผ่นวุ้นที่มีหลายนิวเคลียส (multinucleated plasmodium) อาจมีขนาดใหญ่ มีสีสดสวยงาม แผ่นวุ้นนี้เคลื่อนที่ดำรงชีวิตโดยกินแบคทีเรียและย่อยสลายสารอินทรีย์อื่น ๆ
เมื่ออาหารไม่เพียงพอจะเริ่มต้นสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยสร้างอับสปอร์หรือสปอแรงเกียม (sporangium) ซึ่งเป็นฟรุตติงบอดี (fruiting body) ชูขึ้นข้างบนภายในแบ่งไมโอซิสได้สปอร์ (n) ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมสปอร์งอกเป็นเซลล์อาจเป็นสวอมเซลล์ (Swarm cell) ที่มีแฟลเจลลา 2 เส้นจึงเรียก flagellated cell หรืองอกเป็นมิกซ์อะมีบา (myxamoeba) หรืออะมีบอยด์เซลล์ (amoeboid cell) ที่คล้ายอะมีบาขึ้นอยู่กับความชื้นในบริเวณนั้น ทั้งสวอมเซลล์และมิกซ์อะมีบาสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาและทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ มาผสมกันได้ไซโกต (2n) โดยเกิดการผสมระหว่าง อะมีบอยด์เซลล์ด้วยกัน หรือระหว่างสวอมเซลล์ด้วยกันเอง หลังจากนั้นไซโกตจะแบ่งไมโทซิสหลายครั้ง โดยไม่แบ่งไซโทพลาซึมได้เป็นระยะพลาสโมเดียมที่มีหลายนิวเคลียส์ได้อีก เช่น Physarum polycephalum
ราเมือกชนิดเซลลูลาร์ (Cellular slime molds) ระยะหาอาหารเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละเซลล์มีลักษณะคล้ายอะมีบาเรียก อะมีบอยด์เซลล์ (amoeboid cell) เมื่ออาหารขาดแคลนแต่ละเซลล์จะคืบคลานมารวมกันเพื่อสร้างฟรุตติงบอดี (fruiting body) เพื่อสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ สปอร์จะสร้างขึ้นที่ปลายฟรุตติงบอดี ซึ่งสปอร์ทนต่อสภาพไม่เหมาะสมได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม อะมีบอยด์เซลล์จะออกจากสปอร์เพื่อคืนคลานหาอาหารอีก ในวัฏจักรชีวิตส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และส่วนใหญ่อยู่ในสภาพ แฮพลอยด์ (n)
สำหรับโพรทิสต์ที่กล่าวมาตามสายวิวัฒนาการนั้นยังมีโพรทิสต์บางกลุ่มที่มีรายงานเกี่ยวกับวิวัฒนาการน้อยและไม่สามารถจัดไว้ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสายวิวัฒนาการที่กล่าวมาแล้วได้ โพรทิสต์กลุ่มไรโซโพดา (Rhizopoda) ที่ใช้เท้าเทียม (pseudopodia) ในการเคลื่อนที่และหาอาหาร ได้แก่ อะมีบา ซึ่งอะมีบาอาศัยอยู่ได้ทั้งในดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม ส่วนมากดำรงชีวิตแบบอิสระ แต่บางสปีชีส์เป็นปรสิตที่สำคัญ เช่น เอนทามีบา (Entamoeba sp.) มี 3 ชนิดที่มีทั้งประโยชน์และก่อโรค Entamoeba histolytica เป็นสาเหตุของโรคบิด ลำไส้อักเสบ ท้องร่วงในคน Entamoeba coli เป็นอะมีบาที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของสัตว์ชั้นสุงรวมทั้งคน จะกินแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ใหญ่ (ไม่มีโทษต่อร่างกาย) Entamoeba gingivalis อาศัยอยู่ที่โคนฟัน คอยกินแบคทีเรียในปาก (ไม่มีโทษต่อร่างกาย)
แหล่งที่มา
ปรีชา สุวรรณพินิจ และนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. (2556). High School Biology ชีววิทยา ม.4-6 เล่ม 5(รายวิชาเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
พจน์ แสงมณี. (2552). Compact ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: แม็ค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
Campbell, Neil A. & Reece, Jane B. (2005). Biology. 7th ed. San Fancisco: Pearson Education.
Tortora, Gerard J., Funke, Berdell R., and Case, Christine L. (2019). Microbiology: an Introduction. 13th ed. Boston: Pearson.
กลับไปที่เนื้อหา
-
11306 อาณาจักรโพรทิสตา /lesson-biology/item/11306-2020-02-17-06-56-12เพิ่มในรายการโปรด